วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๖-๑๐




The Royal Thai Air Force (RTAF) new Commander-in-Chief Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul responded to new Thailand government's economic improvement policies by not proposing any major combat aircraft procurement neither additional 3 of Saab Gripen nor new 12 fighter attack to replaced Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon on Defence budget for Fiscal Year 2024. (Royal Thai Air Force)
F-16 fighter replacement programme that likely will begin as soon as Fiscal Year 2025, There also be implemented with counter trade, barter trade and offset policy for weapons and equipments procurement by new Thai Government policy, that will limited source countries. 

เป็นที่ชัดเจนจากผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ว่ากองทัพอากาศไทยจะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะไม่มีการจัดซื้อจัดอาวุธยุทโธปกรณ์หลักโดยเฉพาะเครื่องบินรบในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นี้
สำหรับทั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานีเพิ่มเติม ๓เครื่อง และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ โคราช ที่คาดว่าจะเริ่มต้นได้อย่างเร็วที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) 
อย่างไรตามสำหรับการตอบสนองต่อนโยบายใหม่ของกระทรวงกลาโหมไทยที่ต้องการจะให้มีการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศในรูปแบบการค้าต่างตอบแทนและข้อตกลงชดเชย(counter trade, barter trade and offset policy) นั้นแม้จะมองดูดีแต่ในความเป็นจริงก็ยังมีข้อน่ากังวลอยู่ 

ปัญหาที่ตามมาคือแทบทุกประเทศที่เป็นผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ต้องการ 'เงินสด' เป็นหลัก เช่นสหรัฐฯซึ่งดูไม่สนับสนุนการขายในรูปแบบการค้าต่างตอบแทนเท่าไรเพราะตนเองก็มีรูปแบบการขายช่วยเหลือมิตรประเทศหลายแบบเช่น Foreign Military Sales(FMS) หรือ Excess Defense Article(EDA)
หรือสวีเดนเองช่วงหลังก็เน้นที่ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการมากกว่าที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของบราซิลที่มองจะซื้อเพิ่มถ้าสวีเดนจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง KC-390 ของตนกลับไปด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/kc-390-c-130k.html)
นอกจากข้อจำกัดด้านแหล่งที่มาแล้ว รูปแบบการจัดซื้อด้วยวิธีการค้าต่างตอบแทนเองก็มีปัญหาตัวเองด้วย ตัวอย่างเช่นโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-29N และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ของกองทัพอากาศมาเลเซียจากรัสเซียที่จัดซื้อในรูปแบบชดเชยด้วยสินค้าเกษตรอย่างเช่นน้ำมันปาล์ม 

ซึ่งที่ผ่านมาเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียของมาเลเซียเหล่านี้มีปัญหาด้านความพร้อมอย่างมาก โดย MiG-29N งดบินทั้ง ๑๖เครื่อง(จัดหามา ๑๘เครื่อง ตกไป ๒เครื่อง)ถือว่าถูกปลดประจำการโดยพฤตินัย ส่วน Su-30MKM ก็มีปัญหาการซ่อมบำรุงจนช่วงหนึ่งบินได้แค่เพียง ๔เครื่องจากทั้งหมด ๑๘เครื่อง
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F/A-18D จำนวน ๘เครื่องที่จัดหาจากสหรัฐฯในรูปแบบตามปกติกลับเป็นเครื่องบินรบที่มีความพร้อมสูงสุดของกองทัพอากาศมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/blog-post_29.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)
อีกตัวอย่างคือโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35S ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียจากรัสเซีย จากที่เริ่มโครงการในปี 2011 อินโดนีเซียมีความตั้งใจที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-5E/F Tiger II ของตนด้วยเครื่องบินขับไล่ Su-35S ด้วยการจัดซื้อรูปแบบชดเชยด้วยสินค้าเกษตรเช่นยางพารา 

