วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"Aircraft Carrier Ibuki"(Kuubo Ibuki) ผลงานการ์ตูนเรื่องใหม่ของ Kaiji Kawaguchi

空母いぶき Aircraft Carrier Ibuki(Kuubo Ibuki) Volume 1-4 by Kaiji Kawaguchi かわぐち かいじ

พอดีเมื่อเร็วๆนี้ได้ไปเดินแถวสยาม-สีลมแล้วแวะไปดูที่ร้านหนังสือญี่ปุ่นจึงเผอิญเห็นผลงานการ์ตูน(Manga) เรื่องใหม่ของอาจารย์ ไคจิ คาวางูจิ(Kaiji Kawaguchi) ในร้าน คือเรื่อง "Kuubo Ibuki" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "เรือบรรทุกเครื่องบินอิบุกิ"(Aircraft Carrier Ibuki)
ซึ่งครั้งนี้ อ.ไคจิ คาวางูจิ ผู้เคยได้รางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม Kodansha Manga Award สามครั้ง และ Shogakukan Manga Award กลับมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับสงครามยุคใหม่อีกครั้งในประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ(สำหรับญี่ปุ่น)มากขึ้น

เนื้อเรื่อคราวๆของ Kuubo Ibuki จาก Wikipedia ภาษาญี่ปุ่นที่แปลโดย Google Translate นั้น(ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้องต้องขออภัย)
กล่าวถึงสงครามระหว่างกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนสาธารณรัฐประชาชนจีนในอนาคตอันใกล้ (People's Liberation Army vs Japan Self-Defense Forces)

CV-16 Liaoning PLAN's Aircraft Carrier launch three J-15 Fighther with YJ-91 Anti-Ship Missile to warn shot fire JMSDF's Destroyers DDG-177 Atago and DD-116 Teruzuki (Kuubo Ibuki Vol.1)

โดยเหตุการณ์กรณีพิพาทเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ปี20XX เมื่อมีชาวประมงจากจีนนำเรือประมงฝ่าพายุขึ้นฝั่งบนเกาะ Minamikojima ในหมู่เกาะเซนกากุ(Senkaku)ในภาษาญี่ปุ่นหรือหมู่เกาะเตียวหยู(Diaoyu)ในภาษาจีน
ซึ่งหมู่เกาะนี้เป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดนทางทะเลที่ทั้งสองประเทศที่อ้างอธิปไตยความเป็นเจ้าของของตนเหนือหมู่เกาะ ชาวประมงจีนได้ชักธงชาติจีนและป้ายข้อความแสดงความเป็นเจ้าของหมู่เกาะ
จนเรือตรวจการณ์ของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นข้ามาช่วยเหลือและผลักดันกลุ่มเรือชาวประมงจีน จนเกิดการยิงเตือนชนปะทะกับเรือตรวจการณ์หน่วยยามฝั่งจีน และเรือรบของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนก็เข้าในพื้นที่และยิงขู่ตอบโต้กัน
แต่การปะทะนั้นทำให้มีชาวจีนเสียชีวิต ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจีนและประชาชนจีนที่โกรธแค้นต่อกรณีทีมีชาวจีนเสียชีวิตในพื้นที่ที่ตนอ้างอธิปไตยนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายระหว่างจีนและญี่ปุ่น จนเกิดการตอบโต้ทั้งการประท้วง การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม
รัฐบาลญี่ปุ่นรับรู้ถึงภัยคุกคามจากจีนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้น จึงดำเนินแผนการ Pegasus ที่จะใช้กองกำลังป้องกันตนเองในการปกป้องเขตอธิปไตยของญี่ปุ่น
ซึ่งแผนการนี้ได้รวมถึงการสร้างเรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน(Aircraft Carrier Destroyer) DDV-192 Ibuki ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล(เป็นเรือที่ถูกสมมุติขึ้นในเรื่อง) ในวงเงิน 300,000,000ล้านเยน

