วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๖




US Army's Boeing AH-64 Apache and US Marine Corps's Bell AH-1Z Viper attack helicopters during exercise Cobra Gold 2020 in Thailand.

โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ งบประมาณผูกพันปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) ด้วยวิธี Foreign Military Sale(FMS) กับรัฐบาลสหรัฐของกองทัพบกไทยถูกยกเลิกไปเนื่องจากการตัด งป.กลาโหมจาก Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
ในการทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ๗เครื่องด้วยวิธี FMS ทำให้ตัวเลือกมีเพียงสองแบบคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper ระยะที่๑ ๓-๔เครื่องจากทั้งหมด ๖-๘เครื่อง
ถ้ามองว่า ศบบ.ทบ.กำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html) ตัวเลือกที่ดีที่สุดควรจะเป็น ฮ.จ.๖๔ AH-64E Apache มากกว่า AH-1Z ที่หลายสื่อมักระบุว่าเป็นผู้ชนะครับ




Thailand’s Ministry of Defence has ordered one additional C295 airlifter for Royal Thai Army (RTA), increasing the country’s C295 fleet to a total of three aircraft. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708/user/100004264301835/)

กองทัพบกไทยได้ลงนามจัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W เพิ่มเติม ๑เครื่อง ตามโครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ จำนวน ๑เครื่อง วงเงิน ๑,๓๔๘,๒๗๖,๔๕๒บาท หรือ 34,615,570 Euros($42,075,918) กับ บริษัท Airbus Defence and Space สเปน 
กองทัพบกไทยมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W ประจำการ ณ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ๒เครื่อง การสั่งจัดหาล่าสุดทำให้จำนวนรวมเพิ่มเป็น ๓เครื่อง โดยเป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการทั้งหมด ๔เครื่อง ทำให้น่าจะมีการจัดหาเพิ่มอีก ๑เครื่องในอนาคต
กองทัพบกไทยได้ประชาสัมพันธ์ว่าตนได้ยกเลิกการจัดซื้อเครื่องบินโดยสารบุคคลสำคัญ VIP โดยเปลี่ยนมาเป็นการจัดหา บ.ล.๒๙๕ C295W เพิ่ม ๑เครื่องดังกล่าวแทน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยเหลือประชาชนต่อภารกิจบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติและสาธารณภัยต่างๆมากกว่าครับ




Defence Technology Institute (DTI) and Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA) signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Medium Tactical Unmanned Aircraft System (UAS) in 22 June 2021.

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOA: Memorandum of Agreement) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI กับกองทัพบกไทยด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04 สำหรับศูนย์การบินทหารบก ศบบ.เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ ที่รวมถึงระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) ที่ได้มีการทดสอบไปแล้วด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/dti-cuas-x-madis.html)
DTI ได้ให้ความสำคัญการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ UAV ในไทยและร่วมมือกับต่างประเทศมาตลอด และยังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพไทยและหน่วยงานรัฐไทยในการจัดหาไปทดลองใช้งานและเข้าประจำการจริงแล้วหลายระบบ เป็นการพัฒนาวิทยาการด้านความมั่นคงของไทยครับ
(แผ่นป้ายพื้นหลังในพิธียังได้แสดงถึงภาพเงา(silhouette) ของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache Longbow ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อ ฮ.โจมตี ระยะที่๑ ที่เลื่อนออกไปหรือไม่ เพราะการจัดซื้อรูปแบบ FMS รัฐต่อรัฐกับสหรัฐฯก็มีตัวเลือกแค่ ฮ.จ.๖๔ AH-64E กับ AH-1Z
เพราะมองว่าโครงการที่ ศบบ.เป็นเจ้าภาพร่วม ทาง DTI ไม่น่าจะใส่รูปอะไรที่ไม่มีความหมายในลักษณะแค่เอาภาพมาประกอบเฉยๆ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาในอดีตแผ่นป้ายประกอบงานต่างๆแบบนี้อาจจะมีการนำรูปอาวุธยุทโธปกรณ์ของต่างประเทศที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงมาใช้บ่อยๆก็ตาม)


3 of Norinco VN16 Tracked Amphibious Armoured Assault Vehicle  for Royal Thai Marine Corps (RTMC) was shipped from China to Thailand at Sattahip Naval Base, Royal Thai Navy (RTN) in late May 2021.

