วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๑๑




Royal Thai Navy (RTN) has plan to procure 1 system of land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) comprising 3 aircrafts for $122,479,690 same class as US General Atomics MQ-1 Predator,
considering platforms might be included Israeli Elbit Systems Hermes 900, Chinese Aviation Industry Corporation of China (AVIC) Wing Loong II and Turkish Bayraktar AKINCI.  




Defence Technology Institute (DTI) and Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA)'s prototype of D-eyes 04 Medium Unmanned Aircraft System (UAS) for RTA Army Aviation Center (AAC) based-on Chinese BEIHANG UAS Technology Co.,LTD Unmanned Aerial Vehicle (UAV) design.

กองทัพเรือไทยมีโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง วงเงิน ๔,๐๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($122,479,690) สำหรับอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะเวลาทำการนาน(MALE UAV) ระดับเดียวกับอากาศยานไร้คนขับ MQ-1 Predator สหรัฐฯ
ตามนโยบายการเสริมสร้างกำลังอากาศยานไร้คนขับ UAV ของกองการบินทหารเรืออย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/marcus.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_14.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html)
แม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดมากนัก ระบบที่คาดว่าน่าจะตรงข้อกำหนดการพิจารณาก็มีเช่น อากาศยานไร้คนขับ Hermes 900 อิสราเอล, Wing Loong II จีน และ AKINCI ตุรกี ซึ่ง UAV แต่ละแบบที่ยกตัวอย่างถูกนำเข้าประจำการจริงและประสบความสำเร็จในการส่งออกหลายประเทศ

อย่างไรก็ตามความต้องการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งของกองทัพเรือไทยไม่ได้ระบุขีดความสามารถการใช้อาวุธเป็นสำคัญ ตามที่เน้นภารกิจภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) เป็นหลัก
นั่นหมายความว่า UAV ประจำฐานบินชายฝั่งที่กองทัพเรือจะจัดหาอาจจะไม่มีการติดหรือจัดหาอาวุธมาด้วย ซึ่งตัวอย่าง UAV ที่กล่าวมาก็มีรุ่นไม่ติดอาวุธ ต่างจากอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 สำหรับกองทัพบกไทยที่เป็นความร่วมมือระหว่าง DTI ไทยและ BEIHANG จีน
ที่กองทัพบกไทยระบุความต้องการระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 ว่าสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นได้ ซึ่งทั้งสองโครงการของสองเหล่าทัพเป็นเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทนาการความมั่นคง แม้ว่าจะถูกผู้ไม่หวังดีวิจารณ์ว่าทำไมใม่ใช้ UAV แบบเดียวกันก็ตามครับ




Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies SIAM DRY TECH COMPOSITE CO., LTD. Pims Technologies was demonstrated MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) take off and landing on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier.


Clip: Highlight of Royal Thai Army (RTA), Royal Thai Air Force (RTAF) and Royal Thai Navy domestic developed Unmanned Aerial Vehicles showcased at Thailand Research Expo 2021, 22-26 November 2021. 



การเสริมสร้างกำลังอากาศยานไร้คนขับของกองทัพเรือไทยร่วมถึงโครงการอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B โดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ร่วมกับเอกชนไทยคือ บริษัท SDT Composites และ บริษัท Pims Technologies
ซึ่งพัฒนาต่อจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS ที่มีการทดสอบไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html) ซึ่งมีการสาธิตการปฏิบัติการบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔
โดยมีขนาดใกล้เคียงกับอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ จำนวน ๖ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html) แต่ทำการบินขึ้นลงทางดิ่งได้เหมาะกับใช้บนเรือที่มีดาดฟ้าบินครับ








Defence Technology Institute (DTI) with Thaliand's company GCS GROUP CORPORATION CO., LTD. shocased Skyfront Perimeter 4, the Hybrid Electrical-Fuel Engine Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) at National Science and Technology Fair in 9-19 November 2021.

