วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียเผชิญความเสี่ยงโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X กับเกาหลีใต้ และหารือการจัดหา Su-35 รัสเซีย

Indonesia faces risks over involvement in fighter programme
Indonesia’s involvement in the KFX/IFX programme could be readjusted due to funding issues. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/77332/indonesia-faces-risks-over-involvement-in-fighter-programme

Russian delegation in Indonesia is discussing Sukhoi-35 contract — source
Sukhoi-35 is a generation 4++ highly maneuverable multirole fighter jet
http://tass.com/defense/986870

ขอบเขตการมีส่วนร่วมการลงทุนในอนาคตของอินโดนีเซียกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้าร่วมกับสาธาณรัฐเกาหลีคือ KF-X/IF-X(Korean Fighter Xperiment/Indonesia Fighter Xperiment) อาจจะถูกปรับเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากการขาดเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่กลาโหมอินโดนีเซียได้แถลงความห็นล่าสุดต่อสื่อท้องถิ่นว่าปัจจุบันมีการขาดงบประมาณราว 1.85 trillion Indonesian Rupiah($140 million) ที่จำเป็นจะต้องจะต้องจ่ายให้เกาหลีใต้ เพื่อการแลกเปลี่ยนสำหรับการลงทุนในโครงการตามข้อตกลงทางการเงินที่ลงนามในปี 2015

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีองค์ความรู้โดยตรงของโครงการยังได้ยืนยันกับ Jane's ว่าการจ่ายวงเงินของอินโดนีเซียในโครงการยังมีการดำเนินการได้ไม่มากพอเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณกลาโหมอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น
Jane's เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมของเกาหลีใต้และอินโดนีเซียกำลังมีการเจรจาใหม่ในด้านการเงินลงทุนในโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ของอินโดนีเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-kf-x-if-x.html) และนั่นควรจะนำไปสู่การลดบทบาทในโครงการ

อย่างไรตามเป็นที่เข้าใจว่ารัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะถอนตัวออกจากโครงการ KF-X/IF-X การชำระค่าใช้จ่ายในโครงการของอินโดนีเซียปัจจุบันจะตามหลังอยู่ราวร้อยละ40 จากข้อตกลงที่มีผลผูกพัน แหล่งข่าวกล่าวกับ Jane's
แม้จะมีปัญหานี้โครงการยังคงเดินหน้าต่อ โดยวิศวกรและช่างเทคนิคราว 82คนจากบริษัทอุตสากรรมอากาศยานอินโดนีเซีย PT Dirgantara(PTDI) ยังคงอยู่ที่เกาหลีใต้ซึ่งมีความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับ Korea Aerospace Industries(KAI) ผู้นำในการพัฒนาโครงการ KF-X/IF-X

การลงทุนเพื่อการมีส่วนรวมของอินโดนีเซียในโครงการได้อยู่ในการล้อมรั้ว(ring-fenced) ในปี 2018 แม้ว่าดูเหมือนมีการจ่ายตั้งแต่ปี 2015 นี่ได้เป็นหัวข้อในการตัดวงเงินที่ขึ้นอยู่ความความแข็งแกร่งของงบประมาณกลาโหมอินโดนีเซีย
การตัดงบประมาณจะมีผลให้เกิดการขาดเงินทุน ซึ่งมีเจตนาโดยรัฐบาลอินโดนีเซียที่จะสร้างความแตกต่างในภายหลังเมื่อสามารถหาเงินทุนได้มากกว่านี้ Jane's เข้าใจว่าในกรอบของการชำระเงินนี้จำเป็นจะต้องได้รับการเจรจาครับ

คณะตัวแทนของรัสเซียในอินโดนีเซียกำลังดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) ตามที่แหล่งข่าวในภาความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารกับต่างประเทศกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา
"ตัวแทนของรัสเซียในอินโดนีเซียกำลังเจรจาในกรอบของสัญญาเพื่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ SU-35 แก่อินโดนีเซียหุ้นส่วนของเรา" แหล่งข่าวกล่าว ฝ่ายบริการสหพันธรัฐเพื่อความร่วมมือทางทหารรัฐบาลรัสเซียได้งดแสดงความเห็นในเรื่องนี้

ตามรายงานก่อนหน้านี้อินโดนีเซียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯที่เก่าและล้าสมัยซึ่งประจำการในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มาตั้งแต่ปี 1980
โดย Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียได้กล่าวในข้อเสนอทางการค้าภายหลังว่าจะมีการเสนอส่งมอบเครื่องบินขับไล่ SU-35 จำนวน 11เครื่องให้อินโดนีเซีย

Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูงสุด ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ(TVC: Thrust Vector Control)ได้ ทำความเร็วได้สูงสุด 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km และมีรัศมีการรบ 1,600km
ระบบอาวุธของ Su-35 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวร่วม 12จุดแข็ง ซึ่งสามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบครับ