วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๑๐

Artist impression of Royal Thai Air Force (RTAF)'s F-35A Lightning II. (My Own retouch)

Lockheed Martin has displayed Model of F-35A Lightning II Joint Strike Fighter at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November. (My Own Photo)

Royal Thai Air Force's F-16A Block 15 ADF and F-16B Block 15 ADF of 102nd Squadron, Wing 1 Korat in Australia during exercise Pitch Black. (Australia's Department of Defence)

Royal Thai Air Force held transition ceremony for all remaining F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) from 102nd Squadron to 103rd Squadron in 28 September 2021. (Airlinesweek)

F-35 "Lightning II"....."VICTORY IN COMBAT" ... General David L. Goldfein
.....เครื่องบินดี มีคุณภาพ ย่อมมีชัยในการรบ..

ทำไมเราจึงต้องมีเครื่องบินรบที่มีคุณภาพและทันสมัย...“ถ้าทุกคนเข้าใจกองทัพอากาศ จะเข้าใจว่ากองทัพอากาศแพ้ไม่ได้  กำลังทางอากาศของกองทัพอากาศแพ้ไม่ได้เพราะถ้ากำลังทางอากาศแพ้  
นั่นแสดงให้เห็นว่า เสียงคำรามนั้น ไม่ใช่เสียงเครื่องบินของเรา แต่เป็นเสียงเครื่องบินของข้าศึก ทุกหน่วยภาคพื้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยใด เหล่าใด ก็จะต้องแหลกราญแน่นอน ดังนั้นกองทัพอากาศจึงเป็นกองทัพที่สำคัญอย่างมาก ...แพ้ไม่ได้” 
…พล.อ.อ. นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. คนใหม่ล่าสุด

บ.รบ ในอนาคตทอ.ไทย...ทำไมต้องเป็น F-35? …วันนี้ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ. นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. ได้แถลงนโยบายและมีโอกาสพบปะสื่อมวลชนครั้งแรก ซึ่งท่านได้พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องบินรบในอนาคตของกองทัพอากาศไทย 
สรุปว่าเครื่องบินรบที่ทอ.เรามีอยู่ในปัจจุบัน ก็นับว่าทันสมัยในยุคนี้ ถ้าผ่านไปอีกระยะหนึ่งก็จะล้าสมัย  แต่ถ้าเราจะจัดหาใหม่ต้องเป็นเครื่องบินรบที่มีความทันสมัยกว่าและเป็นเครื่องบินรบที่มีคุณภาพ ใช้งานได้อีกนาน ...
ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า คุณพ่อท่านคือ พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ อดีตผบ.ทอ. ซึ่งท่านได้ตัดสินใจเลือกซื้อ F-16 ท่านได้พูดว่า  ทอ.น่าจะคิดถึงการมีเครื่องบินที่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน เครื่องบินที่น่าสนใจถ้าเรามีงบประมาณที่สามารถจะดูแลรักษาได้ ก็คือเครื่องบินจำพวกสเตลท์ F-35 
หากว่าเรามีโอกาสก้าวขึ้นและมีงบประมาณและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาขน ไม่คิดว่าการเตรียมกำลังกองทัพอากาศเป็นการเตรียมกำลังเพื่อทหารอากาศ แต่เป็นการเตรียมกำลังเพื่อประเทศเพื่อประชาชน ...ดังนั้นเราก็ควรที่จะคิดอ่านหาเครื่องบินที่ทันสมัยตั้งแต่บัดนี้.... 

