วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๐




Royal Thai Army's NORINCO VT4 Main Battle Tank Test Firing
https://www.facebook.com/groups/914739328547147/





Royal Thai Army's NORINCO VT4(MBT-3000) Main Battle Tank interior Driver Station, Gunner Station and Commander Station
https://www.facebook.com/aegistacticalthai/posts/901221246694449

Cavalry School, Cavalry Center, Royal Thai Army open First Crews Training Course for NORINCO VT4(MBT-3000) Main Battle Tank at 1 December 2017
พล.ต.วันชาติ ผลไพบูลย์ ผบ.ศม./ผบ.รร.ม.ศม. เป็นประธานในพิธีเปิดหลักสูตรการศึกษาอบรม พลประจำรถ ถ.หลัก แบบ VT4 ณ บริเวณหน้ากองบัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า เมื่อ ๑ ธ.ค. ๖๐ เวลา ๑๐๓๐
http://www.cavalryschool.com/gallery/index.php/ภาพกิจกรรม/47-กศ-รร-ม-ศม/527-vt4

การทดสอบสาธิตสมรรถนะรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ชุดแรกจำนวน ๒๘คัน ที่ศูนย์การทหารม้านั้น ได้แสดงถึงสมรรถนะของรถถังหลักจีนยุคใหม่ ที่มีความทันสมัยสูง มีอำนาจการยิงที่แม่นยำ พัฒนาแบบก้าวกระโดดไปจาก ถ.๓๐ Type 69-II ที่กองทัพบกไทยจัดหามาในอดีตมาก
ด้านแผนการสนับสนุนการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์จีนภายในไทยนั้น ตามแผนงานระยะสั้นปี พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔(2017-2021) จะมีการจัดตั้งโรงงานซ่อมบำรุงสนับสนุนโดยตรงใน กองพันทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยใช้งาน
จัดตั้งคลังสะสมชิ้นส่วนซ่อมที่นครราชสีมา ทั้ง ถ.หลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1 และซ่อมบำรุงรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 ๘๐คันภายในปี ๒๕๖๒(2019)
แผนงานระยะกลาง พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๙(2022-2026) จะจัดตั้งโรงซ่อมยุทโธปกรณ์พร้อมถ่ายทอด Technology จากจีน และแผนงานระยะยาวหลังปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027) จะเป็นการถ่ายทอด Technology ให้เอกชนในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงไทยร่วมดำเนินการมากขึ้น

แม้ว่าแผนในระยะต้นนั้นจะยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการถ่ายทอด Technology อย่างเต็มตัว แต่ก็จะเป็นการจัดการที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาการซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนที่ผ่านมาในอดีต
เช่นที่เคยเกิดกับรถถังหลัก ถ.๓๐ Type 69-II จากจีนในปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ที่จัดหามาในราคาพิเศษเพราะเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army) มาก่อน
แต่จีนมีเงื่อนไขที่ทำให้ไทยไม่สามารถสำรองอะไหล่เองได้ จนเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อกองทัพบไทยจัดหารถถังหลักแบบอื่นที่มีความทันสมัยมากกว่า ถ.๓๐ Type 69-II ก็เริ่มล้าสมัยหมดคุณค่าทางยุทธการต้องปลดประจำการลงเป็นส่วนใหญ่
แต่ กองพันทหารม้าที่๒๒ โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้าก็ยังคงมี ถ.หลัก Type 69-II ประจำการอยู่เพื่อเป็นข้าศึกสมมุติในการฝึกศึกษา(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/type-69-ii.html)

อย่างไรก็ตามประเด็นสภาพภายในที่สกปรกของสถานีรถใน ถ.หลัก VT4 กลับกลายเป็นประเด็นที่ถูกนำมาโจมตีกองทัพบกว่าจีนย้อมแมวเอารถถังมือสองมาหลอกขายให้ไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงรถถังหลักใหม่ถ้ามีการใช้ทดสอบต่างๆอย่างหนักแล้วสภาพก็จะโทรมเป็นปกติ
ซึ่งจากวิดีทัศน์การทดสอบต่างๆว่า VT4 นี่เป็นรถถังรุ่นส่งออกที่ผลิตใหม่ทั้งคันซึ่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนไม่มีใช้เอง(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)
โดยข้อหานี้ก็เคยถูกนำใช้โจมตีรถถังหลัก Oplot-T ยูเครนที่ตัวรถเปื้อนโคลนจากการทดสอบในภูมิประเทศ แต่กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นรถถังมือสองโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติมาแล้ว
แต่การโจมตีตอกย้ำประเด็นโครงการจัดหาหรือการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยว่าเป็นของแย่ๆที่มาจากการทุจริตนี้ ได้กลายเป็นสามัญทัศน์หรือการเหมารวม(Stereotype) ที่ถูกสร้างขึ้นหลอกลวงประชาชนโดยสื่อไร้จรรยาบรรณและกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติไปแล้วครับ

Model of BM Oplot Main Battle Tank and BTR-3E1 Armored Personnel Carrier at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)

ความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T นั้น ล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีรายงานว่ายูเครนได้จัดส่งรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่ ๕คันจากท่าเรือของกองทัพเรือไทยที่สัตหีบไป กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ แล้ว
ทำให้ล่าสุด ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ.ได้รับมอบ ถ.หลัก Oplot-T รวมเป็น ๓๖คันแล้ว โดนรถคันที่ ๓๗-๔๓(No.37-No.43) นั้นมีรายงานว่าคณะกรรมการของไทยได้ตรวจรับมอบรถที่ยูเครนแล้ว ส่วนคันที่ ๔๔-๔๙(No.44-No.49) กำลังอยู่ในสายการผลิตที่โรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv ยูเครน
ทั้งนี้ตามได้รายงานไปในงาน Defense and Security 2017 ว่า UkrOboronProm ยูเครนยืนยันว่าการส่งมอบ ถ.หลัก Oplot-T ให้กองทัพบกไทยนั้นจะเสร็จสิ้นครบตามจำนวนที่สัญญาไว้ภายในปีหน้าคือ พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ซึ่งโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ที่ลงนามสัญญาจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million)มีความล่าช้ามาหลายปีมากครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/btr-4e-oplot-t-2018.html)

Royal Thai Army's AS550 C3 Armed Scout Helicopter with FN Herstal HMP400 .50 cal heavy machine gun pod and FZ220 7-tube 70mm rocket launcher pod(unknow photo source)

นอกจากการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่เพื่อทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F ๗เครื่องที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบกแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)
ล่าสุดศูนย์การบินทหารบก ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธใหม่ เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มี ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 ๘เครื่องประจำการใน กองพันบินที่๑
ทั้งนี้เดิม ศบบ.มีความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธรวม ๑๖เครื่อง ทำให้โครงการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธใหม่นี้มีความต้องการเพิ่มอีกราว ๘เครื่อง 
ตามโครงสร้างอัตราจัดกองพันบินที่ประกอบด้วย ๒กองร้อยบินปีกหมุน แต่ละกองร้อยประกอบด้วย ๒หมวดบินใช้งานทั่วไป และ ๑หมวดบินลาดตระเวนและโจมตี หมวดบินละ ๔เครื่อง

คุณสมบัติทั่วไปของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธที่ต้องการมีดังนี้เช่น
๑.เป็นเครื่องยนต์ Gas Turbine
๒.เป็นคันบังคับการบินคู่
๓.น้ำหนักบรรทุกสูงสุดไม่น้อยกว่า 600lbs
๔.ความเร็วเดินทางไม่น้อยกว่า 100knots
๕.มีระยะเวลาในการบินนานไม่น้อยกว่า ๒ชั่วโมง ๓๐นาที
๖.เพดานบินไม่น้อยกว่า 10,000feet
๗.สามารถติดตั้งระบบอาวุธปืนขนาดไม่น้อยกว่า 7.62mm และจรวดไม่น้อยกว่า 2.75"
๘.สามารถทำการบินทางยุทธวิธีได้ และสามารถบินในเวลากลางคืนด้วยกล้องช่วยมองเห็นในเวลากลางคืน(NVG: Night Vision Goggles)ได้
๙.ไม่เป็นเครื่องต้นแบบ(NOT Prototype)
๑๐.มีประจำการในประเทศผู้ผลิตในลักษณะเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ

ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นการจัดหา ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3(H125M) Fennec ชุดใหม่จาก Airbus Helicopters เพิ่มเติม หรือจะมีการพิจารณาคัดเลือก ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธแบบใหม่จากผู้ผลิตรายอื่น
อย่างไรตามดูเหมือนว่าโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธใหม่นี้จะเป็นเช่นเดียวกับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ คือกองทัพบกยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณในเร็วๆนี้ตามข้อจำกัดของงบประมาณกลาโหมที่ได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการครับ

Sea Trial of Royal Thai Navy new Frigate FFG-471 HTMS Tachin at Republic of Korea

ความคืบหน้าของโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ของกองทัพเรือไทยที่ดำเนินการสร้างโดยอู่เรือบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีนั้น
ตามภาพก็น่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองเรือในทะเล(Sea Trial) แล้ว ซึ่งจะเป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้ที่บริษัท DSME จะส่งมอบเรือให้กองทัพเรือไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dsme-hhi.html)
อย่างไรก็ตามภาพเรือในข้างต้นที่ปรากฎคราบสกปรกบนตัวเรือ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับเรือใหม่เมื่อมีการทดสอบเรือในทะเลนานระยะหนึ่งและสามารถทำความสะอาดก่อนส่งมอบเรือได้ ตามที่มีเจ้าหน้าที่ทหารเรือได้ชี้แจงไปนั้น
(เรือสมัยใหม่จะมีการใช้สีชนิดพิเศษทำให้มีโอกาสเกิดสนิมยากมาก ภาพที่เห็นจึงน่าจะเป็นคราบสนิทจากแหล่งอื่นเปื้อน เช่น รอยเสียดสีจากลูกตะเพราที่ท่าเรือ หรือน้ำสนิมที่หยดจาก crane บนเขื่อนหรือกองเหล็กบนท่า)
กลับเป็นประเด็นอีกครั้งที่ถูกผู้ไม่ประสงค์ดีต่อชาติบ้านเมืองใช้เป็นข้อโจมตีกองทัพเรือว่าซื้อเรือเกาหลีที่สร้างจากเหล็กไม่มีคุณภาพหรือเป็นเรือมือสอง ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องโกหกทำลายความน่าเชื่อถือของเรือหลวงไทยทั้งสิ้นครับ



Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, December 2017

Men in blue ผู้อยู่เบื้องหลัง

กว่าที่เรือลำหนึ่งๆ จะเสร็จสิ้นออกมาเป็นลำเรือสง่างาม มันเริ่มจากแผ่นเหล็กชิ้นๆ ที่ผ่านการออกแบบ ตัดทีละแผ่น และนำมาประกอบกัน โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่มักจะเห็นพวกเขาสวมชุดหมีสีน้ำเงิน 
เราจึงขอเรียกกลุ่มคนเหล่านั้น ตามที่ครู สมัย ใจอินทร์ ท่านเคยเรียกให้ได้ยินว่า Men In Blue หรือ เหล่าสุภาพบุรุษชุดน้ำเงิน

งานของพรรคกลิน นอกจากการซ่อมบำรุงต่างๆ ยังรวมถึงการต่อเรืออีกด้วย เพื่อสืบสานงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของการพึ่งพาตัวเอง
งานที่เริ่มขึ้นก่อนใคร ในการต่อเรือ และ เมื่อถึงวันที่เรือพร้อมขึ้นระวางประจำการ พวกเขาจะเสร็จสิ้นและถอนตัวออกไป โดยส่งผลงานให้เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

ภาพการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง)
เรือที่ต่อลำสุดท้ายในรัชกาลที่9

ขอเป็นกำลังใจให้เหล่า Men In Blue ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยครับ
เครดิตช่างภาพ โดย หมวดปอนด์ Pound
By Admin CICO552

Leonardo has live test firing OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed naval gun for Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang Offshore Patrol Vessel, 19 December 2017

ในวันที่ 19 ธ.ค.60 บริษัท Leonardo หรือในชื่อเดิม คือ Oto Melara ทำการยิงทดสอบ (Live Firing Test) ปืน 76/62 Super Rapid Multifeed ของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 หรือ ร.ล.ตรัง โดยมี รองผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ อิตาลี เป็นผู้ร่วมสังเกตุการณ์
การยิงทดสอบในครังนี้เพื่อทดสอบอาการกลของปืน ครับ
ขอบพระคุณข้อมูลจาก รอง ผช.ทูตอิตาลี ครับ

