วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๘








Royal Thai Army (RTA) is looking to buy Javelin anti-tank missiles from the United States to replace the RTA's M40 series 106 mm recoilless rifle, seen mounted on M151 and Thailand's domestic 4x4 utility trucks Chaiseri "ChaiPrabSuek" and Type 50/51.

ตามที่เอกสารของ DSCA สหรัฐฯเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔(2021) ระบุว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin เพื่อทดแทนปืนไร้แรงสะท้อน M40 ขนาด 106mm ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม
โดยปัจจุบัน ปรส.M40 จะถูกพบติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก รยบ.M151 4x4 (Jeep สิงห์ทะเลทราย) ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามเช่นกัน ใน หมวดปืนโจมตี กองร้อยลาดตระเวนเฝ้าตรวจ ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารราบ ในหลายกองพลทหารราบ
ในการปรับปรุงขีดความสามารถระบบต่อสู้รถถังของกองทัพบกไทยนั้น ปรส.M40 นั้นจัดเป็นระบบต่อสู้รถถังที่ล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน โดยที่ไม่มีอะไหล่ผลิตใหม่อีกแล้ว และแหล่งจัดหากระสุนในปัจจุบันก็เหลือเพียงอินเดียเท่านั้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้ก็จะไม่สามารถจะจัดหาเพิ่มได้แล้ว

เช่นเดียวกับ รยบ.M151 ที่กำลังจะถูกเลิกใช้งานทั้งหมดเนื่องจากสภาพอายุการใช้งานของรถที่ยาวนาน และแนวทางนำรถแคร่ฐานใหม่มาติดตั้ง ปรส.M40 ทั้งรถยนต์บรรทุก รยบ.๕๐/๕๑ 4x4 หรือรถชัยปราบศึก ของชัยเสรี Chaiseri ที่สร้างในไทย ก็มีการทดสอบแล้วว่าไม่คุ้มค่าในทางปฏิบัติ
มีรายงานในปลายปี ๒๕๖๓(2020) ว่ากองทัพบกไทยได้จัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike MR อิสราเอล เข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่๖ กองทัพภาคที่๒ แล้วจำนวนหนึ่ง เพื่อทดแทน ปรส.M40 ในส่วน ร้อย.ลว/ฝต.(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafael-spike-mr.html)
อย่างไรตามแนวโน้มที่งบประมาณกลาโหมจะถูกตัดลงต่อเนื่องอีกหลายปีจากระะบาด Covid-19 และภาวะเศรษฐกิจที่หนักว่าช่วงปี ๒๕๔๐(1997) การจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Javelin ก็เป็นหนึ่งในอีกหลายๆโครงการจัดหาของกองทัพไทยที่จะต้องถูกระงับไปในช่วงสิบปีข้างหน้าครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)




Directorate of Operations, Royal Thai Air Force announced to cancel the bidding for one of Short-Range Air-Defence (SHORAD) system on 2 August 2021, 
no further details provided but types of SHORAD system likely compared to MBDA Land Ceptor, Diehl IRIS-T SLS or Rafael SPYDER-SR.

ประกาศยกเลิกการซื้อโครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ - จัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ พร้อมติดตั้ง และการฝึกอบรม จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีคัดเลือก

กรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศไทย ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(Thai Government Procurement) ถึงการยกเลิกโครงการจัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ จำนวน ๑ระบบ วงเงิน ๙๓๙,๙๙๙,๙๙๖.๙๐บาท($28,101,647.71)
นับการยกเลิกโครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศไทย เป็นครั้งที่สอง นับการการยกเลิกประกาศเชิญชวนครั้งแรกในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ และประกาศใหม่ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/shorad.html)
ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ที่กองทัพอากาศไทยต้องการ แต่น่าจะเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ที่เทียบเคียงได้กับเช่น MBDA Land Ceptor(CAMM) สหราชอาณาจักร, Diehl IRIS-T SLS เยอรมนี หรือ Rafael SPYDER-SR อิสราเอล