ผู้เขียนคิดว่านี่คือการจุดประกายครั้งสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของเครื่องบินรบยุคใหม่ของทอ.ไทย ซึ่งผบ.ทอ.คนใหม่มีแนวคิดอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่ายังไม่มีการตั้งกรรมการจัดหาหรือจัดซื้อเร็วๆนี้ก็ตาม แต่ถ้าดูโครงสร้างและอนาคตของผู้นำกองทัพอากาศคนต่อๆไป 
จะเห็นได้ว่าจะเป็นนักบินขับไล่ F-16 ตามๆกันมาอีกหลายรุ่น ซึ่งพวกเขาย่อมรู้ดีว่าทอ.ควรมีเครื่องบินรบที่ทันสมัยแบบใหน กำลังทางอากาศจะเป็นเครื่องมือตัดสินในการรบ ว่าเราจะแพ้หรือชนะในสงคราม ...
เหตุผลที่ว่าทำไมทอ.ไทยควรมี F-35 ก็คือ เครื่องบินรบที่ใช้อยู่ในภูมิภาคนี้ส่วนมากเป็นจะเป็นยุคที่ 4 หรือทันสมัยสุดก็คือยุคที่ 4.5 เช่น Gripen เป็นต้น การที่ทอ.จะมองหาเครื่องบินรบใหม่ที่จะต้องประจำการไปอีก 20-30 ปีข้างหน้า 
จำเป็นต้องข้ามก้าวเครื่องบินเหล่านี้ไปป็นเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 5 เป็นอย่างน้อย จุดเด่นของ F-35 Joint Strike Fighter เครื่องบินรบยุคที่ 5 คือเป็นบ.รบที่ออกแบบมาเป็นเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีล่องหนตรวจจับยาก มีระบบ Electronic Warfare ที่ทันสมัย  
Advanced Sensors, Helmet & Pilot Interface , Network Enabled Ops และที่สำคัญคือ สามารถติดตั้งระบบอาวุธที่หลากหลายและทันสมัย...
สิ่งเหล่านี้คือความสุดยอดของเครื่องบินขับไล่ครองความเป็นเจ้าเวหา ที่เราต้องการ ...การตัดสินใจจัดหาเครื่องบินรบใหม่ของทอ. จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ว่าเราจะตัดสินใจถูกต้องเหมือนกับที่เราเคยทำมาแล้วในการจัดหา F-16 เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่...

ตามสถานการณ์ระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการลดงบประมาณกลาโหมลงต่อเนื่องเป็นครั้งที่สาม(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html) ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) มาต่อเนื่องหลายปี
จึงเป็นไปได้ยากมากที่ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๖(2022-2023) กองทัพอากาศไทยจะสามารถตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เครื่องที่เหลือไปรวมเข้ากับฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ไปแล้ว
อาจจะยาวไปถึงการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ เองรวมสองฝูงบิน ๒๔เครื่องด้วย ตลอดระยะ๑๐ปีข้างหน้าไม่ว่าจะเครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen ฝูงที่สอง จนถึงเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ฝูงที่สอง ดูแล้วไม่มีโอกาสทั้งนั้นครับ

Model of Saab Gripen D 70101 with MBDA Meteor BVRAAM, AIM-120C AMRRAM and IRIS-T missile displyed during Lieutenant Colonel SaaAnders Ingemar Nikanorsson, the Swedish Defence Attache and Robert Bjorklund, Head of Saab Thailand visit Wing 7 Royal Thai Air Force base in 20-21 October 2021.



Air Chief Marshal Napadej Dhupatemiya, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force and General Chalermpol Srisawat, the Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces (RTARF) in backseat of Gripen D 70101 and 70102 flying formation with Gripen C 70110  and Saab 340 ERIEYE 70203 during inspected Wing 7 Surat Thani RTAF base and capabilities within Network Centric Operation (NCO) in 26 October 2021.

กองบิน ๗ ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยทูตทหารสวีเดน ประจำประเทศไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท SAAB ประจำประเทศไทย
พันโท Anders Ingemar Nikanorsson ผู้ช่วยทูตทหารสวีเดน ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย Mr.Robert Björklund ประธานกรรมการบริหาร บริษัท SAAB ประจำประเทศไทย เดินทางมาเยี่ยมคำนับ และเยี่ยมชมกิจการ กองบิน ๗ เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ 
โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ พร้อมด้วย รองผู้บังคับการกองบิน ๗ ร่วมให้การต้อนรับฯ และพบปะพูดคุย ณ ห้องรับรอง กองบังคับการกองบิน ๗ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔

การสาธิตการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองบิน๗ กองทัพอากาศไทย ให้แก่ พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔
จะได้เห็นเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C-7 AMRAAM, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RBS15F และกระเปาะชี้เป้าหมาย Litening III
แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ก Gripen D หมายเลข 70101 ที่บริษัท SAAB สวีเดน มองให้กองบิน๗ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ แสดงการติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะยิงนอกสายตา Meteor น่าจะแสดงถึงการปรับปรุงความทันสมัยตามมาตรฐาน MS20 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)







Royal Thai Air Force (RTAF) held Farewell and Decommissioning ceremony for its Bell 412 Twin and Bell 412HP helicopters of 202nd Squadron, Wing 2 Lop Buri in 19 October 2021. 