PLAAF's IL-76 Strategic Transport Aircrafts drop PLA's Paratroopers to capture JSDF's base at Yonaguni Island (Kuubo Ibuki Vol.2)

ในเดือนเมษายน ปี 20XY หรือหนึ่งปีหลังจากเหตุพิพาทระหว่างที่เรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki ที่สร้างเสร็จแล้วได้เข้าร่วมการซ้อมรบร่วมสามเหล่าทัพของกองกำลังป้องกันตนเองเป็นครั้งแรกที่บริเวณหมู่เกาะ Senkaku ในการแสดงกำลังป้องปรามนั้น
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้เปิดยุทธการ Shuguang(รุ่งอรุณ) ส่งกำลังบุกทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศเข้ายึดพื้นที่หมู่เกาะ Senkaku หรือหมู่เกาะเตี้ยวหยูที่ญี่ปุ่นครอบครองทั้งหมด
ผลการปะทะทำให้ทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยศึกจำนวนหนึ่ง เป็นครั้งแรกที่กองกำลังป้องกันตนเองมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจากสงครามนับตั้งแต่ก่อตั้งมากว่า 60ปี
และนี่คือจุดเริ่มต้นของสงครามที่แท้จริงครั้งแรกของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกับกองทัพประเทศอภิมหาอำนาจนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

แม้ว่าจะไม่ได้ซื้อหนังสือมาอ่านแต่จากข้อมูลใน Wikipedia ระดับสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในเรื่องนี้น่าจะรุนแรงมากครับ
กลุ่มตัวละครจะเน้นหลักๆไปที่เจ้าหน้ากองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(Japan Maritime Self-Defense Force) ที่เป็นกำลังพลของเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki ทั้งนายทหารประจำเรือ ลูกเรือ และนักบินเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง F-35JB และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60K
เรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน DDV-192 Ibuki นั้นถูกสมมุติอ้างอิงจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga และชั้น Izumo แต่เพิ่ม Ski-Jump เหมือนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Invincible ของกองทัพอังกฤษที่ปลดประจำการแล้ว
เรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน DDV-192 Ibuki มีระวางขับน้ำประมาณ 26,000tons อาวุธประจำเรือมี ปืนใหญ่กล Phalanx CIWS 20mm 2กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SeaRAM 2แท่นยิง บรรทุก F-35JB ได้ 15เครื่องพร้อม ฮ.SH-60K ประมาณ 8-12เครื่อง
(ชื่อเรือถูกตั้งมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินเบา Ibuki สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ดัดแปลงมาจากเรือลาดตระเวนหนัก Ibuki ในปี 1943 แต่สร้างไม่เสร็จจนถูกแยกชิ้นส่วนที่อู่ทหารเรือ Sasebo ในปี 1946 หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม)

Display show data of DDV-192 Ibuki (Kuubo Ibuki Vol.1)

F-35JB on Flight Deck of DDV-192 Ibuki (Kuubo Ibuki Vol.4)

โดย DDV-192 Ibuki ร่วมปฏิบัติการกับกองเรือคุ้มกันที่5(Escort Flotilla 5) ตามแผนยุทธการ Hayabusa
ประกอบด้วยเรือพิฆาต DDG-177 Atago,เรือพิฆาตชั้น Kongo DDG-176 Chokai เรือพิฆาตชั้น Asagiri DD-153 Yugiri, เรือดำน้ำชั้น Soryu SS-504 Kenryu และเรือส่งกำลังบำรุงชั้น Mashu AOE-426 Omi
และมีเรืออีกหลายลำร่วมสงครามทั้งเรือพิฆาตชั้น Akizuki DD-116 Teruzuki, เรือดำน้ำชั้น Oyashio SS-599 Setoshio, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชั้น Osumi LST-4002 Shimokita และ LST-4003 Kunisaki
กองกำลังป้องตนเองทางบกญี่ปุ่น(Japan Ground Self-Defense Force) มีหน่วยยกพลขึ้นบกและหน่วยรบพิเศษ รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1, รถหุ้มเกราะล้อยาง Komatsu LAV 4x4, รถยนต์บรรทุก HMV,
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64DJP Apache, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง UH-60JA และอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B ร่วมปฏิบัติการ
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(Japan Air Self-Defense Force) มีเครื่องบินขับไล่ F-35JA, เครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่ RF-4EJ ซึ่งบินจากสนามบินเมือง Naha หมู่เกาะ Okinawa ไปสอดแนมเหนือเกาะ Taramajima แล้วถูกเครื่องบินขับไล่ J-20 จีนยิงตก, เครื่องบินควบคุมแจ้งเตือนทางอากาศ E-767 และเครื่องบินลำเลียง C-2 ร่วมปฏิบัติการ

