PNS Himmat firing the ‘Harbah’ naval cruise missile in January 2018. Source: Pakistan Navy
http://www.janes.com/article/76779/pakistan-conducts-firing-of-cruise-missile-from-azmat-class-boat
กองทัพเรือปากีสถาน(Pakistan Navy) ได้ทำการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนรุ่นยิงจากเรือผิวน้ำแบบใหม่ที่พัฒนาเองในประเทศจากเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Azmat ลำใหม่ล่าสุดคือ PNS Himmat(หมายเลขเรือ 1027)
ระบบอาวุธปล่อยใหม่ดังกล่าวได้ถูกอ้างอิงโดยผู้บัญชาการทหารเรือปากีสถาน พลเรือเอก Zafar Mahmood Abbasi ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนทางเรือ 'Harbah' โดยการทดสอบยิงมีขึ้นในวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา ณ ทะเลอาระเบียเหนือ
อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Harbah ถูกกล่าวว่าสามารถทำการยิงพุ่งชนเป้าหมายผิวน้ำได้อย่างแม่นยำ แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมารวมถึงระยะห่างระหว่างเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี PNS Himmat กับเป้าหมาย
พลเรือเอก Zafar และนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือปากีสถานได้เป็นสักขีพยานในการยิงระบบอาวุธครั้งนี้บนเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ของกองทัพเรือปากีสถานคือ F260 PNS Alamgir ที่จัดหาจากสหรัฐฯในปี 2010(เดิมคือ FFG-8 USS McInerney)
PNS Himmat เป็นเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Azmat ลำที่3 ซึ่งสร้างในปากีสถานโดยการถ่ายทอด Technology จากจีน เพิ่งจะเข้าประจำการในกองทัพเรือปากีสถานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017
เรือ รจอ.ชั้น Azmat 2ลำก่อนหน้านี้คือ PNS Azmat(1013) และ PNS Dehshat(1014) ที่สร้างในจีน มีพื้นฐานจากเรือเร็วโจมตีชั้น Type 037II(NATO กำหนดรหัสชั้น Houjian) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Azmat มีรูปทรงเรือที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) มีความยาวเรือ 63m ระวางขับน้ำ 560tons ระบบอาวุธหลักของเรือเดิมคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802 จีน 8นัด(สองแท่นยิงแฝดสี่)
PNS Himmat ยังติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล Remote แบบ Aselsan STOP ขนาด 25mm ตุรกี และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System)ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Type 630 ขนาด 30mm จีน(ลอกแบบ AK-630 รัสเซีย)
ก่อนหน้านี้ในปีที่แล้วเมื่อ 9 มกราคม 2017 กองทัพเรือปากีสถานได้ทำการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Babur 3 จากฐานยิงเคลื่อนที่ย้ายใต้น้ำได้สำหรับทดสอบใต้น้ำ
ซึ่งน่าจะนำมาใช้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hangor(S20P) ที่สั่งต่อที่จีน 4ลำ และจะสร้างในปากีสถานอีก 4ลำ รวม 8ลำ(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/babur-3.html)
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือปากีสถานได้อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนซึ่งมีพิสัยยิงไกลมากขึ้น
จากการสาธิตการยิงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนที่ปากีสถานพัฒนาเองในประเทศที่ล่าสุดคืออาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ Harbah ครั้งล่าสุดนี้ครับ