วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เรือหลวงกระบุรี กองทัพเรือไทยฝึกผสม PASSEX กับเรือฟริเกต F239 HMS Richmond อังกฤษในทะเลอันดามัน




















On 24th July, HMS Richmond will enter Thailand’s territorial waters to conduct a maritime military exercise with the Royal Thai Navy's FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya-class guided missile frigate and Sikorsky S-76B helicopter. 
This will be first engagement of the UK Carrier Strike Group with an ASEAN nation.

การฝึกผสม PASSEX ระหว่างราชนาวีไทย กับกองทัพเรือสหราชอาณาจักร 
วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เรือ HMS Richmond (F239) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกองเรือ Carrier Strike Group ของสหราชอาณาจักร ได้มุ่งหน้าเข้าสู่เขตน่านน้ำประเทศไทยเพื่อทำการฝึกทางการทหารร่วมกับกองทัพเรือไทย 
ทั้งนี้ ทัพเรือภาคที่ 3 ซึ่งได้รับมอบภารกิจจากกองทัพเรือ ในการจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกผสม PASSEX ร่วมกับเรือ HMS Richmond (F239) ในวันนี้ 
และได้จัดเรือหลวงกระบุรี และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 (S-76B) เข้าร่วมการฝึก โดยประเทศไทยนับว่าเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ได้มีกิจกรรมร่วมกับกองเรือนี้ โดยไม่มีการจอดเรือเทียบท่า

พื้นที่การฝึก ได้กำหนดให้อยู่ในขนาด 30x30 ไมล์ทะเล ตอนใต้ของหมู่เกาะสิมิลัน นอกเขตชายฝั่งของจังหวัดพังงา และมีหัวข้อการฝึกดังนี้
- การฝึกแปรกระบวนเรือ (MANEX) 
- การฝึกธงสองมือ (SEMAPHORE)
- การฝึกถ่ายภาพ (PHOTOEX)

HMS Richmond (F239) เป็นเรือฟรีเกต Type 239 ประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 1993 ขนาดระวางขับน้ำ 4,900 ตัน สามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ ด้วยระบบอาวุธที่ครบครัน Anti-air missiles, Anti-ship missiles, Anti-submarine torpedoes 
นับว่าเป็นเขี้ยวเล็บที่แข็งแกร่งของกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร
โดยการเดินทางมาของเรือ HMS Richmond ในครั้งนี้ เป็นการเยือนไทยอีกครั้งหนึ่งของเรือรบจากสหราชอาณาจักรตั้งแต่เรือ HMS Daring เข้าเยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2557 
และประเทศไทยนับเป็นชาติแรกในอาเซียน ที่ได้มีกิจกรรมร่วมกับกองเรือ Carrier Strike Group ในตารางการเยือนทั่วโลกครั้งนี้
เรือ HMS Richmond เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือ Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนับเป็นการส่งกองกำลังทางน้ำและทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุด ที่ออกเดินทางจากสหราชอาณาจักรในห้วงหลายสิบปีนี้ 

โดยกองเรือ Carrier Strike Group นั้น นำทัพโดยเรือ HMS Queen Elizabeth เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีกำลังสูงสุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ออกเดินเรือปฏิบัติการครั้งแรกในภารกิจนี้ 
ในกองเรือประกอบไปด้วยเรือผิวน้ำ 9 ลำ อากาศยาน 32 ลำ และกำลังพลทั้งหมด 3,700 นาย
กองเรือ Carrier Strike Group แล่นออกจากท่าเรือเมืองพอร์ทสมัธ ในสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นับเป็นการเริ่มออกเดินทางทั่วโลกโดยแท้จริง เมื่อเดินทางกลับสู่สหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคมนี้ 
กองเรือจะเดินทางรวมกว่า 26,000 ไมล์ทะเล ครอบคลุมเส้นทางจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดทะเลแดง จากอ่าวเอเดนจรดทะเลอาหรับ และจากมหาสมุทรอินเดียจรดทะเลฟิลิปปินส์ ก่อนจะแล่นกลับสู่สหราชอาณาจักร 
กองเรือ Carrier Strike Group จะเยือน 40 ประเทศตลอดการเดินทางนี้ และมีกิจกรรมร่วมกับประเทศพันธมิตรกว่า 70 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการฝึกซ้อมทางทหารและภารกิจอื่น ๆ
โดยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ กองเรือ Carrier Strike Group จะออกปฏิบัติการในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยเดินทางผ่านทวีปเอเชีย เข้าสู่ช่องแคบมะละกาเพื่อเดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่น 
ตามแผนเดิมเรือ HMS Queen Elizabeth มีจุดแวะพักสำคัญในภูมิภาคนี้คือประเทศสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดีย ขณะที่เรือร่วมขบวนลำอื่น เช่น เรือ HMS Richmond จะมีกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคและในอาเซียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของสหราชอาณาจักร

สำหรับประเทศไทย การฝึกผสม PASSEX ระหว่างเรือหลวงกระบุรี และ เรือ HMS Richmond ในครั้งนี้ เป็นการฝึกบนเรือของแต่ละประเทศ โดยไม่มีการนำเรือมาเข้าใกล้กันโดยเด็ดขาด แต่จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในด้านความมั่นคง 
ส่งผลให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผ่านการฝึก และการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทั้ง 2 ประเทศได้มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะป็นการปฏิบัติการสันติภาพในระดับนานาชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย วิชาการแพทย์ทหาร รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ เป็นต้น

กองเรือ Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักรที่เดินทางมาเยือนครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าสหราชอาณาจักรกำลังหันมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อย่างชัดเจน ซึ่งภูมิภาคนี้มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง 
โดยจากข้อมูลพบว่า มีประชากรสหราชอาณาจักรกว่า 50,000 คน ที่อยู่ในประเทศไทย และทศวรรษที่จะถึงนี้ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จะเป็นใจกลางของความท้าทายครั้งใหญ่ระดับโลกมากมายหลายด้าน 
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางทะเล และการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกับระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ สหราชอาณาจักรจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก 
ทัพเรือภาคที่ 3 ขอต้อนรับกองเรือ Carrier Strike Group เข้าสู่น่านน้ำประเทศไทย ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นที่เรามีร่วมกันในการสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
ภาพโดย S-76B 





ปัจจุบัน(๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)) กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Carrier Strike Group 21(CSG21) กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) ที่นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth รวมกับเรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือสนับสนุนต่างๆ
ที่วางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)
ได้ผ่านช่องแคบมะละกาน่านน้ำสิงคโปร์แล้ว โดยเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๖๔ กองเรือ CSG21 ก็ได้ทำการฝึก PASSEX กับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) อีกมิตรประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN เช่นกัน

การแสดงกำลัง(Projection Forces) ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี CSG21 เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายความมั่นคงของสหราชอาณาจักร ในการแสดงการวางกำลังรบทางทหารได้ทั่วโลกในชื่อ Global Britain(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-35b.html)
โดยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่รวมถึงกลุ่มชาติ ASEAN สหราชอาณาจักรได้ให้ความสำคัญในการทบทวนอย่างบูรณาการของนโยบายความมั่นคง, กลาโหม, การพัฒนา และการต่างประเทศ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_18.html)
ที่มุ่งเป้าที่การเสริมสร้างการค้าด้านกลาโหมและการมีส่วนร่วมด้านอุตสาหกรรมกับหุ้นส่วนในภูมิภาคที่รวม อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐเกาหลี, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมถึงการตอบสนองต่อการเพิ่ม "การแสดงพลังอำนาจ" ระดับนานาชาติของจีนครับ