นาวาอากาศเอก คมสันต์  ประพันธ์กาญจน์ รอง ผอ.สทป. ผู้แทน ผอ.สทป. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน "มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564" 
โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ภายใต้แนวคิด "ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์" 
ภายในงาน สทป. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานระบบยานไร้คนขับ และศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ DTI – UTC

สทป. ได้นำระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริง UAV Simulation ระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งขนาดเล็ก Multi-Rotor รุ่น Skyfront (Perimeter 4) และระบบฝึกบินจำลอง (Simulator) มาจัดแสดง พร้อมทั้งให้ข้อมูลศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ DTI – UTC 
โดยมีเจ้าหน้าที่ สทป. เข้าร่วมให้ข้อมูล และ Workshop ให้แก่ผู้ที่สนใจ ในการนี้ พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. ได้ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมบูธ สทป. เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ประจำบูธ ณ บูธ สทป. ฮอลล์ 12 ภายในบูธกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 64

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมบูธ สทป. และงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ ฯ งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 19 พ.ย. 64 เวลา 9.00 - 19.00 น. ณ ฮอลล์ 9 - 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี

อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งขนาดเล็กแบบ Skyfront Perimeter 4 ในความร่วมมือระหว่าง DTI ไทยกับ บริษัท GCS Group ไทยซึ่งเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของ บริษัท Skyfront สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/dti-hybrid-skyfront-perimeter-4.html)
การเปิดตัวระบบอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์ผสม Hybrid Electrical-Fuel Engine ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ นี้ น่าจะเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของระบบ UAV นี้ต่อสาธารณชน ที่ได้รับความสนใจจากนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐ และเด็กเยาวชนที่เข้าชม
ระบบเครื่องผสมไฟฟ้า-เชื้อเพลิงน้ำมันนั้น มีข้อได้เปรียบที่สำคัญต่างจาก VTOL UAV ที่พัฒนาในไทยก่อนหน้าซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานจาก Battery ไฟฟ้าคือในขนาดที่ใกล้เคียงกัน VTOL UAV ระบบเครื่องยนต์ผสมจะมีระยะเวลาปฏิบัติการที่นานกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบพลังงานครับ




Thailand's Royal Thai Air Force (RTAF) has been named as the international launch customer for eight the Textron AT-6TH Wolverine light attack aircraft, with a USD143.4 million contract announced at the Dubai Airshow 2021 on 14 November.

RTAF Air Chief Marshal Chanon Mungthanya, after a flight in one of the T-6 aircraft Thailand has ordered from Textron Aviation Defense.



The new training aircraft for the Royal Thai Air Force will be flying with Rohde & Schwarz R&S M3AR software defined radios.

Dubai Airshow 2021: Thailand named as AT-6TH international launch customer

Textron ahead of schedule in completing RTAF T-6TH trainer aircraft order

โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา (AT-6) จำนวน ๘ เครื่อง

พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยเกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา รุ่น AT-6 ของกองทัพอากาศ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติตามที่กฎหมายกำหนด สาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ 

๑. เป็นการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา (AT-6) จำนวน ๘ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ ระบบสนับสนุนการฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อทดแทนเครื่องบินแบบ L-39 ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่า ๒๕ ปี และได้ปลดประจำการแล้ว 
สำหรับรองรับภารกิจการโจมตีทางอากาศ การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมถึงบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติกับหน่วยงานอื่น วงเงินงบประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านบาท (143,396,000 USD) 
ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณอาจมีความผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในห้วงนั้น (หากอ้างอิงตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันที่ ๑๖ พ.ย.๖๔ เป็นเงิน ๔,๖๘๘,๒๖๐,๕๒๒ บาท) ซึ่งเป็นโครงการผูกพันงบประมาณ ๕ ปี ระหว่างปี ๖๔ - ๖๘ 
๒. การพิจารณาเลือกเครื่องบินโจมตีแบบเบา AT-6 ของบริษัท Textron Aviation Defense LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อพิจารณาที่สำคัญประกอบด้วย ความประหยัด ในการส่งกำลังและซ่อมบำรุงจากการใช้อะไหล่ร่วมกันได้กับอากาศยานที่มีอยู่ก่อนแล้ว 
ระยะเวลาในการฝึกที่ลดลงเนื่องจากเป็นอากาศยานในตระกูลเดียวกับที่ใช้ฝึก แต่เพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้น และมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจบริเวณแนวชายแดนในการลาดตระเวนติดอาวุธ เป็นต้น 
๓. โครงการนี้กองทัพอากาศได้รับการคัดเลือกโครงการจัดซื้อจัดจ้างในการเข้าร่วมจัดทำข้อตกลงคุณธรรมจากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต และกรมบัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ 
และได้ดำเนินการลงนามข้อตกลงคุณธรรมความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่างกองทัพอากาศ หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ, ผู้ประกอบการ (บริษัท Textron Aviation Defense LLC สหรัฐอเมริกา) 
และคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๓ ท่าน (คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต)ประกอบด้วย พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ รศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร และ อาจารย์วิชา เมฆตระการ 
ทั้งนี้ คณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้ามาร่วมตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา โดยมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง พบว่า กองทัพอากาศดำเนินการได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส 
๔. ความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบันได้ดำเนินการในกระบวนการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว กองทัพอากาศได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อแล้ว เมื่อ ๒๔ ส.ค.๖๔ 

