China positions to meet Thailand’s future naval requirements
http://www.janes.com/article/78900/china-positions-to-meet-thailand-s-future-naval-requirements
CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.((My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html
China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมทางเรือของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารและ Technology ระหว่างกัน
ข้อตกลงซึ่งได้รับการลงนามเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคมที่ผ่านมา ณ Beijing ได้เห็นถึงทั้งจีนและไทยได้มองการขยายความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันจากที่ล่าสุดมีความเน้นแฟ้นขึ้นผ่านโครงการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบ S26T ของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
CSIC จีนไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงใหม่กับกองทัพไทยเพียงแต่กล่าวว่ามันจะ "เพิ่มพูนการส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยน(ในความสัมพันธ์ต่อ)อาวุธยุทโธปกรณ์ไทยและเปิดบทใหม่ในความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศ"
CSIC จีนชี้ให้เห็นว่าข้อตกลงนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบริษัทได้ใช้ยุทธศาสตร์ "ออกสู่ภายนอก" ซึ่งอ้างอิงสู่การเข้าใกล้และปกป้องโดยประธานาธิบดีจีน Xi Jinping เพื่อเสริมความแข็งแกร่งแก่ภาส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงจีนในทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อตลาดต่างประเทศ
นับตั้งแต่ปี 1990s เป็นต้นมากองทัพเรือได้ได้มีการจัดหาเรือผิวน้ำหลายชุดจากจีนเข้าประจำการ เช่น กำลังเรือรบผิวน้ำหลักของ กองเรือฟริเกตที่๒ กองเรือยุทธการ ที่ประกอบด้วย
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา(Type 053HT และ Type 053HT(H))คือ ร.ล.เจ้าพระยา,ร.ล.บางปะกง, ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี กับเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร(Type 025T) คือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ซึ่งใช้ระบบตรวจจับและอาวุธตะวันตกผสมกับของจีนในช่วงแรก
เช่นเดียวกับ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ที่ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานีคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ซึ่งเป็นเรือ ตกก.ชุดแรกของกองทัพเรือไทยที่ต่อในจีนแต่ใช้ระบบเครื่องยนต์อุปกรณ์และอาวุธประจำเรือตะวันตกทั้งลำ
รวมถึง กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ ที่มีเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสิมิลัน(Type 908) คือ ร.ล.สิมิลัน ซึ่งเป็นเรือผิวน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทย
ความสำเร็จล่าสุดของจีนกับกองทัพเรือไทยคือโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาทระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๖ปี กับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีนเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
ตามข้อมูลของ CSIC นั้นเรือดำน้ำ S26T มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เป็นเรือดำน้ำรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
และมีการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยว่าเรือดำน้ำ S26T ทั้ง ๓ลำจะมีคุณสมบัติการผสมผสานอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตก(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)
โดยกองทัพเรือปากีสถาน(Pakistan Navy) เป็นอีกประเทศที่กำลังจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S20P 8ลำที่เรือ 4ลำแรกจะสร้างในจีนอีก 4ลำหลังจะสร้างในปากีสถานโดยการถ่ายทอด Technology จากจีน(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html)
กองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T รวม ๓ลำ วงเงินงบประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท ภายในระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๑๑ปี(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)
ซึ่งการลงนามสัญญาล่าสุดระหว่าง CSIC และกองทัพไทยดังกล่าวน่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด(Detail Design) ของเรือดำน้ำ S26T สำหรับกองทัพเรือไทย ที่จะมีระยะเวลาราว ๑ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐-๒๕๖๑(2017-2018)
ทั้งนี้กองทัพเรือไทยยังมีแผนการจัดหาเรือใหม่เพื่อทดแทนเรือเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานและจำเป็นต้องปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้ ที่จีนมองเห็นโอกาสในการเสนอแบบเรือของตนแก่กองทัพเรือไทย เช่น โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่เพิ่มเติมของ กองเรือตรวจอ่าว
โครงการจัดหาเรือฟริเกตและเรือคอร์เวตใหม่ในส่วน กองเรือฟริเกตที่๑ โครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกลำที่สอง ของกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ และโครงการจัดหาเรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดอเนกประสงค์ทดแทน ร.ล.ถลาง ของ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ เป็นต้นครับ