วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

แผนการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองในประเทศของอินเดียยังคงถูกพักไว้

Plans for India’s second indigenous aircraft carrier continue to stall
INS Vikramaditya (foreground) pictured in company with INS Viraat in early 2014. Viraat was formally decommissioned in March 2017, leaving the IN with just one carrier in operation. Source: Indian Navy
http://www.janes.com/article/81624/plans-for-india-s-second-indigenous-aircraft-carrier-continue-to-stall

แผนที่มีมายาวนานของกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ในการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง(IAC-2: Second Indigenous Aircraft Carrier)ภายในประเทศ เพื่อเข้าประจำการภายในปี 2030-2032 ยังคงถูกพักไว้ต่อไปอีก
เนื่องจากการตัดลดงบประมาณอย่างต่อเนื่อง, อุปสรรคด้านวิทยาการ และเหนือสิ่งอื่นใดคือความล่าช้ามาอย่างยาวนานในการอนุมัติโครงการโดยกระทรวงกลาโหมอินเดีย

ข้อเสนอในการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานตามแบบ 'ดาดฟ้าเรียบ' ขนาดระวางขับน้ำ 65,000-70,000tons ที่ยังไม่แน่ว่าจะมีชื่อเรือ INS Vishal("วิศาล", ใหญ่โต) ที่สามารถบรรทุกอากาศยานปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุนได้ 50-60เครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ 30knots
และมีวงเงินโครงการที่ 800-900 billion Indian Rupee($11.65-13 billion) เป็นส่วนหนึ่งของแผนขีดความสามารถทางทะเล Maritime Capability Perspective Plan(MCPP) ของกองทัพเรืออินเดีย

โครงการถูกประกาศครั้งแรกในปี 2005 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นแผนระยะ 15ปีจนถึงปี 2027 เป็นหนึ่งในแผน MCPP ที่กองทัพเรืออินต้องการจะมี 3กองเรือบรรทุกเครื่องบิน(CBG: Carrier Battle Groups) วางกำลังในแต่ละด้านของชายฝั่งทะเล 2กองเรือ และ 1กองเรือสำรอง
สำหรับกองทัพเรืออินเดีย กองเรือบรรทุกเครื่องได้รวม 'การควบคุมทะเล' เพื่อเข้าถึงการแสดงกำลังในภูมิภาค ช่วยเหลือการสร้างสภาพแวดล้อมความมั่นคงในภูมิภาค และตอบโต้แผนของจีนที่จะวางกำลังเรือบรรทุกเครื่องบิน 5-6ลำ ในยุทธศาสตร์สำคัญต่อภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย

"รัฐบาลอินเดียจำเป็นที่ต้องดำเนินการอนุมัติเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง IAC-2 อย่างเร่งด่วน ที่นั่นจะเป็นตัวกำหนดว่าอินเดียหรือว่าจีนเป็นผู้ครอบครองภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย(IOR: Indian Ocean Region)"
อดีผู้บัญชาการกองทัพเรืออินเดีย พลเรือเอก Arun Prakash กล่าวกับ Jane's เขาเสริมว่าถ้าไม่เช่นนั้นอินเดียจะต้องจบลงที่การเป็นประเทศที่มีบทบาทระดับรองในภูมิภาคนี้

ปัจจุบันกองทัพเรืออินเดียมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการเพียงลำเดียวคือ INS Vikramaditya ขนาดระวางขับน้ำ 44,000tons ซึ่งเดิมคือเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev รัสเซียชื่อ Admiral Gorshkov ที่ได้รับการปรับปรุงเรือใหม่
โดยมีกำลังอากาศยานประจำเรือหลักคือเครื่องบินขับไล่ MiG-29K/KUB(NATO กำหนดรหัส Fulcrum-D) ซึ่งทั้งตัวเรือและเครื่องบินขับไล่ MiG-29K ต่างมีรายงานปัญหาการใช้งาน(http://aagth1.blogspot.com/2016/07/vikramaditya-mig-29k.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/08/pak-fa-su-57-mig-29k.html)

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Viraat ขนาดระวางขับน้ำ 23,900tons ซึ่งเดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Centaur ชื่อ HMS Hermes กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy)
ซึ่งมีอากาศยานประจำเรือหลักคือเครื่องบินขับไล่บินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง Sea Harrier FRS.51 ได้ปลดประจำการเมื่อเดือนมีนาคม 2017 หลังประจำการในกองทัพเรืออินเดียมา 30ปี

ภายในปี 2018-2019 เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ขนาดระวางขับน้ำ 37,000tons ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องลำแรกที่สร้างในอินเดียตามโครงการ Project 71 จะถูกนำเข้าประจำการ
INS Vikrant เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการสร้างที่อู่เรือ Cochin Shipyard Limited ตั้งแต่ปี 2009(http://aagth1.blogspot.com/2015/06/ins-vikrant.html)

ทั้งนี้เมื่อเดือนมกราคมปี 2017 กองทัพเรืออินเดียได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_29.html)
หลังจากที่เครื่องบินขับไล่ Tejas รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน(http://aagth1.blogspot.com/2014/12/lca-navy-ski-jump.html) ที่พัฒนาโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL)อินเดียถูกปฏิเสธการนำเข้าประจำการเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงความต้องการครับ