PLAN's CV-17 Guangdong Aircraft Carrier launch J-20 Carrier Stealth Fighter (Kuubo Ibuki Vol.3)

ส่วนกำลังรบฝ่ายกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่เข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่นก็มีจำนวนมากทีเดียวครับ
กำลังทางเรือของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)ก็มีทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Guangdong (เป็นเรือที่ถูกสมมุติขึ้นเช่นกัน) ซึ่งคล้ายกับเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning ที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นโดยบรรทุกเครื่องบินขับไล่ J-20 รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ 60เครื่อง
โดยจีนเปิดฉากการรบตามแผนยุทธการรุ่งอรุณ(Shuguang) ด้วยการโจมตีทางอากาศถล่มฐาน Radar ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นบนเกาะ Yonaguni และทำการรบยุทธเวหากับ F-35JB กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเหนือเกาะ Taramajima
ซึ่งผลการรบดุเดือดมากเพราะตามข้อมูลจาก Wikipedia ในเรื่อง F-35 มีสมรรถนะทางการบินด้อยกว่า J-20 แต่ J-20 มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth)ด้อยกว่า F-35 รวมถึงนักบินจีนมีประสบการณ์รบน้อยกว่านักบินญี่ปุ่นที่ฝึกซ้อมรบกับมิตรประเทศเช่นสหรัฐฯบ่อยครั้งกว่า ต่างฝ่ายจึงใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศอย่าง AIM-120 กับ PL-12 ยิงตกกันระนาวทั้งสองฝ่าย
เรืออื่นของจีนก็มีเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ที่เป็นเรือธงของกองเรือทะเลเหนือ กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน มีบทบาทตั้งแต่กรณีพิพาทในปี 20XX,
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 คือ 989 Changbai Shan (ที่เคยมาฝึก Blue Strike 2016 กับกองทัพเรือไทยในไทย) เป็นเรือที่ส่งกองกำลังนาวิกโยธินจีนยกพลขึ้นบกยึดหมู่เกาะ Senkaku,

SS-599 Setoshio JMSDF's Submarine Intercept PLAN's Type 039A Yuan class Submarine (Kuubo Ibuki Vol.4)

เรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan หมายเลข102 และ 103 สอดแนมและเข้ายิง Torpedo โจมตีกองเรือคุ้มกันที่5 ญี่ปุ่นโดยมีเป้าหมายหลักคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki จนกองเรือญี่ปุ่นได้รับความเสียหาย
เรือดำน้ำญี่ปุ่น Setoshio เข้าสกัดโดยการชนเรือดำน้ำชั้น Yuan หมายเลข 102 จีนจนเสียหายต้องลอยลำฉุกเฉิน ส่วนเรือดำน้ำชั้น Yuan หมายเลข 103 สู้กับเรือดำน้ำญี่ปุ่น Kenryu และเรือดำน้ำจีนหมายเลข 103 ถูก ฮ.ปราบเรือดำน้ำญี่ปุ่นใช้ Torpedo ปราบเรือดำน้ำโจมตีจนจม,
เรือพิฆาตชั้น Type 052 DDG-112 Harbin และเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 FFG-527 Luoyang เป็นส่วนหนึ่งของกำลังรบในยุทธนาวีเกาะ Taramajima ซึ่งรวมกันโจมตีเรือพิฆาตญี่ปุ่น Chokai จนจม
แต่เรือพิฆาต Harbin และเรือฟริเกต Luoyang จีนก็ถูกปืนใหญ่เรือ Oto Melara 127mm/54cal ของเรือพิฆาต Chokai ญี่ปุ่นที่แม่นยำกว่าระดมยิงได้รับความเสียหายจนระบบอาวุธขัดข้อง,
เครื่องบินขับไล่ J-15 กองบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Naval Air Force) ประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ถูกส่งเข้าโจมตีเรือพิฆาตญี่ปุ่น Atago,
เครื่องบินแจ้งควบคุมเตือนภัยทางอากาศ KJ-500 กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Air Force) ถูกคุ้มกันโดย J-15 เพื่อสนับสนุนยุทธการเหนือเกาะ Taramajima โดนยิงตกพร้อมกับ J-15 อีกสองเครื่อง,
เครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76 กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน ส่งทหารพลร่มจีนพร้อมรถรบทหารราบส่งทางอากาศ Type 03(ZBD-03) และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยานอัตตาจร HQ-7 โดดร่มลงยึดเกาะ Yonaguni ซึ่งเป็นฐานกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น,
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียงFL-2(C-101) ถูกติดตั้งเป็นระบบยิงจากฝั่งป้องกันเกาะ Taramajima หลังจากที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนยึดเกาะได้
เรือพิฆาตญี่ปุ่น Chokai ล่อฐานยิง FL-2 จนเปิดเผยตำแหน่ง ญี่ปุ่นส่ง F-35JB จากเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki เข้าโจมตีหลายตำแหน่งทั่วเกาะจนได้รับความเสียหาย แต่ F-35JB ญี่ปุ่นก็ถูกยิงตกไปจำนวนหนึ่ง
รวมถึงกำลังรบจากนาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Marine Corps) และกองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Ground Force) ที่เป็นกำลังทางบกในสงครามด้วย

A spokesperson of the Chinese government is broadcasting statement (Kuubo Ibuki Vol.2 honz.jp/articles/-/42020)

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งมีตัวละครนายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างๆเดินเรื่องนั้น ก็แสดงถึงเนื้อเรื่องในการดำเนินมาตรการทางการต่างประเทศที่มีความตึงเครียดสูง
เพราะที่อ่านดูเหมือนทางญี่ปุ่นต้องการให้สหรัฐฯเข้ามาช่วยเหลือในระยะยาว แต่ก็ต้องการให้ระดับของสงครามกับจีนหยุดแค่เป็นเพียงสงครามจำกัดเขต ไม่ขยายเป็นสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะสร้างความเสียหายเกินที่ญี่ปุ่นจะรับได้(แต่ก็มีฝ่ายชาตินิยมในญี่ปุ่นสนับสนุนการรบกับจีนให้ถึงที่สุด)
ขณะที่จีนก็ดำเนินแผนทางยุทธการทางทหารและการทูตระหว่างประเทศโน้มน้าวต่อนานาชาติเพื่อประกาศว่าหมู่เกาะเตียวหยูเป็นของตนอย่างชอบธรรมและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดตั้งแต่แรก
อีกทั้งตัวละครที่เป็นทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นทั้งสามเหล่าทัพก็ทำการรบอย่างมีข้อจำกัด คือช่วงต้นของสงครามกองกำลังป้องกันตนเองจะเปิดฉากยิงอาวุธใส่ฝ่ายตรงข้ามก่อนไม่ได้ถ้ายังไม่ถูกยิงใส่ก่อน ซึ่งผลคือความสูญเสียของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
รวมถึงเรื่องการขาดประสบการณ์รบในสงครามตามแบบจริงของญี่ปุ่นที่ขาดหายไปตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองมา 70กว่าปีด้วย