โฆษกกองทัพเรือชี้เแจง กรณีการจัดหารถถังเข้าประจำการในหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
วันนี้ (1 มิถุนายน 2564)  พลเรือเอก เชษฐา  ใจเปี่ยม  โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ตามที่ มีการกล่าวถึงการจัดส่งรถถังมายังประเทศไทย ในการพิจารณางบประมาณ 2565 ของรัฐบาล เมื่อ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นั้น 
กองทัพเรือขอชี้แจงว่า  กองทัพเรือ ได้จัดหา ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก แบบ ZTD 05A  หรือ VN 16  จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ 1 จำนวน 3 คัน วงเงิน 398,143,400 บาท ในปีงบประมาณ 2563  
เพื่อทดแทนรถถังหลัก Type 69-II  ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  ทั้งนี้ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จะเข้าประจำการ ในกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
สำหรับ ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16  ออกแบบและผลิตโดย China North Industries Corporation (NORINCO)  ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของจีน  
โดย VN 16 เป็นรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก มีน้ำหนักประมาณ 26.5 ตัน ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม. เกราะทำด้วยอลูมิเนียมอัลลอย มีความเร็วบนถนน 65 กม./ชม. ความเร็วในน้ำ  25 กม./ชม.  
โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันว่า การจัดหายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก แบบ VN 16  นั้น เป็นการจัดหาในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นไปตามแผนการเสริมสร้างกำลังกองทัพเท่าที่มีความจำเป็น เพื่อดูแลความมั่นคงในส่วนที่กองทัพเรือรับผิดชอบ 
โดยดำเนินการในห้วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส COVID - 19 ทั้งนี้ กองทัพเรือ มุ่งมั่นในการเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ เป็นที่พึ่งของประชาชนและบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งกระบวนการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นไประเบียบราชการทุกประการ
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ




Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies SDT Composites and Pims Technologies was demonstrated MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) operation onboard helicopter flight deck of LPD-791 HTMS Angthong, the Landing Platform Dock in 10 June 2021.

การทดสอบการปฏิบัติการจากลานจอดเฮลิคอปเตอร์ของเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ นับเป็นความสำเร็จล่าสุดของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.
ซึ่งกองทัพเรือไม่ได้เพียงจะจัดหาระบบ UAV ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือจากต่างประเทศเช่น Orbiter 3B, Schiebel Camcopter S-100(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_14.html) และRQ-21 Blackjack(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html
แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเอกชนภายในไทย ซึ่งผลงานที่เห็นได้เป็นรูปธรรมที่ผ่านมาคืออากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Narai UAV ที่มีสายการผลิตจำนวนมากและได้ถูกจัดหาไปใช้งานจริงโดยหลายหน่วยงานความมั่นคงของไทยแล้วครับ




Royal Thai Air Force (RTAF)'s F-16A Block 15 ADF and F-16B Block 15 ADF of 102nd Squadron, Wing 1 Korat.


Royal Thai Air Forec's 102nd Fighter Interceptor Squadron Days, 14 June 2021

เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔) “เราจะหยุดไพรีที่ห้าวหาญ”

ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับ กองบิน ๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๙ เดิมชื่อฝูงบิน ๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบิน ๑๒ โดยมี ร.อ.จิตต์ ผ่องใส เป็นผู้บังคับฝูงบินคนแรก 
โดยบรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ บ.ข.๑๕ เข้าประจำการ ณ สนามบินดอนเมือง ฝั่งตะวันตก จังหวัดกรุงเทพมหานคร 

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ กองทัพอากาศได้มีการแก้ไขอัตรา ทอ. พ.ศ.๒๕๐๖ ครั้งที่ ๑๒๖ ฝูงบิน ๑๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ และย้ายที่ตั้งมาอยู่ ณ สนามบินโคราช จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการบรรจุข้าราชการตามอัตราใหม่ 
โดยมี น.ท.อมร แนวมาลี เป็นผู้บังคับฝูงบิน ๑๐๒ ฯ คนแรก ตามคำสั่ง ทอ.ที่ ๑๐๗๘/๒๐ ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐ 

ต่อมากองทัพอากาศได้บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๘ ข/ค เข้าประจำการกับฝูงบิน ๑๐๒ ฯ เมื่อ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๑ จึงได้ถือว่าวันนี้เป็นวันที่ ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ มีองค์ประกอบครบสมบูรณ์ 
กล่าวคือ เป็นครั้งแรกซึ่งใช้ชื่อ ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ เป็นครั้งแรกที่มีอัตรากำลังพลบรรจุ และเป็นโอกาสแรกซึ่งมีเครื่องบินบรรจุเข้าประจำการ จึงให้ถือ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสำคัญและเป็นวันคล้ายวันสถาปนา ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ สืบไป    
  
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการทุกระดับของ ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ ได้ทุ่มเทกายใจ กำลังความคิด ด้วยความวิริยะอุตสาหะ พัฒนาปรับปรุง ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและทันสมัยมาโดยตลอด 
เพื่อภารกิจในการปกป้องคุ้มครองอธิปไตยของชาติ สมดังข้อความบนตราสัญลักษณ์ ฝูงบิน ๑๐๒ ฯ ที่ว่า “เราจะหยุดไพรีที่ห้าวหาญ” และจะยังคงยึดมั่นตลอดไป