แต่กว่าที่จะเจรจาจนลงนามจัดจริงๆก็ล่วงไปถึงปี 2018 ต่อมาพอสหรัฐฯบังคับใช้กฎหมายรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ก็เป็นการบีบบังคับให้อินโดนีเซียต้องล้มเลิกแผนที่จะจัดหา Su-35 ไป 
โดยอินโดนีเซียหันไปจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/rafale-18.html) และเครื่องบินขับไล่ F-15EX สหรัฐฯแทน(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/mou-boeing-f-15ex-24.html) โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
และเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่มีความร่วมมือการถ่ายทอดวิทยาการกับสาธารณรัฐเกาหลีที่ยังมีประเด็นการชำระค่าใช้จ่ายโครงการล่าช้าอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21.html) เพื่อตัดความเสี่ยงที่ระบบอากาศยานสหรัฐฯทั้งเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM/C/D หรือ เครื่องบินลำเลียง C-130J ของตนจะใช้งานไม่ได้ 

กองทัพอากาศไทยเองก่อนจะตัดสินใจจัดหา บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ในปี พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑(2007-2008) ก็เคยมีตัวเลือกในการพิจารณาเป็นเครื่องบินขับไล่ Su-30MK รัสเซียที่จะจัดซื้อแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นสนับสนุนช่วง พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘(2004-2005) 
ถ้าตอนนั้นกองทัพอากาศไทยถูกบังคับให้จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MKT รัสเซียแลกกับไก่แช่แข็งขึ้นมาจริงก็เป็นไปได้สูงมากที่สภาพความพร้อมของเครื่องบินจะเป็นแบบเดียวกับมาเลเซีย หรือถ้าจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D แลกกับไก่แช่แข็งกว่าจะเจรจาลงตัวก็จะใช้เวลานานขึ้นมาก
ดังนั้นการจัดหาของไทยจะต้องพิจารณาให้รอบคอบไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับประเทศอื่น ที่จะส่งผลร้ายให้การทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ที่ใกล้หมดอายุการใช้งานลงจะล่าช้าออกไป หรือถึงขั้นทำให้กองทัพอากาศไทยอาจจะได้เครื่องบินขับไล่ที่มีคุณลักษณะไม่เป็นที่พึ่งปรารถนาของตน

การแถลงนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ โดย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ  ณ ห้องประชุมเฉลิมอากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ได้ยืนยันในเรื่องนี้
ในงบประมาณปี ๒๕๖๗ ยังมีการซ่อมปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ที่จะเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ และเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๑๙ Airbus A340-500 ที่ต้องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และโครงสร้างอากาศยาน เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ก BT-67 ก็จะมีการปรับปรุงอุปกรณ์บรรจุน้ำและเก้าอี้ดีตัว 
ขณะที่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ที่มีกำหนดปลดช่วงปี พ.ศ.๒๕๗๑-๒๕๗๕(2028-2032) ไม่คุ้มที่จะปรับปรุงใช้ต่อเพราะค่าซ่อมบำรุงสูงมากเช่นอะไหล่จากเดิม ๑๐๐,๐๐๐บาทต่อชั่วโมงบินจะขึ้นเป็น ๖๐๐,๐๐-๙๐๐,๐๐๐บาทต่อชั่วโมงบิน และเมื่อเหลือ บ.ล.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงเดียวก็ไม่เพียงพอ

