Turkish Aircraft Industries (TAI) is engaging with Indonesian industry in support of a potential programme to supply its Anka UAV to the Indonesian armed forces. Source: TAI
https://www.janes.com/article/82381/turkey-indonesia-support-uav-collaboration
Turkish Aerospace ตุรกี(เดิม Turkish Aerospace Industries) ได้ขยายการมีส่วนร่วมของตนกับภาคอุตสาหกรรมการบินและความมั่นคงของอินโดนีเซีย ในการแข่งขันเพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการต่างๆ
รวมถึงโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) ของอินโดนีเซีย
Turkish Aerospace ตุรกี กล่าวในการแถลงว่าในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้น ณ Jakarta เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมาร่วมกับบริษัทอากาศยานและความมั่นคงของอินโดนีเซียนั้น
"เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในความร่วมมือต่อหลายๆโอกาสระดับทวิภาคีที่จะมีขึ้น เช่น การแข่งขันในโครงการจัดหา UAV สำหรับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย"
Turkish Aerospace ตุรกียืนยันว่าในการแข่งขันโครงการจัดหา UAV ตนได้มีการเสนออากาศยานไร้คนขับ MALE UAV แบบ Anka โดยเสริมว่าระบบ Anka UAV
"พร้อมที่จะปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานปลายทางคืออินโดนีเซีย ตามที่จะมีการบูรณาการ...กลุ่มผู้ผลิตของอินโดนีเซียเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของระบบ"
อย่างไรก็ตาม Turkish Aerospace ตุรกีกล่าวว่าโอกาสความร่วมมือจะไม่จำกัดเฉพาะกับระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV
"มันจะเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน, ระยะยาว, Win-Win ซึ่งในทุกๆฝ่ายจะหาโอกาสที่ไปสู่จุดหมายของความก้าวหน้าในธุรกิจของพวกตนในท้องถิ่นและทั่วโลกในระยะกลาง"
ก่อนหน้าในปี 2018 นี้ Arie Wibowo ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตของ PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียกล่าวกับ Jane's ว่า
PTDI อินโดนีเซีย และ TAI ตุรกีได้ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการพัฒนา Anka UAV ให้ตรงความต้องการของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
Wibowo กล่าวว่าโครงการควรจะสนับสนุนการถ่ายทอด Technology จากตุรกีแก่อินโดนีเซียเพื่อสนับสนุนการพัฒนาร่วมและการผลิตภายในอินโดนีเซีย
เขาเสริมว่าเมื่อกรอบความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนได้ถูกจัดตั้งขึ้น PTDI อินโดนีเซีย และ Turkish Aerospace ตุรกีจะสร้าง UAV เครื่องต้นแบบที่พร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราได้ภายใน 12เดือน
Wibowo เสริมอีกว่าเมื่อโครงการได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากกลุ่มบริษัทด้านการบินอื่นๆของอินโดนีเซียจะเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทาน
แม้ว่าขอบเขตของการเข้าร่วมดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับว่า กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะมีการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV จำนวนมากเท่าไร
ตามรายงานก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียได้สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ MALE UAV แบบ Wing Loong I จำนวน 4ระบบ จาก Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยจะเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน51(Skadron Udara 51) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ที่เป็นฝูงบิน UAV ผสมซึ่งมีอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar ของบริษัท Aeronautics อิสราเอลอยู่แล้วครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/wing-loong-i-uav-4.html)