แม้ว่าตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ควรจะเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙ F-16A Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
ซึ่งเครื่องที่โครงสร้างหมดอายุการใช้งานเครื่องแรกคือ บ.ข.๑๙  F-16A ADF หมายเลข 10207 ก็มีพิธีปลดประจำการไปเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html) และจะมีอีกหลายเครื่องที่ต้องปลดลงในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณกลาโหม ๒๕๖๕ และต่อเนื่องอีกหลายปีจากผลกระทบ Covid-19 ทำให้กองทัพอากาศไทยถูกตัดโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนในฝูงบิน๑๐๒ ออกไปแบบไม่มีกำหนด ซึ่งอาจจะยาวไปจนถึงส่วนทดแทนฝูงบิน๑๐๓ ที่จะเริ่มในปี พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ครับ


The first of two Textron AT-6E Wolverine light attack aircraft for the US Air Force was received on 17 February 2021.


Royal Thai Air Force Security Force Command's Saab RBS 70 and QW-2 surface-to-air missiles.

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๘ เครื่อง - จัดซื้อเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๘ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบสนับสนุนการฝึก การฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ตามที่กองทัพอากาศได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้อโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๘ เครื่อง - จัดซื้อเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๘ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบสนับสนุนการฝึก การฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาะจง นั้น 
ผู้ได้รับการคัดเลือกได้แก่ บริษัท เท็กซ์ตรอน เอวิเอชั่น ดีเฟนซ์ แอลแอลซี โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง
ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔

ประกาศยกเลิกการซื้อโครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ - จัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้พร้อมติดตั้ง และการฝึกอบรม จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีคัดเลือก

โครงการเครื่องบินโจมตีเบา A-6TH(AT-6E Wolverine) ระยะที่๑ จำนวน ๘เครื่อง ที่จะเข้าประจำการในฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ผู้ชนะคือบริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯ ตามเลือกเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)
แต่จากที่กรมยุทธการทหารอากาศ(Directorate of Operations) กองทัพอากาศไทย ประกาศเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ถึงโครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารโดยการจัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ จำนวน ๑ ระบบ เป็นวงเงิน ๙๔๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($30,230,428) 
นั้นล่าสุดในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เช่นกัน ได้มีการยกเลิกประกาศเชิญชวนโครงการไปแล้ว จึงไม่ทราบว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ ๑ระบบที่จะมีการแข่งขันกันระหว่างบริษัท Datagate ไทย และ บริษัท RV Connex ไทย ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเป็นระบบลักษณะใดครับ

The computer graphic images of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd new concept for Phantom-S 4x4 wheeled armoured vehicle in configuration of air defence variant.



Gibka-S Mobile Short-Range Surface-to-Air Missile system based on Tigr-M 4x4 vehicle with Igla-S or Verba Man-portable air-defence system (MANPADS)

Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy announced Datagate co.,Ltd. is winner for bidding to acquire 5 of Mobile Short-Range Surface-to-Air Missile on 4x4 vehicles for RTN Naval Air and Coastal Defence Command.

ขณะที่กองทัพอากาศไทยยกเลิกโครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ ๑ระบบ ทางกองทัพเรือไทยได้ประกาศผู้ชนะโครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.
คือ บริษัท Datagate ไทย เป็นวงเงิน ๒๔๕,๘๙๐,๐๐๐บาท($7,682,982.06) ซึ่งเข้าใจว่า แต่ละชุดยิงจะเป็นการจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่ายิง Igla-S รัสเซีย สำหรับติดตั้งในแท่นยิงบนรถยนต์เฉพาะการ จำนวน ๑คัน ซึ่งเป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4x4 สี่ประตูแบบหุ้มเกราะ
ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ ที่มีการประกาศผล บริษัท Panus Assembly ไทย ได้เผยแพร่ภาพสามมิติแนวคิดรถหุ้มเกราะล้อยาง Phantom-S 4x4 ของตนในรูปแบบระบบป้องกันกันภัยทางอากาศ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับโครงการของกองทัพเรือไทยหรือกองทัพอากาศไทยหรือไม่ครับ




Royal Thai Navy (RTN) was formal launching ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (T.997 and T.998) from Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited in 21 June 2021.

กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 สองลำลงน้ำ เรือ ต.997 และเรือ ต.998 ณ อู่เรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นหนึ่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมทางเรือไทย
เรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.997 จะเป็นเรือรบแบบแรกของกองทัพเรือไทยที่ติดตั้งระบบอาวุธรัสเซียคือปืนกล AK-306 ขนาด 30mm(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html) โดยคาดว่าระบบอาวุธทั้งหมดจะถูกติดตั้งเสร็จก่อนการส่งมอบเรือในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔
เมื่อเข้าประจำการจะทำให้ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีเรือ ตกฝ.รวมทั้งหมด ๑๖ลำต่อจากที่มีชุดเรือ ต.81 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.991 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.994 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.111 ๓ลำ และชุดเรือ ต.114 ๒ลำ ตามความต้องการ อีกทั้งเป็นสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในไทยด้วยครับ