วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567

ญี่ปุ่นจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ AI กับสหรัฐฯสำหรับอากาศยานไร้คนขับ Loyal Wingman UAV

Japan to develop AI with US for ‘Loyal Wingman' UAVs




The Japan-US joint project aims to develop artificial intelligence and machine learning for new UAVs that will operate alongside Japan's next-generation GCAP fighter aircraft. (Japan Ministry of Defense)

ญี่ปุ่นและสหรัฐจะดำเนินการวิจัยร่วมเพื่อจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence) สำหรับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบใหม่ที่จะถูกใช้ในบทบาท 'คู่บินภักดี'(Loyal Wingman)
เคียงข้างไปกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 โครงการการรบทางอากาศทั่วโลก(GCAP: Global Combat Air Programme)(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/gcap.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/gcap.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/12/gcap.html

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯลงนามข้อตกลงเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2023 ที่จะริเริ่ม "การจัดการโครงการ" สำหรับการวิจัยร่วม สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว
ตามข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) โครงการเป็นที่รู้จักในชื่อ การตอบสนองท่วมท้นล้นหลามผ่านการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติ(Overwhelming Response through Collaborative Autonomy)

วัตถุประสงค์ของโครงการคือเพื่อจะควบรวม "ปัญญาประดิษฐ์ AI ล้ำยุคและการเรียนรู้ของเครื่องจักร(ML: Machine Learning) เข้ากับอากาศยานไร้คนขับขั้นก้าวหน้า" กองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว
ตามข้อมูลจาก ATLA ญี่ปุ่น AI ที่ได้รับการพัฒนาระหว่างการวิจัยร่วมนี้ "จะถูกใช้เพื่อจะกำหนดพฤติกรรมของอากาศยานไร้คนขับ" กองทัพอากาศสหรัฐฯเสริมว่า AI "ถูกคาดว่าจะถูกประยุกต์เพื่อปฏิบัติการของ UAV เคียงข้างเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตของญี่ปุ่น

โครงการวิจัยร่วมเป็นผลลัพธ์โดยตรงของแถลงการณ์ร่วมกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น-กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2022 เกี่ยวกับความร่วมมือสำหรับอากาศยานยุคอนาคตของญี่ปุ่น ตามข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ
ในแถลงการปี 2022 ของพวกตน กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าวว่าพวกตนได้ "พูดคุยหารือหลายชุดเกี่ยวกับขีดความสามารถระบบอัตโนมัติต่างๆ"

ข้อตกลงล่าสุดเป็นที่คาดว่าจะเสริมความแข็งแกร่งการทำลายล้างของญี่ปุ่นที่มีอยู่เข้าสู่การวิจัยและบูรณาการของวิทยาการปัญญาประดิษฐ์ AI กับระบบไร้คนขับ
ในปี 2022 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสนอโครงการที่จะศึกษาว่า อากาศยานไร้คนขับ UAV สนับสนุนการรบสามารถประสานงานร่วมกับอากาศยานแบบมีนักบินบังคับ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ได้อย่างไร

ในงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ 2022 ของญี่ปุ่นได้จัดสรรงบประมาณวงเงิน 10.1 billion Yen($70.9 million) สำหรับการศึกษาแนวคิดนี้ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมโครงการ GCAP ร่วมกับสหราชอาณาจักร และอิตาลี ในเดือนธันวาคม 2022 
ซึ่งเป็นการควบรวมโครงการเครื่องบินขับไล่ F-X ของญี่ปุ่น กับโครงการระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต(FCAS: Future Combat Air System) ของสหราชอาณาจักร ที่มีเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Tempest สหราชอาณาจักร-อิตาลี เป็นแกนหลักครับ