วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กรมทหารราบที่๓๑ รักษาพระองค์ฯ กองทัพบกไทยฝึกโดดร่มทางยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ








Strategic Airborne Operation
23 July 2021, Paratroopers from across the Division conducted a jump alongside their Allies in the Royal Thai Army and conducted a wing exchange! The 82nd Airborne Division never fights alone and training like this enhances our Airborne Interoperability!










Airborne soldiers of 31st Infantry Regiment Royal Guard, 1st Division Royal Guard, Royal Thai Army static jump (T11 parachute) training with Airbus C295 transport aircraft in 7 July 2021, prepared to joint strategic jump with US Army and Indonesian Army in USA.

ผบ.ทบ. ตรวจความพร้อมและให้โอวาทแก่กองร้อยส่งทางอากาศ กองทัพบกไทย ในการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ทบ.สหรัฐฯ 
วันนี้ (7 ก.ค.64) ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ พร้อมคณะผู้บังคับบัญชา เดินทางมายังพื้นที่ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จ.ว.ลพบุรี เพื่อตรวจความพร้อม และให้โอวาทแก่กองร้อยส่งทางอากาศ 
โดยมี พันเอกยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ ผบ.ร.31 รอ. ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำการกระโดดร่มในครั้งนี้ด้วย 

การฝึกในครั้งนี้ กองทัพบกอนุมัติให้ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังพล  จำนวน 114 นาย เข้ารับการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ในห้วงวันที่ 11-26 ก.ค. 64 ณ Fort Bragg รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับหน่วยกองพลทหารราบส่งทางอากาศ 
เนื่องจากมีสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ของโควิด 19 จึงทำให้ต้องยกเลิกการฝึกการกระโดดร่มร่วมในระดับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ ภายใต้รหัสการฝึก Cobra Gold แต่ทาง ทบ.สหรัฐ ยังมีความประสงค์ที่จะยังคงการฝึกการกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์นี้อยู่ 
จึงขอให้ ทบ.ไทย จัดกำลังเพื่อร่วมโดดร่มทางยุทธศาสตร์ระหว่างหน่วยของ ทบ.ด้วยกันต่อไป 
การกระโดดร่มครั้งนี้จึงเป็นการฝึกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ทบ.ไทย และ ทบ.สหรัฐ โดยใช้กำลังจาก ร.31 รอ. และยังสร้างประสบการณ์ สร้างความคุ้นเคยในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน รวมไปถึงประเทศในภูมิภาคคือประเทศอินโดนีเชียอีกด้วย 

ผบ.ทบ. กล่าวในตอนหนึ่งต่อกำลังพล เน้นย้ำว่า 
“…ทหารพลร่มคือทหารที่มีวินัยที่สุด หน่วยส่งทางอากาศ ทบ. ดำรงภารกิจที่หลากหลาย หลักสูตรส่งทางอากาศจึงเป็นหลักสูตรที่จำเป็นและสำคัญต่อทหารเหล่ารบทุกนาย…”
ในการฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกในสถานการณ์พิเศษที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ดังนั้น กำลังพลทุกนายที่ไปฝึก ต้องมีวินัย รักษามาตรการการปฏิบัติตนตาม ศบค.อย่างเคร่งครัด กำลังพลทุกนายที่ได้รับโอกาสในการเป็นตัวแทน ทบ. 
ไปฝึกในครั้งนี้ ต้องรักษาวินัย เพราะการรักษาวินัย คือ หัวใจของทหารพลร่ม
ขอให้กำลังพลทุกนายตั้งใจและนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับ นำมาพัฒนาปรับปรุงกองทัพได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ นำพาเกียรติยศและชื่อเสียงกลับสู่ประเทศไทยต่อไป

"ร่มทางยุทธวิธี"  
ทหารพลร่มถือว่าเป็นนักรบชั้นยอด เพราะสามารถทำการรบได้ในทุกพื้นที่ การโดดร่มถือเป็นยุทธวิธีที่กองทัพทั่วโลกต้องฝึกฝน... 
วันนี้แอดจะพามารู้จักร่มที่ พี่ๆทหารใช้โดดแบบสายดึงประจำที่ (Static line) ทางการทหารเรียกว่า “ร่มบุคคลโดดทางยุทธวิธี” หรือที่เรียกกันว่า
ร่มกลมนั่นเอง สำหรับร่มที่ใช้ในกองทัพบกไทยนั้น จะมีอยู่ 2 ตระกูลหลักๆคือ ร่มตระกูล T ไม่มีช่องผ่าทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไม่ได้ เหมาะใช้โดดเป็นกลุ่มก้อนในภารกิจจู่โจมหมู่ และร่มตระกูล MC มีช่องผ่าด้านหลังทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้ดี 
โดยแต่ละร่มมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 

