New US naval aviation vision emphasises nuclear-powered carriers in future air
power
A F-35C taxis on the flight deck of Nimitz-class aircraft carrier USS Carl
Vinson (CVN 70) in the South China Sea on October 2021.
A new USN strategy document reaffirms the importance of CVNs to future air
power despite the platform's vulnerability to advanced anti-ship missiles. (US
Navy)
เอกสารยุทธศาสตร์ใหม่กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
ได้ยืนยันซ้ำถึงความสำคัญของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์(CVN)
ต่อกำลังทางอากาศอนาคต
แม้ว่าจะมีจุดอ่อนของเรือบรรทุกเครื่องบินต่ออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำขั้นก้าวหน้าก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/cvn-78-uss-gerald-r-ford.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/08/f-35c.html)
วิสัยทัศน์การบินนาวี(Navy Aviation Vision) 2030-2035 ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 27
ตุลาคม 2021 กล่าวว่า เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ดาดฟ้าบินขนาดใหญ่
เป็นสนามบินที่มีความอยู่รอด, ความคล่องแคล่ว, ความยืดหยุ่น
และอำนาจการสังหารสูงสุดในสภาพแวดล้อมความมั่นคงปัจจุบันจะยังคงเป็นต่อไปสำหรับอนาคต
ขนาดที่ใหญ่ของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์สรองรับกองบินนาวีด้วยจำนวนอากาศยานที่เพียงพอที่จะดำเนินภารกิจการแสดงกำลังระยะไกล,
การควบคุมทะเล
และตรวจการณ์อย่างต่อเนื่องในเกือบทุกสภาพแวดล้อมและระดับความคงทนทะเล sea state
เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่าพลังงานนิวเคลียร์ของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ให้ความจุที่เพิ่มขึ้นของคลังสิ่งอุปกรณ์,
อาวุธ และเชื้อเพลิงอากาศยาน เช่นเดียวกับคุณสมบัติความอยู่รอด
ไม่เช่นนั้นพื้นที่อาจจะถูกใช้สำหรับเชื้อเพลิงระบบขับเคลื่อนในเรือพลังงานตามแบบ
ควบคู่ไปกับขนาดที่ใหญ่และพลังงานนิวเคลียร์ของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์
ทำให้เรือจะสามารถดำเนินการเคลื่อนที่เดินทางด้วยความสูงตลอดระยะทางที่ยาวไกล
และจากนั้นดำเนินปฏิบัติการทางทหารทั่วทั้งมากกว่าร้อยละ70 ของพื้นผิวของโลก
สำหรับช่วงระยะเวลาที่ถูกเพิ่มขยายออกไปโดยปราศจากความจำเป็นสำหรับการส่งกำลังบำรุง
สหรัฐฯกำลังเตรียมการสำหรับความขัดแย้งต่อศัตรูที่มีขีดความสามารถเกือบทัดเทียมกันอย่างเช่นรัสเซียหรือจีน
รายงานของกองงานวิจัยสภา Congress สหรัฐฯ(CRS: Congressional Research Service)
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2021 กล่าวว่า
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระดับกองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินอนาคตคือการคาดหวังถึงความอยู่รอดของเรือบรรทุกเครื่องบินต่อข้าศึกอย่างเช่นจีนที่มีขีดความสามารถอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำที่สูง
เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz
ที่กองทัพเรือสหรัฐฯมีประจำการในปัจจุบัน 10ลำ
จะเป็นกำลังหลักของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี(CSG: Carrier Strike Group)
ต่อไป
โดยเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Gerald R. Ford
ใหม่ที่มีการสร้างเสร็จแล้ว 1ลำ กำลังสร้าง 2ลำ และมีคำสั่งจัดหาแล้ว 2ลำ
จะทยอยทดแทนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz ต่อไปในอนาคตครับ