วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผู้นำกองทัพอากาศไทยยืนยันเจตนารมณ์ที่มองจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯเพื่อทดแทน F-16




Drawing three views of the USAF Lockheed Martin F-35A Lightning II fighter aircraft. (Great-Jimbo https://www.deviantart.com/great-jimbo)








Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-16A Block 15 OCU with SUU-20 practice bomb and rocket dispenser of 103rd Squadron, Wing 1 Korat in early days of  Air Tactical Operations Competition 2022 at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 3-5 December 2021.




Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force give the intent during the Workshop "Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force" in 16-17 December 2021, to replace current RTAF's F-16A/B 4th generation fighters with F-35 5th genneration fighters in future.

แอดมีภาพมาฝากจ้า...ภาพระหว่างการแข่งขันปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.2565 ในห้วง3วันเเรก.... พี่ๆนักบิน ตั้งใจฝึกซ้อมสำหรับการเเข่งขันครั้งนี้มากๆเลยนะบอกเลย ไปดูกันเลยจ้า....

ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” 
พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” โดยมีผู้แทนเหล่าทัพ และข้าราชการเข้าร่วมการสัมมนาฯ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ หอสมุดกองทัพอากาศ  
สําหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดของการใช้กําลังทางอากาศทั้งระบบ โดยนําประสบการณ์ บทเรียน รวมทั้งการฝึก และการใช้กําลัง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ 
เพื่อกําหนดความสามารถที่ต้องการโดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันของหน่วยเกี่ยวข้อง และเหล่าทัพ ซึ่งจะนําไปสู่จุดหมายปลายทางในการใช้กําลังของกองทัพอากาศ ในการทําสงครามและนอกเหนือจากสงคราม 
เพื่อยกระดับขีดความสามารถสู่การเป็น “Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force” 
ทั้งนี้กองทัพอากาศได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ของการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนผู้แทนจากกองทัพไทยและเหล่าทัพ ที่จะได้ร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองในการปฏิบัติภารกิจ ในการเตรียมกําลังอันจะนําไปสู่แนวทางในการปฏิบัติการร่วม บนพื้นฐานความเข้าใจและเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะมีผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ผู้บัญชาการทหารอากาศมอบเจตนารมณ์ในการพัฒนากองทัพอากาศ
พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศเปิดเผยว่า พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศได้มอบเจตนารมย์ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Cutting Edge Air Operation for The Quality Air Force” 
เพื่อนำไปกำหนดแนวทางการใช้กำลังทางอากาศและยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในระยะต่อไป
โดยผู้บัญชาการทหารอากาศได้กล่าวว่า กำลังทางอากาศเป็นกำลังรบที่สำคัญในสงครามยุคใหม่ ดังนั้นกำลังทางอากาศจึงแพ้ไม่ได้ ปัจจัยที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่  
1. การมียุทโธปกรณ์ที่ใช้งานดีและมีคุณภาพสูง ซึ่งจะนำไปสู่การแพ้ไม่ได้
2. การมีการส่งกำลังบำรุงที่ดีควบคู่ไปกับยุทโธปกรณ์ที่ดี เพื่อให้การบำรุงรักษาทำได้สะดวกใช้เวลา กำลังคนและทรัพยากรน้อย
3. กองทัพอากาศต้องมีความน่าสะพรึงกลัว ต้องมียุทโธปกรณ์ที่น่าสะพรึงกลัว ไม่ใช่มีแต่ยุทโธปกรณ์ที่เก่า ล้าสมัย
4. มีความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศยนอกประเทศได้ เพื่อร่วมกับมิตรประเทศในการปกป้องผลประโยชน์หรือรักษาความมั่นคงในภูมิภาค ไม่เป็นกองทัพอากาศที่โดดเดี่ยว
ดังนั้นการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพอากาศจึงต้องพิจารณาความต้องการเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดที่มีอยู่ ให้มีจำนวนที่เหมาะสมในการประกอบกำลังเพื่อการฝึกหรือการปฏิบัติการต่าง ๆ 
และเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จำเป็นต้องมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนของเดิมที่เก่า ล้าสมัย ซ่อมบำรุงยากและไม่คุ้มค่า รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการบิน ซึ่ง F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันของหลายประเทศ ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ 
ซึ่งปัจจุบันราคาของ F-35 ลดลงจากเดิมมากราคาใกล้เคียงหรืออาจต่ำกว่า Gripen ที่กองทัพอากาศเคยจัดหามา จึงมีโอกาสที่กองทัพอากาศจะจัดหามาประจำการได้ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศคำนึงถึงความพร้อมทางด้านสถานภาพงบประมาณของประเทศในปัจจุบันด้วย
นอกจากนี้การฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ ต้องมีการพิจารณาจัดหาเครื่องบินฝึกให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแบบเครื่องบินขับไล่ขั้นต้นที่มีอยู่ เพื่อลดระยะเวลาในการศึกษาระบบอากาศยานขับไล่ที่เป็นเครื่องตระกูลเดียวกัน 
ตลอดจนให้นักบินมีเวลาในการศึกษาระบบอาวุธและอุปกรณ์สำคัญในเครื่องบิน พร้อมจัดหาเครื่องจำลองการบิน (Flight Simulator) เพื่อให้ศิษย์การบินได้เพิ่มทักษะทางการบินกับเครื่องจำลองการบินโดยไม่ต้องทำการบินกับเครื่องบินฝึก 
ในการสำเร็จการฝึกอบรมไปเป็นนักบินต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้ได้นักบินที่มีคุณภาพไปบินกับเครื่องบินที่มีคุณภาพต่อไป
ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและดำรงขีดความสามารถของกำลังทางอากาศตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อการรักษาอธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ชาติ ตลอดจนใช้เงินงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 21 ธันวาคม 2564

การประกาศเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งมีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญโดย พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นการยืนยันอีกครั้งว่ากองทัพอากาศไทยมองที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF(Air Defense Fighter) ฝูงบิน๑๐๒ และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราชของตน(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html)
ด้วยเครื่องบินไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ภายในสิบปีข้างหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35.html) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบเดียวในปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จในการผลิตส่งออกเข้าประจำการจริงแล้วเป็นจำนวนมากทั่วโลก

ในเดือนสุดท้ายของปี 2021 เครื่องบินขับไล่ F-35A ประสบความสำเร็จในฐานะผู้ชนะโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ HX ของฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a-hx.html) ทำให้ยอดสั่งจัดหาล่าสุดมีมากกว่า ๓,๐๐๐เครื่อง และส่งมอบไปแล้วมากกว่า ๗๓๐เครื่อง
นับตั้งแต่ที่มีการผลิตเครื่องชุดทดสอบจริงเครื่องแรกในปี 2006 และเข้าประจำการมา ๑๕ปี F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ปลอดภัยมากที่สุดแบบหนึ่ง โดยอุบัติเหตุตกที่เกิดจนถึงขณะนี้มีเพียงห้าครั้งเท่านั้น และมีนักบินเสียชีวิตเพียงรายเดียวคือกรณี F-35A ญี่ปุ่นตกทะเลในเดือนเมษายน 2019
ซึ่งสาเหตุของส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดของมนุษย์(Human Error) รวมถึงกรณีเครื่องบินขับไล่ F-35B กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ตกขณะกำลังบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth ในทะเล Mediterranean เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 
(สาเหตุมาเจ้าหน้าที่บนดาดฟ้าบินเรือที่อยู่ระหว่างการฝึกร่วมกับ F-35B ของกองทัพอากาศอิตาลีและกองทัพเรืออิตาลี และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ลืมถอดแผ่นปิดช่องรับอากาศเข้าเครื่องยนต์ทำให้ชิ้นส่วนถูกดูดเข้าไปสร้างความเสียหายจนเครื่องเสียกำลังขับและตกทะเล นักบินดีดตัวได้และปลอดภัย)

