BMT Wins Consulting Engineering Contract in Thailand to Support Royal Thai Navy Midget Submarine Programme
BMT, the leading international design, engineering and risk management consultancy, has been awarded a contract to support the Royal Thai Navy’s (RTN) new midget submarine programme from its offices in Bath, UK.
https://www.bmt.org/news/2018/bmt-wins-consulting-engineering-contract-in-thailand-to-support-royal-thai-navy-midget-submarine-programme/
BMT สหราชอาณาจักร ผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านการออกแบบ, วิศวกรรม และบริหารจัดการความเสี่ยงระดับชั้นนำนานาชาติ ได้รับสัญญาจากกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. จากสำนักงานของตนใน Bath สหราชอาณาจักร
BMT อังกฤษได้รับสัญญาเพื่อให้การแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการบริหาจัดการด้านวิศวกรรมเรือดำน้ำโดยเฉพาะเพื่อช่วยกองทัพเรือไทยลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดระหว่างขั้นตอนการออกแบบเรือดำน้ำ
ภาคธุรกิจความมั่นคงของสหราชอาณาจักรของ BMT ได้สนับสนุนกำลังกองเรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) และโครงการออกแบบเรือดำน้ำมาตั้งแต่ปี 1993
BMT ได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้ใช้ขีดความสามารถการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าต่อรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก และยังสนับสนุนโครงการจัดหาเรือดำน้ำและการให้บริการระหว่างประจำการภายในประเทศจากสำนักงานของตนในออสเตรเลียและแคนาดา
สัญญาระหว่างกองทัพเรือไทยกับ BMT ได้รับการลงนามในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และการทำงานนี้มีกำหนดจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
นี่เป็นสัญญากลาโหมระดับรัฐบาลครั้งแรกที่ BMT สหราชอาณาจักรเป็นผู้ชนะในไทย และเป็นการใช้ขีดความสามารถที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศโดยกองทัพเรือไทยเป็นครั้งแรก ตามที่กองทัพเรือไทยได้มองหาองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะทางเพื่อค่อยๆพัฒนาขีดความสามารถการออกแบบเรือดำน้ำภายในประเทศไทยเอง
นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก สวพ.ทร.ให้ความเห็นว่า "กองทัพเรือไทยมีความยินดีที่ได้แต่งตั้ง BMT เพื่อสนับสนุนก้าวย่างขั้นต้นนี้ในขั้นตอนการออกแบบ
เรามั่นใจว่าด้วยการให้คำปรึกษาของ BMT เราสามารถที่จะวางแผนที่จำเป็นและขั้นตอนให้เข้าที่ได้ เพื่อการจัดตั้งรากฐานที่มั่นคงสำหรับโครงการที่ท้าทายแต่น่าตื้นเต้นนี้"
James Woolford ผู้จัดการวิศวกรรมทางเรือของ BMT ให้ความเห็นว่า "BMT ภูมิใจที่ได้ชนะสัญญานี้กับกองทัพเรือไทยและมองไปข้างหน้าเพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางมาประยุกต์ใช้ในโครงการออกแบบ, สร้าง และจัดหาทางเรือตลอดสาขาวิศกรรมหลักทั้งหมด
เรายังคงเคารพต่อความตั้งใจของกองทัพเรือไทยว่ากิจกรรมออกแบบควรจะต้องดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด และเรามั่นใจว่าสามารถเพิ่มเติมมูลค่าได้อย่างมากผ่านการสนับสนุนที่อิสระและเชื่อถือได้
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสัญญานี้ได้แสดงถึงการเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระยะยาวกับกองทัพเรือไทยและนั่นจะยังนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประวัติด้านขีดความสามารถทางกลาโหมของ BMT ท่ามกลางชาติที่มีเรือดำน้ำปฏิบัติการอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ก่อนหน้านี้ในงานนาวีวิจัย 2018 กองทัพเรือไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา ได้เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ได้อนุมัติงบประมาณราว ๑๙๓ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปี
โดยโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐ และคาดว่าเรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกที่ออกแบบและสร้างโดยกองทัพเรือไทยน่าจะเสร็จสิ้นโครงการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_20.html)
เป็นการต่อยอดจากโครงการที่มีก่อนหน้าทั้งยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับฝึกปราบเรือดำน้ำ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) ชื่อ ไกรทอง วิชุดา สุดสาคร ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๖(2012-2013) และยานใต้น้ำขนาดเล็ก(Small Underwater Vehicle) ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘(2012-2015) ครับ