The current operators and export customers of Eurofighter Typhoon include Germany, Spain, Italy, United Kingdom, Austria, Saudi Arabia, Oman, Kuwait and Qatar.
เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon นั้นนับว่าเป็นเครื่องบินรบที่มีจำนวนเครื่องในสายการผลิตและผู้ใช้งานอยู่พอสมควร คือกลุ่มประเทศสี่ชาติยุโรปผู้ร่วมพัฒนาที่ประกอบด้วยกองทัพอากาศเยอรมนี(German Air Force, Luftwaffe),
กองทัพอากาศสเปน(Spanish Air Force, Ejército del Aire), กองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, Aeronautica Militare) และกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/airbus-eurofighter-typhoon-tranche-5.html)
โดยมีลูกค้าส่งออกรายแรกในกลุ่มชาติยุโรปคือองทัพอากาศออสเตรีย(AAF: Austrian Air Force, Österreichische Luftstreitkräfte) จำนวน ๑๕เครื่องที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูง(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/typhoon-saab-105.html)
ลูกค้าส่งออกต่างประเทศนอกยุโรปปัจจุบันคือกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย(RSAF: Royal Saudi Air Force) จำนวน ๗๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/wahaj-eurofighter-typhoon.html), กองทัพอากาศโอมาน(Royal Air Force of Oman) จำนวน ๑๒เครื่อง
กองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force) จำนวน ๒๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/eurofighter-typhoon.html) และกองทัพอากาศกาตาร์(Qatar Emiri Air Force) จำนวน ๒๔เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/eurofighter-typhoon.html)
และกำลังเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์(Swiss Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/air2030.html) และกองทัพอากาศฟินแลนด์(Finnish Air Force, Ilmavoimat)(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/hx.html) ด้วย
อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ Eurofighter ยังไม่ประสบความสำเร็จในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก โดยโครงการ F-X ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) ในปี 2002 ก็พ่ายแพ้ต่อเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15K Slam Eagle สหรัฐฯ
เช่นเดียวกับโครงการทดแทนเครื่องบินโจมตี A-4SU ของกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ในปี 2005 ก็พ่ายแพ้ต่อเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG สหรัฐฯ ที่น่าจะมาจากขีดความสามารถที่จำกัดของเครื่องรุ่น Tranche 1 ที่เสนอสำหรับส่งออกในขณะนั้น
รวมถึงโครงการ MRCA(Multirole Combat Aircraft) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่ถูกชะลอโครงการออกไป(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/bae-systems-typhoon.html)
ความคืบหน้าล่าสุดคือความสนใจของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon จากออสเตรียทั้งหมด ๑๕เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/eurofighter-typhoon.html)
ที่ยังมีข่าวอินโดนีเซียสนใจเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสจำนวน ๔๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale-su-35.html) ซึ่งถ้าการเจรจาข้อตกลงบรรลุผลอินโดนีเซียจะเป็นผู้ใช้งานรายแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบ
และอาจจะรวมถึงโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีจำนวน ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ด้วยหรือไม่
อย่างไรก็ตามในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ ๑ฝูงของกองทัพอากาศไทยที่ควรจะเริ่มต้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ถ้าไม่ถูกเลื่อนเพราะถูกตัดงบประมาณกลาโหมจากการระบาดของ coronavirus Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html) มีข้อสงสัยอยู่ว่า