ร่ม T-10 เป็นร่มชูชีพทางยุทธวิธี ทำงานด้วยสายดึงประจำที่เพดานร่มทำด้วยผ้า LO -PO RIPSTOP NYLON ไม่มีช่องผ่าเป็นรูปค่อนวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต  อัตราการตก16.37 –22.7 ฟุต/วินาที น้ำหนักเมื่อพับแล้ว 31 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 260 ปอนด์ 
สำหรับร่มช่วย ทำงานโดยผู้ดึงห่วงให้ร่มกางเอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ฟุต กางเป็นรูปครึ่งวงกลม รับน้ำหนักได้ 200 – 240 ปอนด์ อัตราการตกประมาณ 16 – 24 ฟุต/วินาที น้ำหนักเมื่อพับแล้ว 12 ปอนด์ 

ร่ม  T-11 เป็นร่มชูชีพทางยุทธวิธีรุ่นล่าสุด ได้รับการพัฒนาทั้งระบบคือ พัฒนาร่มช่วย (T – 11R ) ควบคู่กันไปด้วย พร้อมกับสายรัดตัว (Superrier harness) และตัวร่ม(Canopy) เพื่อให้ทดแทนร่ม T-10 ที่ใช้งานมากว่า 50 ปี โดยออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานทั้งทหารที่มีร่างกายเล็กหรือใหญ่ได้ เพดานร่มทำด้วยผ้า LOW – POROCITY เป็นร่มที่มีโครงสร้างแบบกากบาท มีลักษณะแบบสี่เหลี่ยมคล้ายกระทงขนมครก ( Cross/Cruciform platform) สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก (ราว 400 ปอนด์)  มีแรงกระตุกและการแกว่งลดลง ลดแรงกระชากในขณะเปิดร่ม 
โดยใช้การทำงานร่วมกันของ Sleeve และSlider ตัวร่มจะถูกห่อด้วย Sleeve อีกชั้นหนึ่ง เมื่อสายดึงประจำที่ดึงถุงร่มให้แตกออก ร่มนำจะดึงให้ Sleeve หลุดออกก่อน แล้วตัวร่มจึงจะเริ่มกินลม กางออก และตัว Slider จะคอยควบคุมปริมาณการไหลเข้าของอากาศ ในส่วนล่างของตัวร่ม 
ขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มขึ้นมาทำให้การใช้เวลาในการกางเพิ่มขึ้น 2วินาที จาก 4 เป็น 6 วินาที มีขนาดใหญ่กว่า T-10 28% แต่มีน้ำหนักมากกว่าเพียง 7 ปอนด์ 

ร่ม T-11R เป็นร่มช่วยพัฒนาต่อจากร่มทางยุทธวิธีของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความสามารถในการกางอย่างสมบูรณ์ ในความสูงระดับต่ำ เป็นร่มขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปกรวยคล้ายขนมครก อัตราการตกต่ำกว่า 27 ฟุต/วินาที 
ห่วงดึงฉุกเฉินติดไว้ตรงกลาง เพื่อสะดวกในการ ใช้มือข้างใดก็ได้ในการกระตุก 

ร่ม MC1-1B/NS ทำงานด้วยสายดึงประจำที่ (Static line) กางเป็นรูปค่อนวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต สามารถพาผู้โดดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยความเร็ว 6-8 น๊อต(1 น๊อต=0.51ม./วินาที) ในความเร็วลมเป็นศูนย์ มีอัตราการตก 15.37 -22.7 ฟุต/วินาที 
เพดานร่มทำด้วยผ้า LO - PO RIPSTOP NYLON มีช่องผ่าและมีสายบังคับ 2 เส้น  ทำให้สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของร่มได้ มีน้ำหนัก 31 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 250 ปอนด์ 

