วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์กองทัพเรือไทยเตรียมการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ในทะเลอันดามัน








Royal Thai Navy (RTN) commander-in-chief Admiral Choengchai Chomchoengpaet was visited Third Naval Area Command at Phang Nga Naval Base on 26 March 2023,
include inspection on OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the second Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) is set to conduct live firing for Harpoon Block 1C anti ship missile at Andaman sea during Naval Exercise Fiscal Year 2023 soon.











ผู้บัญชาการทหารเรือ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลฐานทัพเรือพังงา 

วันที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย นางจตุพร ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ 
เดินทางไปตรวจเยี่ยมฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 เพื่อเยี่ยมการปฏิบัติงานและบำรุงขวัญกำลังใจแก่กำลังพล  ณ  ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ตำบลทับละมุ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะ ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับอุปสรรค และข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3  
สำหรับฐานทัพเรือพังงาเป็นหน่วยงานหลักของกองทัพเรือในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีหน้าที่ในการส่งกำลังบำรุงแก่กำลังทางเรือของกองทัพเรือที่ออกปฏิบัติการในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน 
รวมทั้งดำเนินการด้านการกิจการพลเรือน การควบคุมเรือพาณิชย์ ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับภาครัฐและการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
   
ต่อมา ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความพร้อมของเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ก่อนการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566  และ เยี่ยมกำลังพล ในกองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 ที่ปฏิบัติงานในฝั่งทะเลอันดามัน
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวให้โอวาทแก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ว่า 
“การที่ท่านทั้งหลายยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเข้มแข็ง จึงเป็นสิ่งที่ผมและข้าราชการกองทัพเรือรู้สึกชื่นชมในความเสียสละของท่านที่มีต่อประเทศชาติของเรา ผมขอให้กำลังพลทุกนายปฏิบัติภารกิจด้วยความไม่ประมาท 
เตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจะดำเนินการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ ขอให้กำลังพลทุกนายยึดมั่นในความเสียสละปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ 
พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติการใด ๆ ขอให้พิจารณาด้วยความสุขุมรอบคอบ อดทน เพื่อเป็นหลักและเป็นที่พึ่งของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่กองทัพเรือที่ประชาชน เชื่อมั่น และภาคภูมิใจ”

สำหรับเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ 
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
โดยใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐาน

คุณลักษณะทั่วไปของเรือ ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 83.00 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร ระวางขับน้ำไม่น้อยกว่า 1,960 ตัน 
ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 23 นอต (ที่ Full load) ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 3,500 ไมล์ทะเล (ที่ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 15 นอต)
ระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญประกอบด้วย ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ รุ่น Multi Feeding Vulcano Super Rapid จำนวน 1 ระบบ ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว รุ่น Seahawk MSI-DS30MR จำนวน 2 กระบอกปืนกลขนาด 0.50 นิ้ว M2 จำนวน 2 กระบอก 
อาวุธปล่อยนำวิธีพื้นสู่พื้น Harpoon Block II แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System 1 ระบบ จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิง 
สามารถออกปฏิบัติงานในทะเลอย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม และปฏิบัติการได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5 (Sea State 5) 
นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ขนาดไม่เกิน 11.5 ตัน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รองรับกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 115 นาย (กำลังพลประจำเรือ 99 นาย และปฏิบัติการทางอากาศ 16 นาย)

การฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/blog-post_11.html) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้กำหนดการปฏิบัติการฝึกในฝั่งทะเลอันดามัน
รวมถึงการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84D Harpoon Block 1C จากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ที่ขณะนี้วางกำลัง ณ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่๓(3rd NAC: Third Naval Area Command)

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำตระกูล Harpoon เป็นอาวุธหลักที่ติดตั้งใช้งานในเรือรบผิวน้ำหลายแบบ เช่น เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 
ซึ่งในรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Harpoon Block 1C ได้มีการฝึกยิงมาแล้วหลายครั้ง เช่นการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร เรือหลวงตากสิน ทำการยิง Harpoon ในทะเลอันดามัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_26.html)

การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ในทะเลอันดามันโดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖ ที่จะมีขึ้นนี้มีความสำคัญคือเป็นครั้งแรกที่กองทัพเเรือไทยทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำจากเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.(OPV: Offshore Patrol Vessel)
และยังเป็นการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจากเรือรบที่สร้างในไทยครั้งแรก โดยแบบเรือ 90m OPV ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรที่ส่งออกให้หลายประเทศนั้น เรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ของกองทัพเรือไทยติดตั้งอาวุธที่ก้าวหน้ามากที่สุดครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/international-fleet-review-2022-50.html)