ปลดประจำการ  เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ข (BELL 412) และเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ค (BELL 412 HP)
หลังจากรับใช้ชาติมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ข(ฮ.๖ข/Bell412) และเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ค(ฮ.๖ค/Bell412HP) ก็ถึงคราวต้องปลดประจำการ 
โดยมีพิธีปลดประจำการในวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ ฝูงบิน ๒๐๒ กองบิน ๒ มี พล.อ.ท.เสริมเกียรติ ก้อนมณี ผู้บังคับศูนย์สนับสนุนการถวายบิน ๙๐๔ เป็นประธาน 

ฮ.๖ข(Bell412) เข้าประจำการในกองทัพอากาศครั้งแรกที่ฝูงบิน ๒๐๓ ในบทบาทการเป็นเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๕ ในปีพ.ศ.๒๕๓๔ กองทัพอากาศได้จัดหา ฮ.๖ค(Bell412HP) มาแทนที่ ฮ.๖ข(Bell412) สำหรับการบินรับ-ส่งเสด็จฯ
ต่อมาเฮลิคอปเตอร์ทั้ง ๒ แบบได้ถูกโอนย้ายให้มาอยู่ในความครอบครองของ ฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ในปีพ.ศ.๒๕๔๑ และได้ถวายการบินแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงงานยังพื้นที่ห่างไกล 
เมื่อพ้นจากหน้าที่การเป็นเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ ฮ.๖ข และ ค ถูกนำมาใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์รับ-ส่งบุคคลสำคัญ, เฮลิคอปเตอร์ส่งกลับทางอากาศสายแพทย์ และเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ(Combat Search and Rescue: CSAR) 
นักบินทุกคนของฝูงบิน ๒๐๑ ในปัจจุบันล้วนเคยทำการบินกับ ฮ.๖ข และ ค หลายคนเริ่มต้นการบินเฮลิคอปเตอร์กับเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองแบบนี้

หลังการจัดตั้งฝูงบิน ๒๐๒ ในปีพ.ศ.๒๕๖๒ ฮ.๖ข/ค /ง (Bell412/412HP/412EP) ของฝูงบิน ๒๐๑ ถูกโอนย้ายไปสู่ฝูงบิน ๒๐๒ ทั้งหมด เพื่อใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกนักบินเฮลิคอปเตอร์ขั้นต้นของกองทัพอากาศ และได้ทำหน้าที่นั้นจวบจนวันสุดท้ายของการรับใช้ชาติ
แม้จะปลดประจำการไปแล้ว แต่เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ข(ฮ.๖ข/Bell412) และเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ค(ฮ.๖ค/Bell412HP) จะยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเราชาวฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ และผู้ที่เคยปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองแบบนี้ ตลอดไป

เครดิตภาพถ่าย กองบิน 2 กองทัพอากาศ , พี่น้องฝูงบิน 201


Defence Technology Institute (DTI) Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) 8x8 for Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) during testing was show on screen at Admiral Somprasong Nilsamai the Commander-in-Chief of Royal Thai Navy's policy 2022 conference in 7 October 2021.

Two of three Norinco VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles and four AAV7A1 Amphibious Assault Vehicles upgrade by Thailand's company Chaiseri of Marine Assault Amphibian Battalion, Marine Division, RTN during Sunset ceremony for former Commander-in-Chief of RTN Admiral Chatchai Srivorakan retirement in 28 September 2021.

Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy was hand-over the latest batch of Narai 3.0 Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) to operators in 17 September 2021. 

พล.ร.ต.อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผอ.สวพ.ทร.เป็นประธานการส่งมอบผลงานวิจัยอากาศยานไร้นักบินแบบนารายณ์ ๓.๐ จำนวน ๕ ระบบ ให้กับหน่วยผู้ใช้ทางออนไลน์ ในวันศุกร์ที่ ๑๗ ก.ย.๖๔ ณ ห้องประชุม สวพ.ทร.ชั้น ๕

ผู้บัญชาการทหารเรือ ประกาศเจตนารมณ์ และ มอบนโยบายประจำปีงบประมาณ 2564 แก่หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ   มุ่งมั่นนำพากองทัพเรือให้เจริญก้าวหน้า เน้นความสามัคคีปรองดอง เป็นพี่เป็นน้อง ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสู่เป้าหมาย "รวมใจภักดิ์ รักษ์ชาติ ราษฎร์ศรัทธา"

วันนี้ 7 ตุลาคม 2564) เวลา 13.15 น. พลเรือเอก สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ประกาศเจตนารมณ์และมอบนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2565 แก่กำลังพลกองทัพเรือ 
ผ่านระบบ vtc จาก ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ไปยังห้องประชุมของหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือ

สำหรับนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือในปีนี้ เป็นการสานงานต่อเนื่อง จากนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือที่ผ่านมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์กองทัพเรือตลอดจนรวมพลังขับเคลื่อนกองทัพเรือตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือระยะ 20 ปี 
ไปสู่การเป็นหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล ที่มีบทบาทนำในภูมิภาคและเป็นเลิศในการบริหารจัดการ และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ประชาชนและสังคม และเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ  
ด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ  มีความจงรักภักดี ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด สุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น นำพากองทัพเรือให้เจริญก้าวหน้า โดยเน้น ความสามัคคีปรองดอง เป็นพี่เป็นน้อง ร่วมมือร่วมใจกันปฏบัติหน้าที่  
พร้อมย้ำผู้บังคับหน่วยต้องดูแลหน่วยและดูแลสวัสดิการกำลังพลชั้นผู้น้อย โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ "รวมใจภักดิ์ รักษ์ชาติ ราษฎร์ศรัทธา" 

สำหรับเจตนารมณ์ผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำประเด็นสำคัญของการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 10 ประเด็น 
โดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ การปกป้องรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ การสนับสนุนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในงานด้านความมั่นคงของประเทศ การส่งเสริมความมั่งคั่งและความอยู่ดีกินดีของประชาชน 
รวมทั้งงานด้านต่างประเทศตลอดจนการให้ความช่วยเหลือประชาชนและกำลังพลของกองทัพเรือให้มีความมั่นคงในชีวิต ในขณะที่นโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติการกิจของกองทัพเรือในปีนั้นๆ 
ให้ไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือที่ได้กำหนดไว้โดยนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือประจำปี ได้รับเอานโยบายกองทัพเรือบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายผู้บัญชาการทหารเรืออย่างชัดเจน 
ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนกองทัพเรือมีความเป็นเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานและเพื่อให้การบริหารทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ มีรายงานว่าในวันพรุ่งนี้ กองทัพเรือ จะมีการเปิดตัวทีมโฆษกกองทัพเรือ พร้อมทั้งแถลงถึงรายละเอียดของเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ และ นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องโพธิ์สามต้น หอประชุมกองทัพเรือ

หนึ่งในนโยบายสำคัญที่มีการแถลงในนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) คือนโยบายการวิจัยและพัฒนา ที่ได้รับการพิสูจน์จริงแล้วว่ากองทัพเรือไทยเป็นหน่วยงานความมั่นคงหลักที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศของไทยมาต่อเนื่องโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการสร้างเรือในประเทศ, ระบบอากาศยานไร้คนขับ เช่น Narai 3.0 ที่มีสายการผลิตจำนวนมากและถูกนำมาใช้งานจริงในหลายๆหน่วยงานของรัฐ, การจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win 4x4 และรถเกราะล้อยานสะเทินน้ำสะเทินบก Panus R600 8x8
และต้นแบบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI อาจจะรวมถึง ต้นแบบยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vehicle) วงเงิน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,181,684) ที่ปรากฎในแผนโครงการของ DTI ล่าสุดด้วยครับ




All three of  the Ratcharit-class fast attack craft missile boats, FAC-321 HTMS Ratcharit (former 4), FAC-322 HTMS Vitiyakom (former 5) and FAC-323 HTMS Udomdej (former 5) at Brindisi; Italy, Corinth canal; Greece and Red Sea in 1980.
FAC-321 HTMS Ratcharit, the Ratcharit-class fast attack craft missile boat was decommissioned in 30 September 2021.

การปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ ลำสุดท้ายจาก ๓ลำคือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321 เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เป็นการสิ้นสุดการมีเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีประจำการ และการเลิกใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Exocet MM38 ของกองทัพเรือไทย
หลังการปลดประจำการเรือเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงปราบปรปักษ์และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ รวม ๖ลำ กองเรือตรวจอ่าว กตอ. ยังมีเรือเร็วโจมตีปืนชุดเรือหลวงชลบุรี ๓ลำคือ ร.ล.ชลบุรี 331, เรือหลวงสงขลา 332 และเรือหลวงภูเก็ต 333 ที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖(1983)
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีถูกกองทัพเรือไทยพิจารณาว่ามีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับภารกิจในปัจจุบันแล้ว โดยมีการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งมาประจำการใน กตอ.ตามภารกิจที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้หลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณของเรือ รจอ.ก็คงจะมีการเปลี่ยนไปครับ




DTI hands-on modified chinese Norinco Type 85 Self-Propelled Artillery Rocket Launcher (YW306) with 30 tube 130mm rocket that replaced with domestic DTI-2 20 tube 122mm rocket to Royal Thai Army (RTA) at Artillery Division, Fort Sirikit, Lopburi province 
in 23 September 2021.



การส่งมอบจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ๒๐ท่อยิง ระยะยิง 40km แก่กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่ง DTI ไทยได้เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา
นับเป็นความสำเร็จล่าสุดในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงของ DTI ซึ่งเดิม จลก.๓๑ ที่ใช้รถแคร่ฐานรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 นั้นก็เป็นการทดแทนแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องแบบ Type 82 ขนาด 130mm ๑๐ท่อยิง ที่มีระยะยิงเพียง 10km ที่เก่าล้าสมัย
จรวด DTI-2 122mm ที่ DTI ไทยพัฒนาเองในไทยทั้งหมดยังถูกนำมาทดสอบยิงจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 ขนาด 122mm ๔๐ท่อยิงของกองทัพบกไทยมาแล้วเช่นกับ จลก.๓๑ เป็นการยืนยันถึงขีดความสามารถอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยได้เป็นอย่างดีครับ








Inspection for Combat Readiness of 3rd Cavalry Division, 2nd Army Area, Royal Thai Army include VT4 and M48A5 main battle tanks, Scorpion light tank and M113 armored personnel carrier.

กองพลทหารม้าที่ 3 พิธีส่งมอบการบังคับบัญชา "กองพันทหารม้าที่ 8" ให้กับ "กองพลทหารราบที่ 3" และ "กองพันทหารม้าที่ 21" ให้กับ "กองพลทหารราบที่ 6"
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 11.30 นาฬิกา พลตรี สมบัติ จินดาศรี ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 3 เป็นประธานพิธีส่งมอบการบังคับบัญชาหน่วย"กองพันทหารม้าที่ 8" และ"กองพันทหารม้าที่ 21" 
ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบกให้ปรับเปลี่ยนกองพลทหารม้าที่ 3 เป็นกองพลทางยุทธศาสตร์ของกองทัพบก และให้กองพลทหารราบมาตรฐาน ที่มีความสมบูรณ์ สามารถรับภารกิจป้องกันชายแดน และภารกิจอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยมี พลตรี อดุลย์ บุญธรรมเจริญ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 และ พันเอก ยงยุทธ ขันทวี รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 ร่วมกระทำพิธี ณ อาคารเกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ค่ายเปรมติณสูลานนท์ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

กองพันทหารม้าที่๘ เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้าที่๗ กองพลทหารม้าที่๓ โดยมีอาวุธยุทโธปกรณ์ในอัตราจัดล่าสุดคือรถถังหลัก M48A5 ที่โอนมาจากกองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ได้รับรถถังหลัก Oplot-T ครบเพื่อทดแทนรถถังเบา M41A3 ที่ปลดประจำการ
กองพันทหารม้าที่๒๑ เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้าที่๖ พล.ม.๓ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ในอัตราจัดล่าสุดคือรถถังหลักแบบ๖๐ ถ.หลัก๖๐ VT4 ทดแทน ถ.หลัก M48A5 ที่จะโอนไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน ถ.เบา M41A3 ที่จะปลดประจำการเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงสายการบังคับบัญชานี้ ทำให้ขณะนี้ พล.ม.๓ จะมี ม.๖ เป็นกรมเดียวที่มีกองพันทหารม้ารถถัง คือ กองพันทหารม้าที่๖ ใช้รถถังหลัก VT4 ทดแทนรถถังเบา ถ.เบา.๓๒ Stingray ที่จะถูกโอนไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ เพื่อแทน ถ.เบา M41A3 เช่นกันครับ