วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

DTI และกองทัพบกไทยเปิดเผยภาพและข้อมูลการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04





Defence Technology Institute (DTI) and Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA)'s  Research and Development (R&D) for prototype of Medium Unmanned Aircraft System (UAS) for Army Aviation Center (AAC) based-on Chinese BEIHANG UAS Technology Co.,LTD Unmanned Aerial Vehicle (UAV) design has been assembled, photos have published on 'Royal Thai Army News' issue 3 November 2021.

Defence Technology Institute and Army Aviation Center, Royal Thai Army signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Medium Tactical Unmanned Aircraft System in 22 June 2021.



Elbit Systems Hermes 450 and Searcher MK II UAVs of Royal Thai Army.



การวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางของกองทัพบกไทย

ในปัจจุบันระบบอากาศยานไร้คนขับหรือ Unmanned Aircraft System (UAS) มีความสำคัญและบทบาทอย่างมากในสมรภูมิการรบ ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) เป็นต้นมา 
กองทัพบกไทย ทบ. ที่ได้ริเริ่มจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับให้บรรจุอยู่ในหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหน่วยสนับสนุนการรบ ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ Searcher Mk I จำนวน ๑ ระบบ
ทำให้ ทบ. เป็นหน่วยงานแรกของประเทศ ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับมาใช้งาน โดยบรรจุเข้าประจำการที่ กองร้อยค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ ร้อย คปม.พล.ป.
ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับของ ทบ. จนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับมาใช้งานอย่างต่อเนื่องในระดับยุทธการด้วยการสนับสนุนการรบให้แก่หน่วยดำเนินกลยุทธ์ในเขตปฏิบัติการของกองพลดำเนินกลยุทธ์ขึ้นไป
ซึ่งแนวโน้มความต้องการระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium UAV) นั้นจะต้องติดตั้งระบบติดอาวุธแบบอากาศสู่พื้นที่มีความแม่นยำสูง รัศมีปฏิบัติการได้ไกล และระยะเวลาปฏิบัติการนานมากขึ้น
อ้างอิงจากแผนแม่บทโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับที่ได้รับอนุมัติจากสภากลาโหม เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕(2012)

ดังนั้น สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของ ทบ. จึงดำเนินงานตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ผบ.ทบ. ในการพึ่งพาตนเอง "ไทยทำ ไทยใช้"
โดยประสานความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางร่วมกันระหว่าง กองทัพบกไทย ทบ. กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.
ซึ่งได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางสำหรับ ทบ. (Medium Unmanned Aircraft System) ระหว่าง ทบ. โดย ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. เป็นหน่วยเจ้าของโครงการกับ สทป.
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการร่วมมือวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางร่วมกัน ทั้งนี้ได้กำหนดให้ต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสำหรับนำมาใช้ใน ทบ.

คุณลักษณะของระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางของโครงการวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวน เฝ้าติดตามสถานการณ์ การหาข่าว ค้นหาและระบุที่ตั้งเป้าหมาย เพื่อการปรับการยิงปืนใหญ่ และอาวุธยิงสนับสนุนอื่นๆ ในการสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์
โดยระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางจากการวิจัยและพัฒนาร่วมนี้จะถูกออกแบบให้สามารถบินได้นาน มีระยะปฏิบัติการที่ไกลเกินกว่าขอบเขตของการปฏิบัติในระดับกองพล ประกอบกับสามารถติดตั้งอุปกรณ์ (Payload) ได้อย่างหลากหลาย
รวมทั้งติดตั้งระบบอาวุธปล่อยจากอากาศสู่พื้นแบบนำวิถีได้อีกด้วย ผลผลิตที่ ทบ. จะได้รับจากโครงการวิจัยและพัฒนาฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) คือระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบลาดตระเวนและเฝ้าระวัง ๑ ระบบ
ซึ่งประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง จำนวน ๒ ลำ พร้อมระบบควบคุมปฏิบัติการภาคพื้นดิน (สถานีควบคุมภาคพื้นดิน) ๑ ระบบ และกล้องถ่ายภาพแบบกลางวัน (Electro Optical Camera) และแบบกลางคืน (Thermal Camera)
และติดตั้งอุปกรณ์ sensors Synthetic Aperture Radar (SAR) ทำให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวน เฝ้าตรวจสนามรบ และติดตามเป้าหมายในพื้นที่ โดยสามารถถ่ายภาพมุมสูงได้ในระยะไกล

โดยมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
๑. คุณลักษณะเฉพาะในการออกแบบ
๑.๑ ความยาวตลอดลำ (Length) 6.5 meters
๑.๒ ความกว้างปีก (Wing Span) 13.4 meters
๑.๓ ความสูง (Height) 2.5 meters
๑.๔ น้ำหนักรวม (Maximum Takeoff Weight) 750 kg
๒. คุณลักษณะเฉพาะในทางเทคนิค
๒.๑ รัศมีปฏิบัติการสูงสุด (Maximum Operation Radius) 200 km
๒.๒ เวลาปฏิบัติการสูงสุด (Maximum Operation Time) ๒๐ ชั่วโมง
๒.๓ เพดานบินสูงสุด (Maximum Ceiling) 24,000 feet
๒.๔ น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum Weight Payload) 150 kg
๒.๕ ความเร็วเดินทาง (Cruise Speed) 150-180 km/h
๒.๖ รูปแบบการขึ้น-ลง โดยใช้สนามบินในพื้นที่การรบระยะทางวิ่งขึ้นไม่เกิน 1,300 meters
๒.๗ ติดตั้งกล้องถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว กลางวัน/กลางคืน (EO/IR)
๒.๘ ติดตั้งอุปกรณ์ Synthetic Aperture Radar (SAR)

กระบวนการวิจัยและพัฒนาร่วมระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางเริ่มต้นจากการออกแบบ การผลิต การทดสอบและประเมินผล การซ่อมบำรุง ตลอดจนการฝึกอบรมแบบครบวงจร เพื่อให้สามารถขยายผลต่อยอดการผลิตและการซ่อมบำรุงระดับโรงงานได้ภายในประเทศ
ก่อให้เกิดความพร้อมรบ และความต่อเนื่องในการส่งกำลังซ่อมบำรุงให้กับ ทบ. ได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า ประหยัด อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก (S-Curve 11)
เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมไทย กห. และนโยบายของรัฐบาลไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี

ที่มา: ข่าวทหารบก ฉบับที่ ๓ วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

การเผยแพร่ภาพและข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ D-eyes 04 ร่วมระหว่าง สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ. กองทัพบกไทย และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. ใน ข่าวทหารบก ฉบับที่ ๓ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เป็นความคืบหน้าล่าสุดของโครงการตามหลังร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOA: Memorandum of Agreement) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔
เพื่อการสร้างต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบลาดตระเวนและเฝ้าระวัง สำหรับศูนย์การบินทหารบก โดยจากภาพที่เผยแพร่จะได้เห็นต้นแบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 อย่างน้อย ๑เครื่อง ถูกประกอบสร้างเสร็จในสถานที่ที่ไม่ถูกระบุว่าเป็นในไทยหรือที่จีน

DTI ไทยได้มีความร่วมมือกับบริษัท Beihang UAS Technology Co.,LTD สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการออกแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 โดยมีพื้นฐานจากอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ CY-9 UAS ของ Beihang
อย่างไรก็ตามจากชุดภาพที่ปรากฎจะเห็นได้ว่ารูปแบบของ DTI D-eyes 04 UAS เครื่องต้นแบบจริงมีความแตกต่างจากแบบจำลองของ Beihang CY-9 ที่ถูกนำมาจัดแสดงประกอบในพิธีลงนามระหว่าง DTI และกองทัพบกก่อนหน้านี้มาก(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/blog-post.html)
โดยมีความคล้ายคลึงกับอากาศยานไร้คนขับตระกูล Wing Loong ของ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) และอากาศยานไร้คนขับตระกูล CH-4 ของ China Aerospace Science and Technology Corporation(CASC) ซึ่งเป็น UAV สองแบบที่จีนประสบความสำเร็จในการส่งออก

ตามรายละเอียดที่มีการเปิดเผยก่อนหน้าเป็นที่เข้าใจว่า D-eyes 04 UAS จะถูกจัดหาสำหรับ กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย ทดแทนระบบเก่าเช่น Searcher II UAV อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.html)
แต่จากการให้รายละเอียดล่าสุด หน่วยผู้ใช้งานของ D-eyes 04 UAS คือ ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการใน กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 UAV ของ Elbit Systems อิสราเอลที่มีประจำการก่อนหน้า
ต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ DTI D-eyes 04 UAS ที่น่าจะถูกสร้างขึ้นอย่างน้อย ๒เครื่องสำหรับ ๑ระบบ น่าจะถูกใช้ในภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) เป็นหลักตามที่ภาพไม่ปรากฎสิ่งที่บ่งชี้ถึงขีดความสามารถการติดอาวุธ

แต่จากความต้องการที่ระบุถึงขีดความสามารถการใช้ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ทำให้อากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 น่าจะได้รับการบูรณาการด้วยระบบอาวุธตามมาระหว่างการพัฒนาและทดสอบ ซึ่งนับเป็นอากาศยานไร้คนขับแบบแรกของกองทัพบกไทยที่มีขีดความสามารถนี้
ด้วยระบบอาวุธที่จีนพัฒนาสำหรับอากาศยานไร้คนขับของตนที่ส่งให้แก่ต่างประเทศ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AR-1 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AR-2 นำวิถีด้วย Semi-Active Laser(SAL) เป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/ar-2-ch-4-uav.html)
ทั้งนี้กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ยังมีโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง วงเงิน ๔,๐๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($122,479,690) สำหรับ UAV ระดับเดียวกับ MQ-1 Predator สหรัฐฯ ๑ระบบ ๓เครื่อง เช่น CH-4B และ Wing Loong II จีน หรือ Hermes 900 อิสราเอลครับ