วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยยืนยันแผนที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และฝึก T-50TH เกาหลีใต้เพิ่ม ๒เครื่องสุดท้าย

Thailand confirms plan to buy additional T-50TH aircraft



The Royal Thai Air Force has outlined a plan to purchase two additional T-50TH aircraft – a version of the T-50 Golden Eagle (pictured) – for around USD72 million. (KAI)

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๔) จำนวน ๒ เครื่อง - จัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จำนวน ๒ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 
ตามที่กองทัพอากาศได้มีหนังสือเชิญชวนสําหรับซื้อโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่๔) จํานวน ๒เครื่อง - จัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จํานวน ๒เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จําเป็น และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จําเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาะจงนั้น
ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ Korea Aerospace Industries,LTD. สาธารณรัฐเกาหลี โดยเสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๓๖๐,๖๗๑,๘๗๕.๐๐บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง
ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔

กรมยุทธการทหารอากาศ(Directorate of Operations) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ว่า
ตนจะจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle เพิ่มเติม ๒เครื่องจากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี

แผนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งจะเพิ่มจำนวนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี จาก ๑๒เครื่อง เป็น ๑๔เครื่อง มีวงเงินที่ ๒,๓๖๐,๖๗๑,๘๗๕บาท($72 million) และจะรวมอะไหล่ และอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
Janes เข้าใจว่าสัญญาที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle ระยะที่๔ เพิ่มเติม ๒เครื่องคาดว่าจะได้รับการลงนามภายหลังในปี พ.ศ.๒๕๖๔ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html)

โฆษกจากบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ว่า การจัดหา T-50TH เพิ่มเติม ๒เครื่องเป็นหัวข้อการเจรจาที่กำลังดำเนินการระหว่างบริษัทและกองทัพอากาศไทย
การจัดซื้อ T-50TH ระยะที่๔ ได้รับวงเงินผ่านงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ล่าช้ามาเป็นปีเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่เชื่อมโยงกับการระบาด Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)

Janes เข้าใจว่าข้อจำกัดด้านงบประมาณดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้กองทัพอากาศไทยลดจำนวนการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH จาก ๔เครื่องที่จะทำให้หนึ่งฝูงบินมีจำนวนเครื่องรวม ๑๖เครื่อง เหลือ ๒เครื่องที่หนึ่งฝูงบิน ๑๔เครื่อง
กองทัพอากาศไทยได้เรียกแผนการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติม ๒เครื่องว่าเป็นโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นระยะที่๔  และระยะสุดท้ายของโครงการ T-50TH

กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) และระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) เป็นวงเงินรวมราว ๑๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท
KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้ส่งมอบ บ.ขฝ.๒ T-50TH ให้กองทัพอากาศไทยแล้ว ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/blog-post_26.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/12/blog-post_25.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)

การจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๓ วงเงินประมาณ ๑,๖๕๙,๓๖๐,๕๐๐บาท($52.5 million) เป็นการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องที่ได้รับการประกาศในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ประกอบด้วยการติดตั้ง Radar แบบ Elta EL/M-2032 อิสราเอล, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar(RWR: Radar Warning Receiver) และระบบจ่ายเป้าลวง(CMDS: Countermeasures Dispenser System) เพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html)

บ.ขฝ.๒ T-50TH ได้ถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatross ที่เคยประจำการในฝูงบิน๔๐๑ ก่อนจะโอนย้ายไปรวมกับฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่เป็นฝูงเดียวและฝูงสุดท้าย
กองทัพอากาศไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ชุดสุดท้ายของฝูงบิน๔๑๑ เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)

เจ้าหน้าที่ KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้กล่าวกับ Janes ก่อนหน้านี้ว่าตนยังมองที่จะได้รับการสั่งจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH จากกองทัพอากาศไทยอีก ๒เครื่อง รวมถึงข้อเสนอการปรับปรุงขีดความสามารถ(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/fa-50-sniper-atp.html)
ทั้งการบูรณาการระบบเครือข่าย Link-T Data Link ที่ไทยพัฒนาเอง, การใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนี และกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) สหรัฐฯครับ