ทั้งนี้ โฆษกกองทัพอากาศ ยืนยันว่าการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา (AT-6) ในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อดำรงขีดความสามารถของกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติตามที่กฎหมายกำหนด 
การจัดหาทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส คำนึงถึงความคุ้มค่า และประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

การลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH จำนวน ๘เครื่องของกองทัพอากาศไทยวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) ที่บริษัท Textron สหรัฐฯประกาศในงานแสดงการบิน Dubai Airshow 2021 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วันที่ ๑๔-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ตามนโยบายจัดหาและพัฒนา(P&D: Purchase and Development) ระยะ ๑๐ปี(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ต่อเนื่องจากการจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ๑๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่มีพื้นฐานร่วมกัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11 ของรัฐบาลไทย ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมในโครงการของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยทั้ง บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries Co.,Ltd.) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย 

ขณะที่การจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH และเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH เป็นไปตามนโยบาย Common Fleet เพื่อลดแบบอากาศยานโดยให้มีความร่วมเช่นเดียวกัน และนโยบาย Purchase and Development ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศของไทย
ติดตั้งด้วยระบบอุปกรณ์และอาวุธที่ทันสมัยทั้งระบบวิทยุสื่อสาร Rohde & Schwarz R&S M3AR เยอรมนี ระบบ Avionic ห้องนักบิน Glass Cockpit และระบบควบคุมการยิงจาก CMC Electronics แคนาดา และ Lockheed Martin สหรัฐฯ โดยมีการถ่ายทอดวิทยาการประกอบและผลิตชิ้นส่วนในไทย
แม้ว่าทันสมัยระดับใช้ฝึกนักบินเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ได้ และมีขีดความสามารถการใช้อาวุธเกือบเท่ากับเครื่องบินโจมตี A-10C แต่ก็ยังถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณโจมตีอยู่ดีว่ากองทัพอากาศซื้อเครื่องบินรบสมัยสงครามโลกล้าสมัย ทั้งที่สองโครงการนี้สร้างงานให้คนไทยแท้ๆครับ




Airbus Helicopters have delivered new two of H225M (EC725) multirole helicopters serial 20309 and 20310 to 203rd Squadron, Wing 2 Lop Buri, Royal Thai Air Force (RTAF) in 24 November 2021.

เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) หมายเลข 20309 และ 20310 จำนวน ๒เครื่องที่ถูกส่งมอบให้ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองทัพอากาศไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ ทำให้จำนวนเครื่องในประจำการเพิ่มเป็นรวม ๑๐เครื่อง
ตามที่โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ระยะที่๔ ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) มีจำนวน ๔เครื่อง จึงเป็นที่เข้าใจว่าอีก ๒เครื่องจะถูกส่งมอบตามมาภายหลัง(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html) รวมเป็น ๑๒เครื่อง
เดิมการทดแทนฮลิคอปเตอร์ ฮ.๖ UH-1H ในฝูงบิน๒๐๓ ที่ปลดประจำการไปแล้วในเดือนกันยายน ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/uh-1h.html) มีความต้องการที่ ๑๖เครื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การจัดหา ฮ.๑๑ EC725 น่าจะยุติที่ ๑๒เครื่องเท่านั้นครับ


BTR-4CS-T (BTR-4KSh-T) wheeled armoured command post carrier vehicle for Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) at Kiev Armored Plant, Ukraine.


Thailand Defence Technology Institute (DTI) with Ukrainian Ukroboronprom, French Thales and Thai company Datagate wheeled armoured command post carrier (ACPC) or BTR-3CS 8x8 for Royal Thai Army (RTA).

Defence Technology Institute annouced winner for one vehicle of wheeled armoured for RTMC's mission (command post) is thailand company Datagate co.,Ltd. in 30 April 2021.
ประกาศสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะงานจ้างสร้างชิ้นส่วนระบบย่อยพร้อมประกอบรวมและทดสอบสมรรถนะการทำงานเบื้องต้นของยานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจของ นย. (ที่บังคับการ) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

จากรายงานภาพของยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-4CS-T 8x8 จำนวน ๑คัน สำหรับ นาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย วงเงิน ๑๐๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($3,159,796) ถูกประกอบเสร็จที่โรงงาน Kiev Armored Plant ในเครือ Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครน
ซึ่งจะมีการจัดส่งในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นี้ ตามที่นาวิกโยธินไทยมียานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 8x8 ใช้งานแล้ว ๑๒คัน ทำให้กองทัพเรือไทยจะเป็นลูกค้าส่งออกล่าสุดสำหรับยานเกราะล้อยางตระกูล BTR-4 ของยูเครน และเป็นอีกโครงการร่วมระหว่างกองทัพเรือและ DTI
แม้จะถูกวิจารณ์ว่าไม่น่าจะจัดหา BTR-4 เพื่อเพิ่มแบบรถให้ยุ่งยากในการส่งกำลังบำรุง แต่เช่นเดียวกับยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-3CS ที่ยูเครนพัฒนาร่วมกับ DTI และ Datagate ไทยสำหรับกองทัพบกไทย BTR-4CS-T จะเป็นต้นแบบที่ทันสมัยกว่า BTR-3CS ที่มีข้อจำกัดด้านโครงสร้างครับ




DTI and Chaiseri deliver First Win MRAP to the Bhutanese Government as they are the third international customer for the type after Malaysian and Indonesia.
15 vehicles consists of First Win II, First Win ALV, First Win Command, and Military ambulance and made ready for the United Nation's peacekeeping mission in Central African Republic.



วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2564) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) และบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์รับเบอร์ทำพิธีส่งมอบ ยานเกราะล้อยาง 4x4 จำนวน 15 คัน ให้กับรัฐบาลภูฏาน 
เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ในสาธารณะรัฐแอฟริกา ในห้วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564นี้ 
โดยรถในชุดนี้ประกอบด้วยรถในตระกูล First Win รุ่นต่าง ๆ 4 รุ่นคือ First Win II, First Win ALV, First Win Command (รถบัญชาการ) และ Military ambulance (รถพยาบาลสนาม) 
ทั้งหมดถูกผลิตตามความต้องการของกองทัพภูฏาน และการพ่นสีขาวและตราสัญลักษณ์ UN เพื่อความพร้อมในการจัดส่งปฏิบัติงานในนามสหประชาชาติทันที 
รถหุ้มเกราะขับเคลื่อน 4 ล้อในตระกูล First Win ประสบความสำเร็จในการได้รับการจัดเข้าประจำการในหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย ละสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ทั้งในมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และภูฏาน เป็นประเทศที่ 3

การส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ๑๕คันแก่รัฐบาลภูฏานเพื่อใช้ในภารกิจรักษาสันติภาพสหประชาชาติในแอฟริกากลาง ที่สามารถส่งมอบรถได้ภายใน ๔๕วัน โดย DTI และบริษัท Chaiseri ไทยยังได้จัดตั้งบริษัท Thai Defense Industry เพื่อสนับสนุนการส่งออกอาวุธของไทย
แต่แทนที่จะชื่นชมถึงความสำเร็จครั้งใหญ่ของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณกลับโจมตีโครงการนี้ตั้งแต่การทดสอบรถก็กล่าวหาว่ากองทัพจะทำรัฐประหารหรือจะให้ UN แทรกแซงสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้าน พอชี้แจงข้อเท็จจริงก็มารุมถล่มใส่
จนมาประกาศข่าวอย่างเป็นทางการก็เขียนข่าวทำนองว่าไทยไม่ซื้อของไทยทั้งที่จะให้เปล่าจนต้องไปส่งออก ทั้งที่ข้อเท็จจริงหน่วยงานรัฐรวมถึงกองทัพจะทำอะไรโดยที่ไม่มีกฎระเบียบรองรับไม่ได้เพราะจะมีปัญหาตามมา อีกทั้งรถเกราะพยาบาลที่จะมอบให้ก็ยังมีข้อบกพร่องไม่เหมาะในการใช้จริง

การจัดตั้งบริษัท Thai Defense Industry ระหว่าง DTI กับ Chaiseri เพื่อสนับสนุนการแข่งขันส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ไทยในโครงการของต่างประเทศอย่างเช่นฟิลิปปินส์ที่ระบุว่าต้องการข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐ กลับถูกต่อว่า DTI เข้ามาเอาหน้าทั้งที่ไม่ใช่ผลงานตัวเอง ซึ่งไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงเลย
ที่ผ่านมาจะมีการนำเสนอข้อมูลในทำนองว่าการจัดหายุทโธปกรณ์ของหน่วยงานรัฐจากต่างประเทศนั้นคู่กับ 'เงินทอน' จึงไม่เอาของที่ผลิตในไทยมากตลอด เรื่องนี้ตรงข้ามกับความจริงที่ว่าของในไทยนี่ละคุยตกลงเรื่องโกงง่ายกว่าต่างประเทศเช่นชาติตะวันตกที่มีการตรวจสอบหลายๆภาคส่วนมาก
หรือที่บอกว่าหน่วยงานรัฐกลัวคนไทยมาหากินกับรัฐแต่ไม่กลัวต่างประเทศมาหากินกับรัฐนี่ก็ไม่ค่อยถูกต้อง เพราะหลายบริษัทของไทยก็ทำงานกับภาครัฐมาตลอดแม้ว่าบางผลงานจะไม่เป็นที่พอใจของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจริงนักก็ตาม และก็เคยมีกรณีหลอกหลวงอย่าง 'รุ่งไพศาล' มาแล้วด้วยครับ

(เมื่อเกือบ ๔๐ปีก่อน บริษัท รุ่งไพศาล เคยประชาสัมพันธ์ตนเองแก่หน่วยงานรัฐของไทยว่าตนผลิตอาวุธปืนเล็กยาว Rung Paisarn RPS-001 ขนาด 5.56x45mm ที่ออกแบบเองในไทยเสนอขายให้ทหาร-ตำรวจไทยใช้ ซึ่งถูกลงข่าวในหลายๆสื่อเป็นที่ชื่นชมในการพึ่งพาตนเองของคนไทยในช่วงนั้น 
แต่ความจริงปรากฎภายหลังว่าปืนที่ว่านี้คือปืนเล็กยาว vz. 58 ของ CZ เช็กโกสโลวาเกียรุ่นที่ขายในตลาดพลเรือน(ผลิตโดย Czech Small Arms) แต่เปลี่ยนรูปแบบการยิงจากกึ่งอัตโนมัติมาเป็นอัตโนมัติเท่านั้น และเป็นการนำเข้าชิ้นส่วนจากนอกประเทศเกือบทั้งหมดแทบไม่มีอะไรที่ทำในไทยเลย 
เจ้าของบริษัทจึงถูกดำเนินคดีข้อหานำเข้าอาวุธโดยผิดกฎหมายไป แต่เรื่องนี้เมื่อเวลาผ่านไปนานกลับถูกนำเสนอไปในทางที่ว่าหน่วยงานความมั่นคงของไทยกลั่นแกล้งเอกชนไทยทำให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศไม่เติบโตเพราะจะซื้อของต่างประเทศ ทั้งที่หน่วยงานรัฐเป็นฝ่ายเสียหายชัดๆครับ)