ถ้าเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon สนใจจะเข้ามาแข่งขันในโครงการของกองทัพอากาศไทยในอนาคตจริงประเทศใดจะเป็นตัวแทนที่จะเสนอ Eurofighter Typhoon แก่ไทย? เพราะ Eurofighter GmbH เป็นกิจการค้าร่วมที่ประกอบด้วยบริษัทผู้หุ้นหลักของสี่ชาติหุ้นส่วนผู้พัฒนาโครงการคือ
บริษัท Airbus Defence & Space ยุโรปสาขาเยอรมนีและสเปน ถือหุ้นที่ร้อยละ๔๖ บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ถือหุ้นที่ร้อยละ๓๓ และบริษัท Leonardo อิตาลีถือหุ้นที่ร้อยละ๒๑ ทำให้การส่งออก Eurofighter Typhoon ในแต่ละประเทศจะมีบริษัทที่รับผิดชอบทำหน้าที่ตัวแทนต่างกัน
เช่นการส่งออกเครื่องบินขับไล่ Typhoon ให้กับออสเตรียมี Airbus เยอรมนีเป็นตัวแทน, การส่งออกเครื่องบินขับไล่ Typhoon ให้ซาอุดิอาระเบียมี BAE Systems สหราชอาณาจักรเป็นตัวแทน,การส่งออกเครื่องบินขับไล่ Typhoon ให้คูเวตมี Leonardo อิตาลีเป็นตัวแทน
การแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในหลายๆประเทศก็มีตัวแทนบริษัทในกลุ่ม Eurofighter ที่ต่างกันเช่น โครงการ HX ของฟินแลนด์มี BAE Systems เป็นตัวแทน โครงการ Air2030 ของสวิตเซอร์แลนด์มี Airbus สาขาเยอรมนีเป็นตัวแทน
ด้านทางกลุ่มชาติ ASEAN โครงการ MRCA ของมาเลเซียที่ถูกชะลอโครงการไปและมองที่จะจัดหาเครื่องบินรบขนาดเบาแทน ก็มี BAE Systems สหราชอาณาจักรเป็นตัวแทนตามที่มาเลเซียได้จัดหาเครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น Hawk 208 และเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk 108 ไปก่อนหน้าแล้ว
ส่วนความสนใจเครื่องบินขับไล่ Typhoon ออสเตรีย ๑๕เครื่องของอินโดนีเซีย ไม่แน่ใจว่าจะเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย-ออสเตรียโดยตรงหรือไม่ ก็จึงมีความน่าสงสัยอยู่ว่าถ้า Eurofighter จะมาลงแข่งขันในโครงการจัดหาของกองทัพอากาศไทยบริษัทใดจะทำหน้าที่เป็นตัวแทน?
ซึ่ง Airbus, BAE Systems กับ Leonardo ทั้งสามบริษัทมาออกงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense & Security ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เกือบทุกปี แต่ที่ผ่านมาไม่ได้เน้นประชาสัมพันธ์ Eurofighter ในไทยสักเท่าไร และถ้าสามารถระบุบริษัทตัวแทนได้ก็จะมองโอกาสได้ชัดเจนขึ้น
เช่นถ้า Leonardo อิตาลีทำหน้าเป็นตัวแทนคงจะชนะยาก เพราะกองทัพอากาศไทยดูจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับอากาศยานที่จัดหาจากอิตาลี ไม่ว่าจะเครื่องบินโจมตี AMX กับเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๑๔ G222 ในอดีต และล่าสุดเครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียง บ.ตล.๒๐ P.180 Avanti II
นี่ก็ยังรวมถึงคู่แข่งที่เป็นไปได้รายอื่นๆที่มีดูจะมีศักยภาพมากกว่าสำหรับกองทัพอากาศไทย ทั้งเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
ซึ่งทั้งเครื่องบินขับไล่ F-16V สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D/E/F สวีเดนมีข้อได้เปรียบสำคัญคือกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินรุ่นก่อนหน้าประจำการอยู่แล้ว ทำให้การเปลี่ยนแบบ, การฝึกนักบินและช่างอากาศยาน การจัดหาระบบอาวุธ, อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกฐานบินง่ายกว่า รวมถึงข้อเสนอตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไทยด้วย
และแม้ว่าเครื่องบินขับไล่ Typhoon จะใช้อาวุธและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในกองทัพอากาศไทยได้เกือบทั้งหมดเช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T, AIM-120C AMRAAM และกระเปาะชี้เป้าหมาย LITENING III หรือ Sniper ATP แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงและราคาเครื่องแพงกว่าครับ