ร่ม MC1-1C/NS ทำงานด้วยสายดึงประจำที่กางเป็นรูปค่อนวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต เป็นการพัฒนามาจากร่ม MC1-1B/NS โดยเปลี่ยนผ้าเพดานร่มเป็นผ้า LOW – POROCITY ซึ่งมีอัตราการผ่านของอากาศน้อยกว่า ทำให้อุ้มลมมากขึ้น 
เปิดช่องตรงกลางยอดร่มด้านบน เพื่อลดอาการแกว่งของร่ม เพิ่มช่องผ่าเป็น 17 ช่องผ่าเพื่อช่วยพยุงร่มให้มีความนิ่งและตอบสนองต่อการบังคับร่มทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้ง่ายและเร็วขึ้น 
จุดเด่นของร่มชนิดนี้คือ มีการแกว่งลดลงมาก อัตราการตกลดลง และตอบสนองต่อการบังคับร่มได้รวดเร็วขึ้น ทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นด้วย อัตราการตก 14-18 ฟุต/วินาที ร่มเมื่อพับแล้วมีน้ำหนัก 29 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 300 ปอนด์ 

สำหรับร่มที่ใช้ในกองทัพบกไทย นั้นแต่ก่อนใช้การจัดซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากกองทัพบกได้เล็งเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณสูง และไม่เป็นการพึ่งพาตนเอง จึงได้ให้ทำการผลิตร่มใช้เอง ดำเนินการโดยโรงงานผลิตร่มและสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ 
กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการกรมพลาธิการทหารบก ตั้งแต่ พ.ศ.2523 โดยผลิตร่ม T-10, MC1-1B/NS,MC1-1C/NS ถึงแม้ในบัจจุบันร่มT-10และMC1-1B/NS จะปลดประจำการแล้ว
กองทัพบกยังมีโครงการวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือว่า กรมพลาธิการทหารบก เป็นหน่วยที่มีขีดความสามารถในการผลิตร่มหนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว เมื่อผลิตแล้วก่อนนำไปโดด ร่มทุกตัวที่ผลิตแล้ว จะต้องนำไปตรวจสอบและทดสอบการใช้งานก่อน 
จากนั้นจะดำเนินการพับร่มประกอบครบชุดจนเสร็จสมบูรณ์  ซึ่งผู้พับร่มจะต้องมีความรู้ ในเรื่องร่มชูชีพเป็นอย่างดี  และต้องผ่านหลักสูตรพับร่มซ่อมบำรุง และส่งกำลังทางอากาศ (Rigger) ซึ่งเป็นหลักสูตรของกรมพลาธิการทหารบก 
ก่อนจะส่งมอบให้ กองทหารพลาธิการ ส่งกำลังทางอากาศ ฯ เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายสนับสนุนให้กับหน่วยใช้ร่มในกองทัพบกต่อไป
ยังมีร่มที่ใช้ในยุทธวิธีในการแทรกซึมทางอากาศ HALO HAHO ไว้ครั้งหน้าแอดจะหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังนะครับ
ขอบคุณข้อมูล จาก พ.ท.อภิวัฒน์  ทุมวงษ์ หน.รง.ผลิตร่มและสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก

แม้ว่าผลจากการแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 จะทำให้การฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2021 ในห้วงปร พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นี้มีการปรับเปลี่ยนกำหนดการและรูปแบบขนาดการฝึกเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งฝั่งกองทัพไทยและกองทัพสหรัฐฯ
แต่การฝึกโดดร่มทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพบกไทยส่งกำลังพลจาก กรมทหารราบที่๓๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่๑ ซึ่งเป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว(RDF: Rapid Deployment Force) ซึ่งมีขีดความสามารถการส่งทางอากาศ
ไปรับการฝึกจากกองพลส่งทางอากาศที่82 (82nd Airborne Division) 'All American' ที่ค่าย Fort Bragg มลรัฐ North Carolina สหรัฐฯช่วงวันที่ ๑๑-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ นั้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารอันดีระหว่างไทยและสหรัฐฯ 

กองทัพบกสหรัฐฯยังได้ดำเนินการฝึกโดดร่มมทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกันกับกำลังพลจากกองทัพบกอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอีกมิตรประเทศในกลุ่ม ASEAN ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพสหรัฐฯให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความั่นคงในภูมิภาคนี้
การเตรียมตัวในไทยและการฝึกที่สหรัฐฯ ของ ร.๓๑ รอ.ยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาควาทันสมัยของปฏิบัติการส่งทางอากาศของกองทัพบกไทย เช่น การนำร่มชูชีพทางยุทธวิธีแบบ T-11 แบบใหม่มาใช้ในการโดดจากเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W
รวมถึงเครื่องแบบ เครื่องสนาม และอุปกรณ์ประจำกายที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยเหมาะสมต่อการใช้งานจากการเรียนรู้กับกองทัพต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงขีดความสามารถของทหารบกไทยต่อมิตรประเทศในระดับนานาชาติด้วยครับ