ต่อมาวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย นายสุทิน  คลังแสง ได้ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่กองทัพอากาศไทย ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมไทยได้ตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหมใม่ทดแทน F-16 ว่า
เขาเป็น Fan เครื่องบินขับไล่ F-16 ตามที่ในสมัยยังหนุ่มที่เข้าประจำการใหม่มันเป็นเครื่องบินรบที่ร้ายกาจและทันสมัยมาก แต่เขาทราบดีว่าพวกมันมีอายุการใช้งานมานานแล้วและจำเป็นต้องมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่มาทดแทนในอนาคต แต่ยังไม่ได้มีการเลือกในตอนนี้ว่าจะเป็นของประเทศใด
ในกรณีแนวคิดการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียหรือจีนเช่นในสมัยรัฐบาลปี ๒๕๔๗ นั้น รัฐมนตรีกลาโหมไทยกล่าวว่ารัฐบาลไทยจะไม่เข้าแทรกแซงการเลือกแบบของกองทัพอากาศไทยซึ่งเป็นผู้ใช้งาน การซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบที่มีอยู่เช่นระเบิดนำวิถี KGGB และเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A ก็จะยังดำเนินต่อไปด้วยครับ





Vihok 04 Airbus A340-500 60204 RTAF 220, the second flight mission for evacuate Thai people in Israel 18-19 October 2023. (Royal Thai Air Force)



Vihok 04 Airbus A340-500 60204 RTAF 229, the third flight mission for evacuate Thai people in Israel 21-22 October 2023. (Royal Thai Air Force)




Vihok 04 Airbus A340-500 60204 RTAF Fujairah 1, the fourth flight mission for evacuate Thai people in Israel from United Arab Emirates and Oman 25-26 October 2023. (Royal Thai Air Force)

Godspeed,Vihok04. RTAF 218 flight Mission to Israel.
The first flight of the Royal Thai Air Force takes Thai people back from Israel.
Monday , October 16, 2023 at 6:50 a.m., the first flight of the RTAF A340-500 60204 flight to evacuate Thai people in Israel Arrived at Military Airport 2, Wing 6, 
with Mr. Suthin Khlangsaeng, Minister of Defense  and  Air Chief Marshal Seksan Kantha, Chief of Staff of the Air Force Representative of the Air Force Commander join in welcoming which is an overview of the results of this mission It went smoothly as  planned.
There were 130 Thai people in Israel returning to Thailand on the first flight, divided into 127 men, 2 women and 1 girl, by the Air Force.There are also organized flights with this aircraft . In the first phase of operations there will be another 5 flights.

กองทัพอากาศอพยพคนไทยในอิสราเอลกลับประเทศ เที่ยวแรกประสบความสำเร็จ ทุกคนปลอดภัย
เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 06.50 น. เครื่องบิน A340-500 ของกองทัพอากาศเที่ยวบินแรกที่เดินทางไปอพยพคนไทยในอิสราเอล เดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
โดยมี นายสุทิน  คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลอากาศเอกเสกสรร คันธา เสนาธิการทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งภาพรวมของผลการปฎิบัติภารกิจในครั้งนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่กองทัพอากาศวางแผนไว้
ทั้งนี้ คนไทยในอิสราเอลที่เดินทางกลับสู่ประเทศไทยในเที่ยวบินแรก จำนวน 130 คน แบ่งเป็นชาย 127 คน หญิง 2 คน และเด็กหญิง 1 คน โดยก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น 
ได้มีการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอขความพร้อมบินของผู้โดยสารโดยทีมแพทย์ทหารอากาศ และการตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบินโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน และมีลูกเรือดูแลอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางการบิน
ซึ่งเมื่อเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารจะผ่านกระบวนการตรวจร่างกาย การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจสอบสิทธิ ก่อนเดินทางไปสถาบันบำราศนราดูรเป็นลำดับต่อไป
สำหรับการอพยพคนไทยในเที่ยวบินที่ 2 กองทัพอากาศวางแผนนำ A340-500 ปฏิบัติภารกิจอีกครั้ง ในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 โดยใช้เส้นทางบินเดิม

