Japan signs for KC-46A tanker
A pair of Boeing KC-46A Pegasus tanker aircraft parked at Paine Field near Seattle. Japan has become the first export customer, having signed for a single aircraft. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/76662/japan-signs-for-kc-46a-tanker
บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A Pegasus จากลูกค้าต่างประเทศรายแรกคือกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่ลงนามจัดหา KC-46A จำนวน 1เครื่อง
ในรูปแบบการขายแบบ Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $279 million ที่ถูกประกาศโดย Boeing เมื่อ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยสัญญานอกจาก KC-46A 1เครื่องแล้วยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนต่างๆ
ญี่ปุ่นได้เลือก Boeing KC-46A Pegasus เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-X เมื่อเดือนตุลาคม 2015
โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นกำลังมองการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ 4เครื่อง เพื่อเสริมการทำงานร่วมกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Boeing KC-767J ที่มีประจำการอยู่ก่อนแล้ว 4เครื่อง
การขายเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A 4เครื่องให้ญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อเดือนกันยายน 2016 โดยมีวงเงินรวมโครงการในเวลาดังกล่าวราว $1.9 billion
ขณะที่มีการประกาศสัญญาล่าสุดนี้ไม่ได้มีการเปิดเผยกำหนดการว่าญี่ปุ่นจะได้รับมอบเครื่องเมื่อไร โดยตามแผนโครงการ KC-X ที่มีการประกาศก่อนหน้านี้ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นจะได้รับมอบ KC-46A เครื่องแรกในปี 2020
แต่ด้วยความล่าช้าในโครงการของ Boeing ในการส่งมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A จำนวน 179เครื่องให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ทำให้เป็นไปได้ว่ากำหนดการขั้นต้นดังกล่าวนี้จะถูกผลักให้ล่าช้าออกไป
KC-46A ถูกพัฒนามาจากเครื่องบินขนส่งสินค้าไอพ่น Boeing 767-2C ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 767-400(เครื่องรุ่นนี้ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ของ Rockwell Collins แบบเดียวกับเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 787)
จากการทำการบินครั้งแรกเมื่อ 25 กันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/09/boeing-kc-46.html) Boeing อยู่ในสัญญาที่จะส่งมอบ KC-46A จำนวน 34เครื่องจากแผน 179เครื่อง
ซึ่งรวมถึงเครื่องของกองทัพอากาศสหรัฐฯในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-X ของตน โดยกำหนดการส่งมอบ KC-46A ชุดแรกจะมีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์นี้คือภายในต้นปี 2018
ทั้งนี้ Boeing อาจจะยังได้สร้างเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A มากกว่าร้อยเครื่อง ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังมองหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ทดแทนเครื่องแบบเก่าที่มีอายุการใช้งานมานานจำนวนมาก
ทั้งเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-135 Stratotanker ราว 400เครื่อง และ McDonnell Douglas KC-10 Extender 59เครื่อง ตามสัญญาโครงการ KC-X ตามด้วยโครงการ KC-Y และโครงการ KC-Z ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ในอนาคตครับ