วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566

มาเลเซียสั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับ ANKA UAV ตุรกี 3ระบบ

LIMA 2023: Malaysia orders three TAI Ankas




Acquisition of the TAI Anka unmanned aircraft system will enhance Malaysia's surveillance and reconnaissance capabilities over the country's maritime zones. 
When armed, the UAS will also provide the military with a credible attack or point-defence capability. (Janes/TAI)



รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศสัญญากับบริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับพหุภารกิจ Anka UAS(Unmanned Aircraft System) จำนวน 3ระบบ
Anka(นก Phoenix) เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE: Medium-Altitude, Long-Endurance) UAS ที่มีขีดความสามารถการปฏิบัติการที่หลากหลาย

ตั้งแต่ปฏิบัติการข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance), สงคราม electronic(EW: Electronic Warfare) และการรบ
กระทรวงกลาโหมมาเลเซียประกาศสัญญาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2023 ระหว่างงานแสดงนิทรรศการทางเรือและการบินนานาชาติ Langkawi International Maritime and Aerospace(LIMA) 2023 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา

กระทรวงกลาโหมมาเลเซียกล่าวในการประกาศของตนว่าวงเงินของสัญญาอยู่ที่ 423.8 million Malaysian Ringgit($91.6 million) และอากาศยานไร้คนขับ Anka จะสนับสนุนปฏิบัติการของ
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) และตำรวจมาเลเซีย(RMP: Royal Malaysia Police, PDRM: Polis Diraja Malaysia)

กระทรวงกลาโหมมาเลเซียเสริมว่าอากาศยานไร้คนขับ Anka UAS ทั้ง 3ระบบเหล่านี้รวมอยู่ในการจัดหาระยะที่1(Phase 1)(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/turkish-aerospace.html)
โฆษกจาก Turkish Aerospace ตุรกีเสริมว่ามูลค่าวงเงินสัญญารวมถึงตัวอากาศยานจำนวน 3เครื่องและสถานีควบคุม กองทัพอากาศมาเลเซียจะเป็นผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka

การจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka ตุรกีมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงแผนการพัฒนาขีดความสามารถ 2055(CAP55: Capability Development Plan 2055) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
แผน CAP55 มุ่งเป้าที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกองทัพอากาศมาเลเซียเข้าสู่กองกำลัง 'full spectrum' และรวมถึงการรวมเข้าด้วยกันของหนึ่งฝูงบินกับระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน MALE UAS

โฆษกกองทัพอากาศมาเลเซียกล่าวกับ Janes ว่าแผน CAP55 มีความต้องสำหรับการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ MALE UAS ถึง 9ระบบโดยแบ่งเป็นสามระยะ "แต่ละระยะมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาอากาศยานไร้คนขับจำนวน 3เครื่อง" โฆษกกองทัพอากาศมาเลเซียกล่าว
ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft อากาศยานไร้คนขับ Anka มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 1,700kg ทำความเร็วบินวนรอที่ 88knots ระยะเวลาบินได้นาน 30ชั่วโมง ที่เพดานบิน 30,000ft และระยะทำการ 135nmi ผ่านเครือข่าย datalink

อากาศยานไร้คนขับ Anka มีขีดความสามารถภาระบรรทุกที่ 350kg สามารถติดอาวุธได้รวมถึงระเบิดนำวิถี laser แบบ MAM-L และ MAM-C ของบริษัท Roketsan ตุรกี พร้อมระบบชี้เป้าหมาย Common Aperture Targeting System(CATS) ของบริษัท Aselsan ตุรกี
รวมถึงระบบตรวจจับกล้อง electro-optical/infrared(EO/IR) และ radar สร้างแผนที่ภูมิประเทศ synthetic aperture radar(SAR) เช่นเดียวกับระบบสื่อสารดาวเทียม ทำให้มอบขีดความสามารถการโจมตีหรือการป้องกันเป็นจุดที่น่าเชื่อถือแก่กองทัพครับ