วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566

มาเลเซียเสนอเพิ่มงบประมาณกลาโหมมากขึ้น 10%

Malaysia proposes strong budget increase with eye on military procurement



Malaysia's procurement of six Littoral Combat Ships (LCSs) from local industry, a programme that has been delayed by several years.

Janes Defence Budgets forecasts robust real-terms growth in Malaysia's military expenditure, supported by a strong funding increase proposed for 2023. (Janes Defence Budgets)

มาเลเซียได้เสนองบประมาณกลาโหมประจำปี 2023 ที่วงเงิน 17.74 billion Malaysian Ringgit($3.97 billion) เพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อยที่ร้อยละ10 จากที่ได้รับการจัดสรรในงบประมาณกลาโหมประจำปี 2022 ที่ 16.14 billion Malaysian Ringgit
การใช้จ่ายงประมาณที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2023 ประกอบด้วย 11.4 billion Malaysian Ringgit สำหรับการปฏิบัติการ และ 6.3 billion Malaysian Ringgit สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนารวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง แสดงการเพิ่มขึ้นที่ปีต่อปีร้อยละ3 และร้อยละ26 ตามลำดับ

Anwar Ibrahim นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังมาเลเซียระบุในการแถลงงบประมาณของเขาว่า การเพิ่มขึ้นอย่างมากในการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนามีจุดประสงค์ที่จะเสริมความพร้อมของกองทัพมาเลเซีย(MAF: Malaysian Armed Forces, ATM: Angkatan Tentera Malaysia) 
เขากล่าวว่า "วงเงินราว 4.1 billion Malaysian Ringgit" ของงบประมาณได้รับการจัดสรรที่จะบำรุงรักษาและจัดหา แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/fa-50.html)

เอกสารงบประมาณของกระทรวงการคลังมาเลเซียแสดงว่า ร้อยละ71 ของค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการจะถูกใช้ไปกับเงินเดือนต่างๆของเจ้าหน้าที่กองทัพ โดยที่เหลือส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรให้กับการบริการและการส่งกำลังบำรุงต่างๆ
จากค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนา กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จะได้รับที่ร้อยละ28 และร้อยละ27 ตามลำดับ

ขณะที่กองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army, Tentera Darat Malaysia) ได้รับการจัดสรรที่ร้อยละ16 ทั้งหมดเป็นการเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่แต่ละเหล่าทัพได้รับอย่างมาก
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Anwar ยังกล่าวว่า ขีดความสามารถของกองทัพมาเลเซียได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนในกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมของประเทศ

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Anwar ชี้ให้เห็นโดยยกตัวอย่างการจัดซื้อจัดจ้างของมาเลเซียของโครงการเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela จำนวน 6ลำของมาเลเซีย
จากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โครงการเรือฟริเกต LCS ของกองทัพเรือมาเลเซียนี้ได้ประสบความล่าช้ามาเป็นเวลาหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/lcs-maharaja-lela.html)

"จุดอ่อนที่ผ่านมาในการกำกับดูของการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบต่อความพร้อมด้านกลาโหมของชาติ การจัดซื้อจัดจ้างของเรือฟริเกต LCS ได้มีค่าใช้จ่ายเป็นวงเงินมากว่า 6 billion Malaysian Ringgit (แต่)ไม่มีเรือลำใดที่สร้างเสร็จสักลำเดียว 
การละเมิดดังกล่าวจะไม่เกิดซ้ำขึ้นอีก" นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Anwar เรือฟริเกต LCS ลำแรก เรือฟริเกต KD Maharaja Lela ถูกคาดว่าจะส่งมอบให้กองทัพเรือมาเลเซียได้ภายในกลางปี 2020s ครับ