ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 3 ลำ ได้แก่ เรือ ต.๙๑ เรือ ต.๙๔ และเรือ ต.๙๕ ณ การท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒
https://www.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/1812
“ปลดระวาง เรือ ต.91 “เรือของพ่อ” หลังปฏิบัติภารกิจมาร่วม 52 ปี”
วันที่ 25 ก.ย.62 พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการ และเชิดชูเกียรติให้กับ “เรือของพ่อ” เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ,ต.94 ,ต.95
ที่รับใช้ราชการในกองทัพเรือมายาวนาน ปฏิบัติภารกิจในท้องทะเลมากว่า 52 ปี ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เรือตรวจการณ์ ต.91 เป็นเรือที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพระราชทานพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัย เกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ
นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 – 2530 อันเป็นโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ จนสมัญญาเรือชุดนี้ว่า “เรือของพ่อ”
การปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ได้เป็นไปตามอนุมัติ กระทรวงกลาโหม เนื่องจากเรือทั้ง 3 ลำ ใช้ราชการมานานจนมีสภาพเสื่อมตามอายุการใช้งาน ไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมบำรุง และมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติราชการ
จึงมีคำสั่งตามคำเสนอของ กองทัพเรือ ให้ปลดระวางตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 เป็นต้นไป
โดยเรือ ต.91 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 12 ส.ค.2511 และครั้งที่ 2 เมื่อ 15 เม.ย.35 รวมระยะเวลาประจำการ 52 ปี เรือ ต.94 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 16 ก.ย.24 รวมระยะเวลาประจำการ 38 ปี และเรือ ต.95 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 27 ธ.ค.25 รวมระยะเวลาประจำการ 37 ปี
โดยเรือทั้ง 3 ลำ สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ เป็นการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ
จึงได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้แก่ เรือตรวจการณ์ชุดเรือ ต.91 และอำลาการปฏิบัติงานของเรือทั้ง 3 ลำ อย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทย ตลอดไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2665845086795141&id=1308960395816957
Clip: กว่า52ปีที่เรือ ต.91 ประจำการในกองทัพเรือ ขณะนี้ได้ปลดระวางประจำการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ
จึงได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้แก่ เรือตรวจการณ์ชุดเรือ ต.91 และอำลาการปฏิบัติงานของเรือ อย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทย ตลอดไป
https://www.facebook.com/1308960395816957/videos/1428025847344767/
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ประกอบด้วยเรือ ต.91, เรือ ต.92, เรือ ต.93, เรือ ต.94, เรือ ต.95, เรือ ต.96, เรือ ต.97, เรือ ต.98 และเรือ ต.99 รวมทั้งสิ้น ๙ลำ ที่ถูกสร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ(Naval Dockyard Department) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๓๐(1967-1987) นั้น
นับเป็นเรือตรวจการณ์สมัยใหม่ชุดแรกที่กองทัพเรือไทยสร้างเองในประเทศ ตามพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพเรือไทยเป็นล้นพ้น(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/91.html)
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ตัวมีความยาว 34m กว้าง 5.7m กินน้ำลึก 1.6m (เฉพาะเรือ ต.91 ยาว 31.8m กว้าง 5.36m กินน้ำลึก 1.5m) ระวางขับน้ำปกติ 126tonnes ระวางขับน้ำเต็มที่ 130tonnes
ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสองเครื่องกำลังเครื่องละ 1,650shp ใบจักรคู่ ทำความเร็วได้สูงสุด 25knots ความเร็วมัธยัสถ์ 21knots รัศมีทำการ 973nmi กำลังพลประจำเรือ ๓๑นาย
ระบบอาวุธประจำเรือ เรือ ต.91 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L60 ๑กระบอก และปืนใหญ่กล 20mm ๑กระบอก, เรือ ต.92-ต.98 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L60 ๒กระบอก และปืนกลหนัก M2 .50caliber ๒กระบอก
และเรือ ต.99 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L70 ๑กระบอก ปืนใหญ่กล 20mm ๑กระบอก และปืนกลหนัก M2 .50caliber ๒กระบอก โดยเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.91 ได้เข้าประจำการในกองเรือตรวจอ่าว กตอ.และต่อมาเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กยฝ. ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง
โดยทั่วไปเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจะมีอายุตัวเรือประจำการได้ประมาณ ๓๐ปี แต่เรือ ต.91 ที่ขึ้นระวางประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๑(1968) และครั้งที่๒ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕(1992) นั้นมีอายุการใช้งานถึง ๕๒ปีเลยทีเดียว
นับว่ากองทัพเรือไทยได้ใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างคุ้มค่าและยาวนานมากที่สุด และสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยอย่างเนื่อง เช่น โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจำนวน ๒ลำใหม่โดยบริษัท Marsun ไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/07/marsun.html)