The Hindustan Aeronautics LCA Navy fighter has passed a milestone with the engagement of an arresting hook in taxi tests.
https://www.flightglobal.com/news/articles/picture-lca-navy-conducts-arresting-hook-test-450889/
เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Hindustan Aeronautics Limited(HAL) LCA Navy หรือ Naval Tejas หรือ Tejas Navy อินเดียได้ผ่านหลักขั้นที่สำคัญ โดยการทดสอบการใช้ตะขอเกี่ยวลวดลงจอด(Arresting Hook) ขณะเคลื่อนที่บนทางขับ
เครื่องบินขับไล่ต้นแบบเครื่องที่สอง LCA Naval Prototype 2(NP2) หมายเลข 3002 ได้ใช้ตะขอเกี่ยวจับลวดหยุดเครื่องบนพื้นขณะเคลื่อนที่ "ด้วยความเร็วบนทางขับปานกลาง" HAL อินเดียกล่าว
HAL อินเดียกล่าวอีกว่านี่เป็นการทดสอบแรกของหลายการทดสอบ ณ สถานีอากาศนาวี INS Hansa ที่ Goa กองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ที่จะพัฒนาขีดความสามารถของตะขอเกี่ยวลงจอดของเครื่องรุ่นนี้
"การทดลองความเข้ากันได้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน(CCT: Carrier compatibility trials) ของอากาศยานทางเรือมีกำหนดที่จะดำเนินการทดสอบ ณ สถานที่ทดสอบบนชายฝั่งที่ถูกสร้างที่ Indian Naval Base Hansa ที่ Goa
CCT เป็นการทำให้เสร็จสิ้นของขั้นตอนการทดสอบบนฝั่งที่ครอบคลุมก่อนการนำไปวางกำลังบนดาดฟ้าบินในเรือจริง การทดลองนี้เป็นหลักก้าวย่างที่จะมุ่งหน้าการเสร็จสิ้นการทดสอบ CCT ของ LCA Navy" HAL กล่าว
ก่อนหน้านี้ในปลายปี 2014 เครื่องบินขับไล่ LCA Navy เครื่องต้นแบบได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินขึ้นจากทางวิ่ง Ski-Jump บนฝั่งที่สถานีอากาศนาวี INS Hansa(http://aagth1.blogspot.com/2014/12/lca-navy-ski-jump.html)
กองทัพเรืออินเดียปัจจุบันมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการลำเดียวคือ INS Vikramaditya ซึ่งเดิมคือเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev รัสเซียชื่อ Admiral Gorshkov ที่ได้รับการปรับปรุงเรือใหม่ ซึ่งมีอากาศยานประจำเรือหลักคือเครื่องบินขับไล่ MiG-29K/KUB รัสเซีย
เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองที่อินเดียสร้างเองในประเทศเป็นลำแรกคือ INS Vikrant มีกำหนดที่จะเข้าประจำการช่วงต้นในปี 2020 หลังจากมีความล่าช้าในการสร้างมาหลายปี(http://aagth1.blogspot.com/2015/06/ins-vikrant.html)
ทั้ง INS Vikramaditya และ INS Vikrant สองลำเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งเครื่องบินไอพ่นขึ้นบินด้วย Ski-Jump ทำให้มีข้อจำกัดด้านสมรรถนะของอากาศยานประจำเรือ
แผนการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามซึ่งจะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองที่อินเดียจะสร้างเองในประเทศที่อาจจะมีชื่อเรือว่า INS Vishal เพื่อจะเข้าประจำการภายในปี 2030-2032 นั้นยังคงถูกพักไว้ก่อน(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_14.html)
โดย INS Vishal จะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR(Catapult Assisted Take-Off But Arrested Recovery) ที่มีดาดฟ้าเรียบโดยส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยรางดีดแม่แหล็กไฟฟ้า EMALS(Electromagnetic Aircraft Launch Systems)
ตามแผนยุทธศาสตร์ทางทะเลกองทัพเรืออินเดียต้องการที่จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างน้อย 3ลำ วางกำลังในแต่ละด้านของชายฝั่งทะเล 2ลำ และอีก 1ลำสำรอง
เครื่องบินขับไล่ที่จะนำมาปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องลำใหม่ยังไม่มีการตัดสินใจในตอนนี้ โดยกองทัพเรืออินเดียได้มองการจัดหาเครื่องขับไล่พหุภารกิจประจำเรื่องบรรทุกเครื่องบิน(MRCBF: Multi-Role Carrier Borne Fighters) จำนวน 57เครื่อง
สำหรับประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya ที่ประจำการในปัจจุบัน, INS Vikrant ที่กำลังสร้าง และ INS Vishal ในอนาคต(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_29.html)
เครื่องบินขับไล่ที่คาดว่าน่าเข้าแข่งขันในโครงการ MRCBF น่าจะมีเช่น Boeing F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯ, Dassault Rafale M ฝรั่งเศส และ Saab Gripen Maritime สวีเดน
นอกจากนี้สำนักงานพัฒนาทางการบินอินเดีย(ADA: Aeronautical Development Agency) ยังได้เดินหน้างานพัฒนาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน LCA Navy Mk 2 รุ่นใหม่ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Tejas
เครื่องบินขับไล่ LCA Navy ต้นแบบที่ถูกใช้ในการทดสอบลวดหยุดเครื่องนี้มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F404 สหรัฐฯ โดยเสริมความเข็งแกร่งของโครงสร้างอากาศยาน, ฐานล้อลงจอด และตะขอเกี่ยวท้ายเครื่อง
ถ้าได้รับการพัฒนา LCA Navy Mk 2 น่าจะได้รับการปรับปรุงหลักเช่นเดียวกับ Tejas Mk 2 สำหรับกองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force) โดยติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F414 ที่มีกำลังขับสูงขึ้นครับ