ประกาศเชิญชวนแรกอ้างอิงแหล่งที่มาราคากลางสองรายคือบริษัท Datagate ไทย และบริษัท RV Connex ไทย แต่ในประกาศเชิญชวนที่สองมีสามรายคือ Datagate, บริษัท United Defense ไทย และบริษัท Chankasem International ไทย โดยที่ RV Connex ถูกตัดออก
ซึ่งบริษัทต่างๆดังกล่าวทำหน้าที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายแก่ต่างประเทศ เช่น RV Connex เป็นตัวแทนนำเข้าอาวุธจากยุโรปเช่นสวีเดนและเยอรมนี, Datagate จากรัสเซีย ยูเครน และยุโรปเช่นสหราชอาณาจักร, United Defense จากฝรั่งเศส และ Chankasem International จากจีน เป็นต้น
ยังไม่เป็นที่ทราบเหตุผลถึงการเปลี่ยนแปลงโครงการระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ของกองทัพอากาศไทยดังกล่าว แต่มีสื่อไร้จรรยาบรรณที่ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย โจมตีกองทัพอากาศว่ากำลังยกเลิกนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ซึ่งไม่จริงครับ







The Hand-over ceremony of Defence Technology Institute (DTI) Multi-Purposes Maritime Security Craft to Royal Thai Navy (RTN) at RTN Special Warfare Command (RTN SEAL) in 16 August 2021.



สทป. ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ให้กองทัพเรือ เพื่อตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ 

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ให้กองทัพเรือ เพื่อตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ 
โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล 
ให้กับ พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ โดยมี พลเอก พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เข้าร่วมแสดงความยินดี 
ณ บริเวณหาดน้ำใส หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ  

โครงการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ถือเป็นโครงการวิจัยและพัฒนายานพาหนะทางน้ำโครงการแรกของสถาบันเทคโนโลยป้องกันประเทศ 
เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ กองทัพเรือ เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงและการใช้งานของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร.กร.) 3 ด้าน ได้แก่ 
1. ด้านความมั่นคงทางทหาร สนับสนุนภารกิจหลักสูตรต่าง ๆ ของ นสร.กร. เช่น นักทำลายใต้น้ำจู่โจม, ปฏิบัติงานใต้น้ำ, ลาดตระเวน และการขนส่งในพื้นที่ที่เรือใหญ่เข้าไม่ถึง (เข้าเกยหาด) 
2. ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในนามของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (อพ.สธ.) 
เช่น การวางทุนสำหรับผูกเรือ การเป็นฐานปฏิบัติการดำน้ำ และการเก็บขยะในทะเล 
3. ด้านความมั่นคงทางสังคม การมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมสร้างการตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะในทะเลให้แก่ประชาชน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไป โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการโครงการฯ 2 ปี จนแล้วเสร็จ 






Manned and Unmanned aircraft conduct maritime patrol. 
Fokker F27 Mk200 maritime patrol aircraft of 102 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1 and Aeronautics Defense Systems Orbiter 3B Small Tactical UAS (Unmanned Aerial Systems) of 104 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy.

ในวันที่ 17 ส.ค.64  กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ นำอากาศยาน บ.ตผ.1 (F-27 Mk200) ฝึกบินร่วมกับ อากาศยานไร้คนขับ บร.ตช.๑ (Orbiter 3B) ในภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิสูจน์ทราบเป้าหมายทางทะเล และฝึกค้นหาผู้ประสบภัยในทะเล 
บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน พร้อมทั้งทดลองระบบถ่ายทอดสัญญาณภาพสถานการณ์แบบ near real time แก่ ผู้บังคับบัญชา ณ ที่ตั้งปกติ ระหว่างการฝึก SEA SURVEX 2021

การทดสอบการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ ที่จัดหามาจำนวน ๖ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html)
และเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 Maritime Enforcer(ME) ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/f-27-mk200.html
ระหว่างการฝึก SEA SURVEX 2021  เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ก็เป็นการแสดงขีดความสามารถการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างอากาศยานแบบมีนักบินบังคับและอากาศยานไร้คนขับ ที่หลายๆแบบกองเรือไทยกำลังจะจัดหาตามมาในอนาคตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตนครับ




two Schiebel Camcopter S-100 rotary-wing UAV(Unmanned Aerial Vehicle) serial 1425 and 1426 of  of 104 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy (RTN) at Koh Kra Island, Pak Phanang District, Nakhon Si Thammarat Province in 1 May 2021

ทร.ซื้อเพิ่ม CAMCOPTER  S-100 UAV ! กองทัพเรือเตรียมจัดหาอากาศยานไร้คนขับ แบบ Schiebel CAMCOPTER  S-100 เพิ่มเติมอีก  2 ระบบ จำนวน 2 เครื่อง หลังจากที่งบประมาณที่กองทัพเรือเสนอไปผ่านการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินราว 570 ล้านบาท 
ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2563 ได้รับมอบเข้าประจำการแล้ว 2 ระบบ ซึ่งซื้อมาเป็นเงินราว 600 ล้านบาท เพื่อใช้เพิ่มขีดความสามารถในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลในภาคใต้ 
CAMCOPTER  S-100 นี้ เป็น UAV ขึ้น-ลง ทางดิ่ง ทำให้พื้นที่ที่ต้องการในการขึ้น-ลง ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นและใช้ปฎิบัติการบนเรือได้ด้วย CAMCOPTER  S-100 สามารถปฏิบัติการได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในสภาวะอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ปฏิบัติการบินไกลถึง 200 กม. ทีเดียว.

