วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Defense & Security 2023: DTI ไทยมีความก้าวหน้าการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A

Defense & Security 2023: Thailand progresses D11A development





The D11A, pictured at the Defense & Security 2023 show in Bangkok, is intended to launch guided and unguided rocket systems of different calibres, with an effective range between 40 and 300 km. (My Own Photos/Ministry of Defence of Thailand)

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหมไทยได้มีความคืบหน้าเพิ่มเติมการพัฒนาของรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A
ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนาในประเทศไทยของระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายขนาดลำกล้องอัตตาจรแบบ PULS(Precise and Universal Launching System) ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/dti-d11a.html)

เจ้าหน้าที่ DTI ไทยกล่าวกับ Janes ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมาว่า
ต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ได้สร้างเสร็จในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) และกองทัพไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้จัดตั้งคณะกรรมการทดสอบประเมินค่าเพื่อจะประเมินว่าระบบตรงความต้องการทางยุทธวิธีของกองทัพบกหรือไม่

เจ้าหน้าที่ DTI ไทยกล่าวว่าความต้องการขั้นต้นสำหรับกองทัพบกไทยคือสำหรับจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A จะสามารถยิงจรวดนำวิถีพื้นสู่พื้นด้วยดาวเทียม GPS(Global Positioning System) ภายในรายการคลังแสงอาวุธของกองทัพบกไทยที่ระยะยิง 40km 
ขีดความสามารถในการยิงที่ระยะไกลขึ้นคาดว่าจะบรรลุผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป การตัดสินใจโดยคณะกรรมการทดสอบประเมินค่าของกองทัพบกไทยคาดว่าจะมีก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) นี้ ซึ่งสิ้นสุดในสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗

ขั้นระยะต่อไปของการจัดซื้อจัดจ้างจะรวมถึงกาารประเมินโดยคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทยและตามมาด้วยการลงนามสัญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านงบประมาณ
ควบคู่ไปกับขั้นตอนนี้ DTI ไทยยังมีแผนที่จะสร้างต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ระยะที่สอง ที่เป็นไปตามข้อตกลงการพัฒนาที่ลงนามไว้กับกองทัพบกไทยเมื่อหลายปีก่อน

โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีของ DTI ไทยก่อนหน้านี้มีความล่าช้าเนื่องจากความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/dti-d11a.html)
ต้นแบบ D11A ที่แสดงในงานแสดงการติดตั้งแท่นยิงแบบ modular สองแท่นประกอบด้วยจรวดนำวิถี EXTRA ขนาด 306mm ระยะยิงหวังผล 150km ชุดยิงละ ๔นัด และจรวดนำวิถี Predator Hawk ขนาด 370mm ระยะยิงหวังผล 300km ชุดยิง ๒นัด

ความเห็นวิเคราะห์
เจ้าหน้าที่ DTI ไทยกล่าวกับผู้เขียนว่าจรวดนำวิถี Accular ขนาด 122mm ระยะยิงหวังผล 40km ชุดยิง ๑๘นัด ที่มีการทดสอบสมรรถนะการติดตั้งกับรถแคร่ฐานรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10 tonne สาธารณรัฐเช็กไปก่อนหน้า จะเป็นจรวดพื้นสู่พื้นแบบแรกที่จะมีการทดสอบการยิงจริง 
ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป.(Artillery Center) ค่ายภูมิพล(Bhumibol Camp) จังหวัดลพบุรี ในระยะยิง 19km ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ นี้เช่นเดียวกับระบบจรวดอื่นๆที่ DTI พัฒนาก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d11a.html)

Elbit Systems อิสราเอลยังได้นำเสนอจรวดร่อนทางยุทธวิธีอัตโนมัติ(Autonomous Loitering Munition) แบบ SkyStriker ซึ่งสามารถทำการยิงจากฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ได้ ทำให้มีความอ่อนตัวสูงและมีค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานต่ำ
ตามข้อมูลจากบริษัท Elbit Systems จรวดร่อนทางยุทธวิธีอัตโนมัติ SkyStriker มีพิสัยปฏิบัติการถึง 100km บินและติดตามเป้าหมายได้นาน ๒ชั่วโมง ติดตั้งระบบตรวจจับกล้อง Eletro Optical/Infrared(EO/IR) และหัวรบขนาด 5-10kg ในการพุ่งโจมตีทำลายเป้าหมายแบบทำลายตัวเอง

D11A อย่างน้อยสองระบบจะถูกส่งมอบเข้าประจำการ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ ป.๗๑ พัน.๗๑๑(711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regimen) กองพลทหารปืนใหญ่ พล.ป.(Artillery Division) ซึ่งเป็นหน่วยใช้จรวดหลายลำกล้องของกองทัพบกไทย
เจ้าหน้าที่ DTI ไทยยังเปิดเผยว่า จรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี DTI-1G ขนาด 302mm ที่พัฒนาเสร็จและส่งมอบเข้าประจำการ ณ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ พล.ป.แล้วนั้น กองทัพบกไทยมีแผนที่จะส่ง จลก.นำวิถี DTI-1G ไปทดสอบการยิงจริงที่ Inner Mongolia สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