แต่อย่างไรก็ตามถ้าสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอีกไม่ต่ำกว่าหลายทศวรรษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดงบประมาณกลาโหมของไทยลงมาต่อเนื่องแล้วหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
กองทัพอากาศไทยไม่น่าจะประสบความสำเร็จในการตั้งโครงการจัดหาอากาศยานหลักทดแทนใดๆได้เลยในตลอดทศวรรษปี 2020s นี้ ตามแผนที่เคยประกาศไว้ใน RTAF White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ที่ขณะนี้ก็ไม่เป็นไปตามแผนจำนวนหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๗ บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) หรือโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่อาจจะเริ่มต้นได้จริงในการทดแทน F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ซึ่งถ้ามีการลงนามจัดหาก็น่าจะได้รับเครื่องชุดแรกช่วงต้นทศวรรษปี 2030s ถ้ายังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕-๔.๗๕ เช่น F-16V, Gripen E หรือ KF-21 Block I อยู่นั้น
ผู้เขียนมองว่าเมื่อเข้าสู่ปี 2030s เครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๔.๕-๔.๗๕ เหล่านี้จะไม่มีขีดความสามารถรองรับภัยคุกคามในอนาคตได้อีกต่อไป หรือกล่าวได้ว่าเครื่องบินขับไล่ที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ จะไม่มีโอกาสรอดในสงครามทางอากาศในปี 2030s อีกต่อไป
ดังนั้นขณะที่ช่วงปี 2030s ที่กองทัพอากาศสิงคโปร์น่าจะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B เข้าประจำการแล้ว อาจจะมีประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ เข้าประจำการเพิ่มก็ได้ เช่น Su-57 และ Su-75 รัสเซีย, KF-21 Block II สาธารณรัฐเกาหลี และ FC-31 จีน

ทำให้กองทัพอากาศไทยอาจจะเลือกอดทนรอให้ตนมีความพร้อมในการจัดหา F-35A เพื่อทดแทน F-16 ที่มีทั้งหมด ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ การลดขนาดกำลังพลในกองทัพ และแนวคิดการทวีกำลังรบที่เริ่มมาตั้งแต่การจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D 
มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ในปี 2030s จำนวนเครื่องบินขับไล่ขั้นต่ำในฝูงบินขับไล่โจมตีอาจจะเหลือเพียงฝูงละ ๘เครื่อง เช่นการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน ๑๐๒ ๑๖เครื่อง และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน ๑๐๓ ๒๕เครื่อง อาจจะเหลือเพียง ๑ฝูงบิน ๘+๔เครื่อง(ทางเลือก)เท่านั้น
อย่างไรก็ด้วยแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคนี้ในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะบีบบังคับให้กองทัพอากาศไทยเลือกจัดหาอากาศยานที่ดูจะมีประโยชน์ในการตอบสนองภารกิจที่ตอบสนองต่อความพอใจของประชาชนมากกว่า เช่นการบรรเทาภัยพิบัติและสาธารณภัยต่างๆ

เช่นว่าท้ายที่สุดกองทัพอากาศไทยอาจจะเลือกที่จะผลักดันโครงการเครื่องบินลำเลียงใหม่เท่านั้นไม่มีเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ หรือภัยคุกคามอุบัติใหม่ของไทยอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบกองกำลังติดอาวุธตามแบบของต่างชาติ ที่มีการจัดกำลังไว้เตรียมรับมือเช่นแผนปฏิบัติการต่างที่มีในปัจจุบัน 
แต่อาจจะกลับไปสู่การก่อความไม่สงบด้วยอาวุธจากกลุ่มภายในประเทศที่ไม่มีโครงสร้างระบุได้ชัดเจนเช่นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในอดีตก็ได้(คาดว่าการสร้างสถานการณ์จะเริ่มขึ้นภายในราวปี 2023-2024 ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่มีแนวคิดเป็นภัยความมั่นคงกำลังทำการปลุกระดมมวลชนอยู่)
ตอนนั้นกองทัพอากาศไทยอาจจะมองการจัดหาอากาศยานที่ตอบสนองต่อภัยคุกคามลักษณะนี้อย่างเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html) และอากาศยานไร้คนขับ UAV(Unmanned Aerial Vehicle) มากกว่าเครื่องบินขับไล่ F-35 ก็ได้ครับ