กองทัพเรือไทยได้จัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aerial System) แบบ Schiebel Camcopter S-100 ออสเตรีย ซึ่งปรากฎภาพสองเครื่องคือหมายเลข 1425 และ 1426(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html)
เข้าประจำการแล้วในฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ การจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Camcopter S-100 เพิ่มเติม ๒ระบบ ๒เครื่อง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดหา UAV หลายๆแบบที่จะเสริมขีดความสามารถการตรวจการณ์ทางทะเลทางอากาศของกองทัพเรือไทย
นอกจาก RQ-21 Blackjack สหรัฐฯที่จะจัดหา(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html) กองทัพเรือไทยยังมองที่จะจัดหาอากาศยานโจมตีไร้คนขับ จำนวน ๑ระบบประกอบด้วย UCAV(Unmanned Combat Aerial Vehicle) ๓เครื่อง พร้อมระบบตรวจจับและอาวุธด้วยครับ




Training to stop the bad guys
US Navy and Thailand Maritime Enforcement Command Center (TMECC) personnel practice maritime tactics, techniques & procedures during Southeast Asia Cooperation and Training exercise.

การฝึก SEACAT 2021 เมื่อวันที่ ๑๐-๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ระหว่าง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล. ที่มีกองทัพเรือไทยและตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย กับกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) นั้นนอกจากการประชาสัมพันธ์ตามช่องทางปกติแล้ว
ผู้เขียนยังพบว่ามีกลุ่มสื่อไร้จรรยาบรรณที่บริหารงานโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติใช้ข่าวการฝึกนี้โจมตีกองทัพเรือว่าไม่ทำข่าวเพราะไม่มีนายทหารระดับสูงร่วมหรือเกรงใจชาติมหาอำนาจ พอมีคนไปชี้แจงข้อเท็จจริงโดยการลง Link ข่าวทางการไปลงกลับโดนลบ ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดถึงข้อสงสัยที่มานานว่า
สื่อเหล่านี้ได้สร้างอิทธิพลของตนขึ้นในสื่อสังคม Online เพื่อจะชี้นำคนอ่านในวงการข่าวทหารไปแนวทางที่ตนต้องการเพื่อผลประโยชน์ในการโจมตีทำลายกองทัพเรือให้ได้มากที่สุด แน่นอนสื่อเหล่านี้ต้องกำจัดคนอื่นที่เห็นต่างจากพวกตนโดยการปิดปากเพื่อจะได้มีแต่ตนเองเท่านั้นที่พูดได้ด้วยครับ




Naval Transportation Department, Royal Thai Navy announced to acquire 2 of Eight-wheel drive (8x8) Amphibious Armored Personnel Carrier (APC) and 6 of Four-wheel drive (4x4) Armoured Multi-Purpose Vehicles (MPV).
The Thailand's company competitors include R600 8x8 by Panus Assembly Co.,Ltd. and  Black Widow Spider (BWS) 8x8  by Preecha Thavorn Industry for Amphibious APC 8x8 and First Win II by Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. for MPV 4x4.

ตามที่ กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือไทยได้ประกาศถึงโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง (๘x๘) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๒ คัน และโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (แบบ ๔x๔) จำนวน ๖ คัน เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นั้น
ถ้าดูจาก TOR เป็นไปได้ที่ยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก R600A 8x8 ของบริษัท Panus Assembly ไทย จะเป็นผู้ชนะในโครงการรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 เมื่อเปรียบเทียบกับยานเกราะล้อยาง Black Widow Spider 8x8 ของบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม(Preecha Thavorn Industry) ไทย
และสำหรับโครงการรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์ 4x4 น่าจะเป็นการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ของบริษัท Chaiseri ไทย เพิ่มเติมจากโครงการเช่นเดียวกันในปี ๒๕๖๓ ซึ่งทั้งหมดเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในไทยของกองทัพเรือไทยครับ