วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยระบุผู้เข้าแข่งขันสี่รายสำหรับโครงการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง MALE UAV












Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy announced to acquire 1 system of land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) comprising 3 aircrafts same class as US General Atomics MQ-1 Predator,
middle price for $118,693,250 are bidding from two Israeli firms Israel Aerospace Industries Ltd. (IAI) and Elbit Systems Ltd., Chinese export company China National Aero-Technology Import & Export Corporation (CATIC) and US firm General Atomics Aeronautical Systems, Inc. (GA-ASI).
The potentail platforms might be included Elbit Systems Hermes 900 (Kochav), IAI Heron TP (Eitan), Aviation Industry Corporation of China (AVIC) Wing Loong II and GA-ASI MQ-9 Reaper.









ซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง

สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) สยป.ทร ได้เผยแพร่เอกสารหัว 'ลับมาก'(Secret) ในศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ประกาศถึงโครงการซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นเงิน ๓,๙๖๒,๐๔๐,๐๐๐บาท($118,693,250) แหล่งที่มาของราคากลางได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน ๔ บริษัท ดังนี้ 
บริษัท Israel Aerospace Industries Ltd.(IAI) อิสราเอล, บริษัท Elbit Systems Ltd อิสราเอล, บริษัท China National Aero-Technology Import & Export Corporation(CATIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท General Atomics Aeronautical Systems, Inc.(GA-ASI) สหรัฐฯ

ไม่มีการเผยแพร่เอกสารการกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) สำหรับรายละเอียดอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งที่กองทัพเรือไทยต้องการ แต่มีข้อมูลเบื้องต้นว่าจะจัดหา ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยาน ๓เครื่อง พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง
โดยน่าจะเป็นอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) ตามที่กองการบินทหารเรือ(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ กบร.กร. กำลังพัฒนากำลังอากาศยานไร้คนขับของตน
ทั้งการจัดหาระบบจากต่างประเทศเช่น  อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B, Schiebel Camcopter S-100 และ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack และระบบที่พัฒนาเองในประเทศเช่น MARCUS-B(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/uav.html)

จากรายชื่อ ๔บริษัทที่เป็นแหล่งที่มาราคากลาง อากาศยานไร้คนขับ MALE UAV ที่เป็นไปได้ว่าน่าจะถูกนำเสนอเพื่อพิจารณาอาจจะมีเช่น Elbit Hermes 900 และ IAI Heron TP ซึ่งประจำการในกองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) ในชื่อ Kochav และ Eitan ตามลำดับ,
อากาศยานไร้คนขับตระกูล Wing Loong ของ AVIC(Aviation Industry Corporation of China) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน ตามที่ CATIC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจทำหน้าเป็นตัวแทนส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการบินของ AVIC ในตลาดนานาชาติ
และอากาศยานไร้คนขับตระกูล GA-ASI MQ-9 Reaper สหรัฐฯ ซึ่งตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่เผยแพร่ก่อนหน้าระบุว่ามีต้องการอากาศยานไร้คนขับระดับเดียวกับ MQ-1 Predator ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท GA-ASI สหรัฐฯเช่นเดียวกัน

MALE UAV จากสี่บริษัทสามประเทศที่ยกตัวอย่างมาในข้างต้น ซึ่งจะมีการยื่นส่งเอกสารในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เป็นอากาศยานที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพประเทศผู้ผลิต และ/หรือผลิตส่งออกให้ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก รวมถึงได้ถูกนำมาวางกำลังใช้ปฏิบัติการจริงแล้ว
MALE UAV จากสี่บริษัทเหล่านี้สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ตามความต้องการผู้ใช้งาน และส่วนใหญ่จะสามารถติดอาวุธได้(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/dti-d-eyes-04.html) เช่น อากาศยานไร้คนขับ MQ-9 Reaper สหรัฐฯ และ อากาศยานไร้คนขับ Wing Loong II จีน
อย่างไรก็ตามมีการให้ข้อมูลว่าอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งที่กองทัพเรือไทยต้องการอาจจะไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีความสามารถในการใช้อาวุธได้ เช่น อากาศยานไร้คนขับ Hermes 900 และ Heron อิสราเอลที่ส่งออกในรูปแบบติดตั้งระบบตรวจการณ์และชี้เป้าหมายเท่านั้นครับ