Clip: Royal Thai Navy & Thales Group Combined Operator and O-Level Maintainer Training Course: TACTICOS, STIR, VARIANT and Link Y
Thales Nederland BV เผยแพร่มัลติมีเดียระหว่างการอบรม Combined Operator and O-Level Maintainer Training Course : TACTICOS STIR VARIANT and Link Y ของกำลังพลชุดรับเรือ ร.ล.ตรัง ที่เดินทางไปเข้ารับการอบรมในห้วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.60
ร.ล.ตรัง หรือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 จะใช้งาน ระบบอำนวยการรบ (Combat Management System) แบบ Tacticos Baseline 2 เป็นลำแรกของกองทัพเรือไทย และเป็นเรือลำแรกใน ASEAN ที่มีการ Integrate ระหว่าง Tacticos Baseline 2 ร่วมกับ Harpoon block 2 อีกด้วยครับ
ความสัมพันธ์อันยืนยาว ระหว่าง Thales กับ กองทัพเรือไทย ตั้งแต่ช่วงราวๆ 1990 เลยทีเดียว ซึ่งหากนับจริงๆ นานกว่านั้นครับ เพราะในอดีต Thales Nederland ก็คือ Signaal ผู้ผลิต WM และ SEWACO นั่นเอง
ป.ล. ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์ของกองทัพเรือ เป็น Commanding Officer of H.T.M.S. Trang นะครับ
By Admin

การสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นั้นก็มีความคืบหน้าในการสร้างประกอบเชื่อมส่วน Block เรือตามลำดับ 
โดยการก่อสร้าง ร.ล.ตรัง นั้นมีความรวดเร็วในการสร้างมากขึ้นกว่าเดิม จากประสบการณ์และการบริหารจัดการที่มีมาจากการสร้าง ร.ล.กระบี่ ก่อนหน้านี้ 
ทั้งนี้ในส่วนระบบอาวุธหลักประจำเรือ บริษัท Leonardo อิตาลี ก็ได้มีการยิงทดสอบปืนเรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed สำหรับที่จะติดตั้งกับ ร.ล.ตรัง
โดยจะเห็นได้ว่าป้อมปืนของปืนเรือ 76/62 SR ของ ร.ล.ตรังนั้นเป็นทรง Stealth ใหม่หนึ่งในแบบที่เลือกได้ ซึ่งมีความต่างจากป้อมปืนเรือ OTO Melara 76/62 ทรง Stealth ที่ติดตั้งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) แล้วบางจุด
ในส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่มีการส่งกำลังพลไปอบรมการใช้งานคือ ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS  Baseline 2 เนเธอร์แลนด์ ที่ติดตั้งใน ร.ล.ตรัง และบูรณาการเข้ากับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84 Harpoon Block II สหรัฐฯครับ

Royal Thai Air Force's Gripen D with GBU-12 Paveway II and LITENING GIII targeting pod in Air Tactical Operations Competition 2018 at Chandy Range, Lopburi, Thailand

วิดีโอการแสดงสาธิตการใช้กำลังทางอากาศของฝูงบินและหน่วยรบในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี ๒๕๖๑

การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๖๑ ของกองทัพอากาศไทยระหว่างวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐-๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล ลพบุรีนั้น
เป็นครั้งแรกที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธที่ชัยบาดาลเป็นปีแรก
โดยการการเปิดตัวเครื่องขับไล่ Gripen D ที่ติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมายแบบ LITENING ของบริษัท Rafael อิสราเอลกับระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 Paveway II เป็นการแสดงถึงความพร้อมในการใช้อาวุธของ Gripen 
ซึ่งในส่วนของลูกระเบิด Mk 82 ขนาด 500lbs ที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธกองทัพอากาศไทยเองนั้น ก็ได้รับการรับรองการใช้งาน(certified)กับ Gripen พร้อมกับชุดนำวิถี Paveway II(ของบริษัท Raytheon สหรัฐฯ) ครับ

Korea Aerospace Industries(KAI) has displayed Photo of KAI T-50TH Lead-In Fighter Trainer for Royal Thai Air Force at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photos)

นอกจากโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกขับไล่ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ในฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/kai-t-50th-2018-2019.html)
และโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิต EC725 จากบริษัท Airbus Helicopters เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.๖ Bell UH-1H ซึ่งเป็นโครงการจัดหาต่อเนื่องหลายปีแล้ว
คงต้องยอมรับว่าโครงการจัดหาอากาศยานทดแทนแบบอื่นๆของกองทัพอากาศไทยที่มีความจำเป็นจะต้องจัดหามาทดแทนเครื่องเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานในอนาคตอันใกล้มากนั้น จะต้องถูกเลื่อนออกไปอีกนานด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการแท้จริง


