Indonesia develops gunship variant of CN-235 aircraft
An Indonesian Navy CN-235-220 maritime patrol aircraft on display at Singapore Airshow 2016. PTDI is working on a gunship variant of the aircraft. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/82627/indonesia-develops-gunship-variant-of-cn-235-aircraft
PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียได้เริ่มงานพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีเอนกประสงค์สองเครื่องยนต์ CN-235 ให้เป็นรุ่นเครื่องบินโจมตีและลำเลียง(Gunship) ทางบริษัทได้ยืนยันกับ Jane's
เครื่องบินโจมตีและลำเลียงรุ่นนี้จะมีพื้นฐานจากโครงสร้างของเครื่องบินลำเลียง CN-235-220 ที่สร้างโดย PTDI ในอินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท Airbus สาขาสเปน กำลังถูกเริ่มการพัฒนาในฐานะระบบต้นแบบสาธิต
และทาง PTDI อินโดนีเซียจะทำการตลาดเครื่องบินโจมตีและลำเลียง CN-235 Gunship แก่ลูกค้าที่มีความเป็นไปได้หลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งในตะวันออกกลาง, แอฟริกา, เอเชียกลาง และเอเชียตะวันเฉียงใต้
นอกจากกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian National Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia)เอง กลุ่มชาติ ASEAN ได้มีการจัดหา บ.ลำเลียง CN-235 แล้วหลายประเทศ เช่น บรูไน, มาเลเซีย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police)
เครื่องบินลำเลียง CN-235-220 กำลังจะได้รับการติดตั้งปืนใหญ่อากาศ DEFA 553 ขนาด 30mm ลำกล้องเดียวฝรั่งเศสที่กราบซ้ายด้านหลังของลำตัวเครื่อง
ปืนใหญ่อากาศ DEFA 30mm ดังกล่าวถูกถอดออกมาจากเครื่องบินโจมตี Douglas A-4H Skyhawk สหรัฐฯที่ปลดประจำการจากกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) แล้ว
ปืนใหญ่อากาศ DEFA 553 มีความเร็วปากกระบอกที่ 810m/s และมีอัตราการยิงได้ถึง 1,200นัด/นาที ต่อเป้าหมายทางอากาศและเป้าหมายภาคพื้นดิน รวมถึงยังมีแผนที่จะนำระบบอาวุธทำงานเข้ากับระบบกล้องชี้เป้าหมาย Electro-Optical และ Laser ชี้เป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม PTDI อินโดนีเซียยังไม่ได้ตัดสินใจในตอนนี้ว่าจะเลือกแบบของระบบดังกล่าวจากแหล่งใดที่จะนำมาติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีและลำเลียง CN-235 Gunship ต้นแบบสาธิต
ข้อแตกต่างอื่นของเครื่องบินโจมตีและลำเลียงต้นแบบสาธิต CN-235-220 Gunship ที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าที่ผลิตโดย PTDI อินโดนีเซียยังรวมถึงการติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ General Electric CT7-9 แทนเครื่องยนต์ใบพัด GE CT7-7 รุ่นเก่า
CN-235 Gunship ยังได้รับการถูกสร้างโดยมี Wingtip ที่ปลายปีกทั้งสองข้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบินของเครื่องให้ประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น
สำหรับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ที่ปัจจุบันได้ถูกสั่งจัดหาเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy,TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) รวม 11เครื่องนั้น
ถูกคาดว่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณาจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่จำนวน ๓เครื่องของกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการหารือ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)
แต่ด้านกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่มีโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ที่มี CN-235 เป็นหนึ่งใน 4ตัวเลือกนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
ล่าสุดมีรายงานว่ารัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ได้สั่งให้กระทรวงกลาโหมมาเลเซียยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลไปแล้วครับ(http://www.theedgemarkets.com/article/defence-ministry-cancels-maritime-patrol-aircraft-project)