Royal Thai Air Force's Ceremony of 30th Anniversary Peace Naresuan F-16A/B Fighting Falcon, 13 June 2018
Royal Thai Air Force F-16B Block 15 OCU 10301 (Peace Naresuan I) 30th Anniversary tail
Royal Thai Air Force F-16A ADF Block 15 10209 (Peace Naresuan IV) 30th Anniversary tail
Royal Thai Air Force F-16AM EMLU 40313 (Peace Naresuan III) 30th Anniversary tail
Royal Thai Air Force F-16A ADF Block 15 10209, F-16B Block 15 OCU 10301 and F-16AM EMLU 40313 in 30th Anniversary tails
๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ ๓๐ปี บ.ข.๑๙/ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย F-16 Fighting Falcon
งานเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16 A/B)
นับตั้งแต่ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้บรรจุเข้าประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศ ณ ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ซึ่งต่อมากองทัพอากาศ ได้จัดหา F-16A/B เพิ่มเติมเข้าประจำการยังฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ และฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ ตามลำดับ
ซึ่งในปีนี้ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้เข้าประจำการ ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองน่าฟ้าไทยมาแล้วครบ ๓๐ ปี
กองทัพอากาศ จึงได้จัดงาน “๓๐ ปี บ.ข.๑๙/ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย” ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักบิน ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และผู้เกี่ยวข้องที่ได้ปฏิบัติงานกับ บ.ข.๑๙/ก ของทั้ง ๓ ฝูงบิน
โดยการจัดงานได้จัดให้มีการแสดงการบินสวนสนามของ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ทั้ง ๓ ฝูงบิน รวมถึงได้เรียนเชิญอดีตผู้บังคับบัญชา และข้าราชการของทั้ง ๓ ฝูงบินมาร่วมงาน โดยมี พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธี
สำหรับ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการป้องปรามและพร้อมตอบโต้การรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศรอบข้าง
กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยเข้าประจำการโดยมีชื่อโครงการ Peace Naresuan โดยบรรจุเข้าประจำการทั้งหมด ๓ ฝูงบิน ได้แก่
ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ นามเรียกขาน “LIGHTNING” เป็นฝูงบินแรก ต่อมาเข้าประจำการยังฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ นามเรียกขาน “COBRA” และประจำการยังฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ นามเรียกขาน “STARS” ตามลำดับ
จนถึงวันนี้ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองน่านฟ้าไทยเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2074409129255333
https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/1603975709699860
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715632661316
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715643461586
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715656061901
สำหรับอนาคตของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก General Dynamics F-16A/B Block 15 OCU Fighting Falcon ของกองทัพอากาศไทยซึ่งมีชื่อโครงการจัดหาว่า 'Peace Naresuan' นั้น
ในส่วนของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan IV เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002) นั้น แม้ว่าจะจัดหามาหลังสุดแต่เป็นเครื่องที่เคยประจำการใน Air National Guard(ANG) กองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อน
เครื่องจึงเหลือชั่วโมงบินไม่มากต้องปลดประจำการไปก่อนเป็นฝูงแรก อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ยังไม่สามารถจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้เร็วๆนี้ กองทัพอากาศอาจจะต้องยืดระยะเวลาการประจำการออกไปสักระยะก่อนเพื่อคงความพร้อมขั้นต่ำไว้
ส่วน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan III เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ที่ผ่านการปรับปรุงความทันสมัยมาแล้วนั้น
ถ้าดูจากแนวโน้มการใช้งานตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ F-5 SUPER TIGRIS ของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ Northrop F-5E/F Tiger II ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ซึ่งมีอายุโครงสร้างที่ผ่านการปรับปรุง Falcon UP/STAR แล้วที่ ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน คาดว่าจะประจำการไปจนถึงครบรอบ ๔๕ปีหรือราว ปี พ.ศ.๒๕๘๔(2041) เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว
โดยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan I ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) และ Peace Naresuan II พ.ศ.๒๕๓๔(1991) เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(Peace Carvin I) ในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2004)
ซึ่งผ่านการปรับปรุงอายุโครงสร้างโครงการ Falcon UP/STAR แล้วเช่นกัน คาดว่าจะประจำการไปจนถึงครบรอบ ๔๕ปีหรือราว ปี พ.ศ.๒๕๗๖(2033) เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ นั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยทำให้มีขีดความสามารถทางการรบที่ด้อยสมรรถนะกว่า F-16AM/BM EMLU ฝูง๔๐๓ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen ฝูงบิน๗๐๑ สุราษฎร์ธานี และอีกฝูงบินขับไล่ที่เหลือมากพอควร
ดังนั้นถ้ากองทัพอากาศจะยังคงประจำการ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ต่อไปถึง ๔๐-๔๕ปีในข้างต้น การพิจารณาโครงการปรับปรุงความทันสมัยอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อคำนึงถึงภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต
แม้ว่าที่ผ่านมาด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจะทำให้กองทัพอากาศเลือกปรับปรุงความทันสมัยเฉพาะฝูงบินที่มีอายุการใช้งานน้อยที่สุดมาตลอด ถ้าดูจากโครงการปรับปรุงขีดความสามารถของ F-5T Tigris เฉพาะฝูงบิน๒๑๑ ไม่รวมฝูงบิน๗๐๑ จนถึง F-16A/B ฝูงบิน๔๐๓ ก็ตาม
แต่ทว่าการที่ F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ใช้ได้เฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9M Sidewinder และระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล Paveway II เช่น GBU-12 กับ GBU-10 ร่วมกับกระเปาะชี้เป้า ATLIS II ซึ่งไม่มีระบบสร้างภาพความร้อนทำให้ใช้งานเวลากลางคืนและสภาพอากาศปิดไม่ได้ และกระเปาะนำร่อง RUBIS ซึ่งไม่มีระบบชี้เป้าหมายในตัวครับ