Lockheed Martin has displayed Model of C-130J Super Hercules tactical transport aircarft and F-16V (Viper) Fighting Falcon fighter for Royal Thai Air Force at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photos)

ทั้งเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบใหม่ทดแทน บ.ล.๘ Lockheed C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ที่จะมีอายุการใช้งานครบ ๔๐ปีในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) โดยจะถูกยืดระยะเวลาการใช้งานออกไปอีกไม่ต่ำกว่า ๑๐ปี(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)
และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่จำเป็นต้องปลดประจำการหลังปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เนื่องจากโครงสร้างหมดอายุ เพราะเป็นเครื่องที่เคยใช้งานในกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อน และผ่านการปรับปรุง Falcon Up/Falcon STAR มาแล้ว
เป็นที่เข้าใจว่าเมื่อถึงเวลานั้น ฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่๑๐๒ จะกลายเป็นฝูงบินที่ไม่มีอากาศยานประจำการเหมือน ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ เพราะยังไม่มีการตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่มาทดแทน F-16A/B ADF เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ

เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ และเครื่องบินขับไล่ฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑
ที่เมื่อถึงเวลาที่เครื่องทั้งสามแบบปลดประจำการ ก็อาจจะทำให้ทั้งสามฝูงบิน(๒๑๑, ๒๓๑ และ ๔๑๑) ไม่มีอากาศยานใหม่มาประจำการทดแทน เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณในตั้งโครงการจัดหาอากาศยานใหม่ทดแทน
ทำให้ กองบิน๒๑ กองบิน๒๓ และกองบิน๔๑ จะมีสถานะเป็นฐานบินส่วนหน้าที่ไม่มีอากาศยานประจำการที่ฝูงบินถาวรเหมือน ฝูงบิน๕๖๑ กองบิน๕๖ หลังเครื่องบินฝึกไอพ่น บ.ฝ.๑๑ T-33A ที่ประจำเป็นฝูงสุดท้ายปลดประจำการไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘(1995) ครับ

เรื่องสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้ เราจะเห็นได้ว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จะมีการเกิดขึ้นของสื่อสังคม Online ที่นำเสนอหัวข้อทางทหารของไทยและต่างประเทศที่จัดได้ว่าไร้จรรณาบรรณความรับผิดชอบด้านความถูกต้องในข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างมาก
ตัวอย่างจากหลายๆ Page Facebook หรือ Youtube Channel ที่เลือกข้างต่างชาติประเทศใดประเทศหนึ่งชัดเจน ไม่ว่าจะนิยมสหรัฐฯ นิยมยุโรปตะวันตก หรือนิยมรัสเซีย นิยมจีน ที่สร้างเรื่องต่างๆขึ้นมาโดยไม่มองบริบทความเป็นจริงว่าโลกไม่ได้แบ่งเป็นขาว-ดำชัดเจนเหมือนในละครน้ำเน่า(ยังไม่นับพวกพยายามจุดชนวนความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และสถาบันหลักของไทย)
รวมถึงการสร้างข่าวการจัดหาอาวุธที่ไม่มีมูลความจริงในลักษณะ 'ล่อคลิก'(Clickbait) อย่างสร้างเรื่องว่ากองทัพเรือไทยจะซื้อ F-35B บ้าง กองทัพอากาศไทยจัดหา AGM-84K SLAM-ER บ้าง หรือกองทัพอากาศไทยจะซื้อ F-16V Block 70 กับ F-35A บ้าง
(เมื่อก่อนใน Webboard ทางทหารเก่าแก่อย่าง Thaifighterclub.org หรือ ThaiArmedForce.com ก็มีสมาชิกบางคนที่มาให้ข้อมูลที่ตนเองเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่เป็นระยะ ที่ต้องให้ผู้มีความรู้จริงต้องมานั่งแก้ข่าวและถกเถียงสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่นเรื่อง Oplot เปื้อนโคลนแต่หาว่าเป็นรถมือสอง กับกองทัพเรือไทยสั่งอะไหล่ของ RGM-84 Harpoon แต่กลับไปเชื่อว่าไทยสั่งจัดหา SLAM-ER)
ซึ่งผู้เขียนก็อยากจะบอกว่า การสร้างข้อมูลที่ไม่ผ่านการคัดกรองให้รอบคอบเพื่อออกเผยแพร่โดยหวังยอดผู้เข้าชมจะได้มีรายได้เข้ากระเป๋าตนเองของบางสื่อนั้น เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่จะให้ผู้คนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนรับรู้อะไรที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ครับ