วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W นาวิกโยธินสหรัฐฯจะถูกขายต่อให้ลูกค้านานาชาติ

USMC SuperCobras to be sold off to international customers
ith the USMC retiring its AH-1W SuperCobras (pictured) in favour of the AH-1Z Viper, the US government is to begin selling off the surplus helicopters to international customers. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/77142/usmc-supercobras-to-be-sold-off-to-international-customers

รัฐบาลสหรัฐฯได้เสนอที่จะขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1W SuperCobra ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่เป็นส่วนเกินที่เก็บรักษาไว้แก่ลูกค้ามิตรประเทศนานาชาติในการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) หรือ Direct Commercial Sale(DCS)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra กำลังอยู่ในขั้นตอนการทยอยปลดประจำการจากนาวิกโยธินสหรัฐฯจนหมดในปี 2020 เนื่องจากได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีความทันสมัยกว่า

ตามการอ้างจาก Website Federal Business Opportunities(FedBizOpps) ว่ารายการที่วางแผนขาย ฮ.โจมตี AH-1W ออกไปจะเป็นครั้งแรกที่ติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit และการฝึกนักบิน/ช่างซ่อมบำรุงที่จะมอบให้แก่ลูกค้าในอนาคต
กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) ได้อยู่ในการสนับสนุนสำนักงานโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา H-1(PMA-276) ที่จะจัดงานวันอุตสาหกรรมในวันที่ 24 มกราคมสำหรับกลุ่มผู้สนใจงานปรับปรุงนี้

AH-1W ได้เข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1986 โดยเป็น ฮ.โจมตีรุ่นที่มีขีดความสามารถสูงในตระกูล AH-1 Cobra ที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในสมัยสงครามเวียดนาม(AH-1G รุ่นเครื่องยนต์เดี่ยว และ AH-1J SeaCobra รุ่นสองเครื่องยนต์) และยังคงประจำการในหลายประเทศทั่วโลก
เช่น บาเรนห์(AH-1E), อิหร่าน(AH-1J), จอร์แดน(AH-1E/AH-1F), เคนย่า(AH-1F), ปากีสถาน(AH-1F/AH-1Z), สาธารณรัฐเกาหลี(AH-1S/AH-1F), ไต้หวัน(AH-1W), ญี่ปุ่น(AH-1S), ตุรกี(AH-1F/AH-1W) และกองทัพบกไทย(Royal Thai Army AH-1F)

การขาย ฮ.โจมตี AH-1W SuperCobra ส่วนเกินเหล่านี้สามารถเป็นได้ทั้งการเสริมกำลังต่อฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่มีอยู่ของลูกค้าเดิม หรือมอบขีดความสามารถด้านอากาศยานโจมตีปีกหมุนแก่ลูกค้ารายใหม่
ซึ่งหลายประเทศที่เป็นลูกค้า ฮ.โจมตีตระกูล AH-1 Cobra เดิมก็ได้มีโครงการจัดหา ฮ.โจมตีแบบใหม่มาทดแทนไปแล้ว หรืออยู่ระหว่างการตั้งโครงการจัดหา ฮ.โจมตีใหม่(เช่นกองทัพบกไทย http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)

AH-1W ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ General Electric T700-GE-401 สองเครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 147knots พิสัยทำการ 256nmi(474km) เพดานบินสูงสุด 18,700ft(จำกัดที่ 10,000ft จากความต้องการ Oxygen) ในทุกรูปแบบการรบพื้นฐาน
ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 6,697kg ฮ.โจมตี AH-1W ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ Gatling สามลำกล้องหมุน M197 ขนาด 20mm ความจุกระสุน 750นัด ที่ใต้หัวเครื่อง และมีคานตำบลอาวุธภายนอกสี่จุด

AH-1W สามารถติดตั้งกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70mm และ Zuni 127mm, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง TOW และ AGM-114 Hellfire, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น radar AGM-122 Sidearm
AH-1W ยังติดตั้งระบบชี้เป้าหมายเวลากลางคืน/กล้องสร้างภาพความร้อน(FLIR: Forward Looking Infrared) Radar ซึ่งมี Laser วัดระยะ/กำหนดเป้าหมาย และกล้องถ่ายภาพครับ