วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ความเข้าใจผิดเรื่อง ski-jump และอากาศยานไร้คนขับ UAV กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร




Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet with two Bell 212, one Sikorsky SH-60B Seahawk and one Airbus Helicopters H145M at Sattahip Naval Base prepared for Humanitarian Aid and Disaster Relief (HADR) mission from Tropical Storm Pabuk, January 2019.



Royal Thai Navy's Helicopter Carrier CVH-911 HTMS Chakri Naruebet with Helicopter aboard on Flight Deck in all landing station

ผบ.ทร. สั่งการให้ยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด โดยมอบหมายให้ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณะภัยทางทะเล กองทัพเรือ เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโซนร้อน “ปาบึก”
การยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุดในครั้งนี้ ประกอบด้วย
- เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ฮ.ปฏิบัติการกองทัพเรือ 4 ลำ
- ชุดปฏิบัติการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ(Maritime Aquatic Life Support Team: MAL)
- ชุดสำรวจสำรวจและประเมินความเสียหาย ทร.(Naval Disaster Assessment Team:NDAT)
- ชุดค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนบก
- ชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์
พร้อมออกเรือได้ภายใน 24 ชม. หรือทันทีตามที่สั่งการ
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2451371314890371

US Navy LHD-1 USS Wasp aboard US Marine Corps F-35B VMFA-121 and MV-22B Osprey at off Okinawa coast, Japan in 23 March 2018

การเตรียมความพร้อมของเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำแรกของกองทัพเรือไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการรับมือเพื่อบรรเทาภัยพิบัติจากพายุโซนร้อนปาบึกที่เข้าภาคใต้เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมานั้น
ก็นับว่าเป็นเเรื่องดีที่ความเสียหายจากพายุนั้นรุนแรงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในทางเลวร้ายที่สุด ทำให้ ร.ล.จักรีนฤเบศร ยังคงจอดเทียบท่าเพื่อรอเตรียมการออกเรือจนถึงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่เหตุการณ์ได้คลี่คลายไปในทางทีดี
แต่ทว่าการเตรียมความพร้อมของ ร.ล.จักรีนฤเบศร เพื่อการบรรเทาสาธารณภัยนั้น กลับนำมาซึ่งสองคำถามที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากในแง่สมรรถนะและจุดประสงค์การใช้งานของเรือ พอๆกับประเด็นการนำเครื่องบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Takeoff and Vertical Landing) เช่น เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) มาประจำการ

Royal Australian Navy (RAN) Canberra-class Landing Helicopter Dock (LHD) L01 HMAS Adelaide and L02 HMAS Canberra berthed at Fleet Base East taken from Fort Denison in January 2016(wikipedia.org)

อย่างที่ทราบว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จึงมีบางกลุ่มที่เสนอแนะมาว่าในเมื่อกองทัพเรือไทยไม่สามารถจะจัดหาอากาศยานปีกตรึงประจำเรือมาประจำการบนเรือได้แล้ว ก็ควรจะตัดทางวิ่ง Ski-Jump ที่หัวเรือออกเพื่อให้เรือมีที่จอด ฮ.เพิ่มขึ้น
ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงตัวเรือระดับการต่อเติมหรือตัดโครงสร้างหลักของเรือเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่นเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock)ชั้น Canberra ๒ลำของกองทัพเรือออสเตรเลีย ที่มีพื้นฐานจากเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจม(LHA: Landing Helicopter Assault) ชั้น Juan Carlos I สเปน
ทางกองทัพเรือออสเตรเลียไม่ได้ต้องการออกแบบให้เรือรองรับอากาศยานปีกตรึง เช่น เครื่องบินขับไล่ F-35B เนื่องจากถูกพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป แต่ที่เรือยังคงมี Ski-Jump ที่หัวเรืออยู่เนื่องจากการแก้แบบเรือให้ตัด Ski-Jump ออกจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมากเช่นกัน

Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) helicopter destroyer DDH-183 JS Izumo with five of Mitsubishi SH-60J/K Seahawk anti-submarine warfare (ASW) helicopters(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)

เรื่องหนึ่งที่มักจะถูกลืมไปคือ แม้ว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร จะมีความยาวตัวเรือ 182m แต่ก็มีจุดรับส่งอากาศยานบนดาดฟ้าบินรวม ๕สถานี ซึ่งรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10tons เช่น เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B หรือเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๕ MH-60S ขึ้นลงได้พร้อมกัน ๕เครื่อง
ดังนั้นการจะตัด Ski-Jump จึงไม่ได้มีความจำเป็นและเพิ่มพื้นที่ลงจอด ฮ.บนเรือได้ ซึ่งเรือที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่มีความยาวเรือ 248m ดาดฟ้ายาวตลอดลำ ก็มีจุดรับส่งอากาศยานบนดาดฟ้าบิน ๕สถานีเท่านั้น
ทั้งนี้แนวทางการจัดหาอากาศยานปีกตรึงสำหรับ ร.ล.จักรีนฤเบศร(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html) และความเป็นไปได้ในการปรับปรุงการรองรับ F-35B(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html) ก็เคยมีการนำเสนอการวิเคราะห์ไปแล้ว


Royal Thai Air Force Tigershark II Unmanned Aerial Vehicle(UAV) and U1 Unmanned Aerial System(UAS)(My Own Photos)(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html)

อีกประเด็นที่มักถูกยกมากพร้อมกันคือการนำอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) มาปฏิบัติการขึ้นลงจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งในแง่ของการปรับปรุงติดตั้งสถานีควบคุมชุด UAV รวมถึงการติดสายอากาศสื่อสารเพิ่มเติมนั้นจะขึ้นอยู่ว่าเรือยังมีพื้นที่ภายในตัวเรือรองรับหรือไม่
แต่สำหรับอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance, UAV) อย่าง UAV หลายๆแบบที่ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ กองทัพอากาศไทยจัดหาและพัฒนาเอง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/dominator-uav.html
หรืออากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Air Vehicle) เช่น MQ-9 Reaper สหรัฐฯ หรือ Wing Loong กับ CH-4 จีน เหล่านี้จะต้องใช้การบินขึ้นลงตามแบบจากสนามบินโดยใช้ทางวิ่งระยะยาว ไม่สามารถจะนำมาใช้ขึ้นลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้เลย


Naval Research and Development Office, Royal Thai Navy Fixed wing Unmanned Aerial Vehicle with Vertical takeoff and landing Enable Capability(FUVEC) and Tactical Assault Rifle Enabled Multirotor(TAREM) Marine UAV(My Own Photo)(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html)

An MQ-8C Fire Scout unmanned aerial vehicle takes off from Naval Base Ventura County(https://news.usni.org/2014/03/05/navy-zeroes-fire-scout-buy-future-program-unclear)


UAV ที่น่าจะทำการบินขึ้นลง ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้แน่คืออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing, UAV) ซึ่งกองทัพเรือไทยรวมกับภาคเอกชนไทยพัฒนาขึ้นมาหลายแบบ แต่ก็มีระยะเวลาทำการนานไม่กี่ชั่วโมง และพิสัยทำการไม่ไกลมากนัก
ซึ่ง VTOL UAV ขนาดใหญ่ที่บินได้ไกลและนานก็มีเช่น MQ-8C Fire Scout กองทัพเรือสหรัฐฯ (https://aagth1.blogspot.com/2014/12/northrop-grumman-mq-8c-fire-scout.html) แต่ก็ยังไม่สามารถติดอาวุธ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ(ASM: Anti-Ship missile) หรือ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำได้
ดังนั้นแนวทางการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเพิ่มเติมสำหรับนำมาปฏิบัติการร่วมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือผิวน้ำอื่นๆที่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ดูจะเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมเป็นได้จริงมากว่าการจัดหา UAV มาใช้กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร ครับ