แต่ถ้าถามว่าการ์ตูนเรื่อง Kuubo Ibuki นี้จะมีโอกาสถูกซื้อลิขสิทธิ์มาแปลตีพิมพ์ในไทยหรือไม่ คงตอบได้ว่าน่าจะยากครับ
เพราะเรื่องนี้ถูกลงตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายปักษ์ Big Comic ของสำนักพิมพ์ Shogakukan ซึ่งตีพิมพ์มาตั้งแต่ฉบับที่ 24 ปี2014
ซึ่งการ์ตูนของอาจารย์ Kaiji ที่เขียนให้ Shogakukan ลงนิตยสาร Big Comic ที่มีลิขสิทธิ์ในไทยก็มี "Eagle" กับ "ยุทธการจุดตะวัน"(A Spirit of The Sun) ที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์ คอมิคส์(Burapat Comics)
ก็อย่างที่ทราบว่าจากสถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ในไทยปัจจุบันโดยเฉพาะการ์ตูนไม่สู้ดีนักคือทุกค่ายออกการ์ตูนเล่มใหม่แต่ละเดือนน้อยลงไปมากๆ ประกาศลิขสิทธิ์เรื่องใหม่ก็น้อยลงด้วยเช่นกัน
ทางบุรพัฒน์ก็ไม่ได้ประกาศลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องใหม่มานานมากแล้ว(เน้นขายการ์ตูนจีนฮ่องกง)
นอกนั้นอย่างสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ(Vibulkij) ถึงจะเคยพิมพ์การ์ตูนของ อ.Kaiji จบมาแล้วสองเรื่องคือ "ยุทธการใต้สมุทร"(The Silent Service) และ Zipang แต่สองเรื่องนี้ก็ลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Morning ของสำนักพิมพ์ Kodansha
เพราะฉะนั้นอาจจะติดต่อขอลิขสิทธิ์มาลงอาจจะเป็นไปได้น้อย ยิ่งตอนนี้วิบูลย์กิจเน้นออก E-Book เป็นหลักด้วยยิ่งยาก
สำนักพิมพ์อื่นอย่างสยามอินเตอร์คอมิกส์(Siam Inter Comics) หรือบงกช(Bongkoch Publishing) หรืออื่นๆก็ยาก เพราะการ์ตูนแนวนี้มีคนอ่านในไทยน้อยมากๆ แถมมีศัพท์เฉพาะทางทหารจำนวนมากแปลให้ดียากด้วย
ฉะนั้นทำใจล่วงหน้าได้เลยว่าคงไม่มีโอกาสได้อ่านเรื่องนี้ได้ถ้าไม่ซื้อฉบับรวมเล่มจากญี่ปุ่นซึ่งเล่มที่4 เพิ่งออกไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2016 ครับ
(ลองสั่งซื้อได้จาก www.amazon.co.jp ทั้งแบบรูปเล่มและ E-Book ที่ได้นำภาพประกอบจากหน้าตัวอย่างลองอ่าน หรือสั่งทางร้านหนังสือญี่ปุ่นในไทยอย่าง Kinokuniya ดูครับ
เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าจะมี RAW SCAN หรือไม่แต่ SCAN แปลไทยแปลอังกฤษคงยากจะมีครับ เพราะแปลยากและเรื่องไม่เป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลาย ถึงจะมีถ้าเป็นไปได้ก็อย่าไปอ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายเลย)

http://comics.shogakukan.co.jp
http://comic-soon.shogakukan.co.jp

ปล.๑ เป็นครั้งแรกที่แนะนำการ์ตูนญี่ปุ่นที่นี่ครับ
ปล.๒ คิดว่าถ้าเป็นนักเขียนการ์ตูนไทยไม่น่าจะมีใครกล้าเขียนเรื่องแนวนี้แล้วได้รับการตีพิมพ์หรอกครับ