เที่ยวบินเที่ยวที่ 2 ของกองทัพอากาศออกเดินทางรับคนไทยในอิสราเอล
กองทัพอากาศจัดเครื่องบิน Airbus340-500 ออกเดินทางไปรับคนไทยในอิสราเอล จำนวน 145 คน เป็นเที่ยวบินที่ 2 ซึ่งผู้อพยพแบ่งเป็นชาย 142 คน หญิง 3 คน ออกเดินทางในช่วงเช้าวันนี้ (18 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น.) 
โดยมี พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปแผนการปฏิบัติ พร้อมทั้งให้กำลังใจกำลังพลทหารอากาศและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
โดยเที่ยวบินที่ 2 ของกองทัพอากาศ จะทำการบินผ่านน่านฟ้า จำนวน 10 ประเทศ (เส้นทางบินเดิม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน อาร์มิเนีย ตุรกี ไซปรัส และอิสราเอล 
เมื่อเดินทางถึง ณ สนามบินเบนกูเรียน ใช้เวลาในการคัดกรองผู้อพยพและบรรทุกสัมภาระประมาณ 4 ชั่วโมง โดยทำการเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินเบนกูเรียน 90 ตัน การปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ มีกำลังพลกองทัพอากาศปฏิบัติภารกิจจำนวนทั้งสิ้น 35 คน 
ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติภารกิจ 1 คน ฝ่ายอำนวยการ 2 คน ชุดปฏิบัติการแพทย์ 4 คน ชุดรักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน 4 คน นักบินและลูกเรือ 24 คน รวมถึงบุคลากรจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน 
และผู้แทนจากกองทัพไทย ที่ร่วมเดินทางเพื่อให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่คนไทย
ทั้งนี้ ในเที่ยวบินที่ 2 กองทัพอากาศได้เรียนเชิญ เรืออากาศเอก พีรศักดิ์ นพอนันต์ชัย ผู้ตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติการบิน สำนักงานการบินกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นอดีตนักบินของกองทัพอากาศ มีประสบการณ์เคยเป็นกัปตันเครื่องบิน A340 ของการบินไทย 
และปัจจุบันทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการบินเครื่องบิน A340 ของกองทัพอากาศ มาช่วยปฏิบัติหน้าที่นักบิน ซึ่งจะทำให้ภารกิจการบินอพยพคนไทยในอิสราเอลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับแผนการเดินทางกลับนั้น ในวันพรุ่งนี้ (19 ตุลาคม 2566) เวลา 13.40 น.

เที่ยวบินเที่ยวที่ 3 (RTAF229) ของกองทัพอากาศออกเดินทางรับคนไทยในอิสราเอล โดยใช้เส้นทางบินสั้นกว่าเดิม
กองทัพอากาศจัดเครื่องบิน Airbus340-500 ออกเดินทางไปรับคนไทยในอิสราเอล เป็นเที่ยวบินที่ 3 ยอดผู้อพยพเบื้องต้น 140 คน ออกเดินทางในช่วงบ่ายวันนี้ (21 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น.) 
โดยมี พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปแผนการปฏิบัติ พร้อมทั้งให้กำลังใจกำลังพลทหารอากาศและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
โดยเที่ยวบินที่ 3 ของกองทัพอากาศ จะทำการบินผ่านน่านฟ้า ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐอินเดีย รัฐสุลต่านโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน และรัฐอิสราเอล 
ซึ่งการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้มีกำลังพลกองทัพอากาศปฏิบัติภารกิจ ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติภารกิจ ฝ่ายอำนวยการ ชุดปฏิบัติการแพทย์ ชุดรักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน นักบินและลูกเรือ 
นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงาน ที่ร่วมเดินทางเพื่อให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่คนไทย
ทั้งนี้ ในเที่ยวบินที่ 3 กองทัพอากาศได้เรียนเชิญ นาวาอากาศตรี เจริญชัย กังสมุทร มาร่วมเป็นที่ปรึกษาของทีมนักบินกองทัพอากาศ ซึ่งท่านเป็นกำลังพลสำรองเหล่านักบินของกองทัพอากาศ ปัจจุบันเป็นกัปตันเครื่องบิน A330/350 ของสายการบินไทย 
ซึ่งจะทำให้ภารกิจการบินอพยพคนไทยในอิสราเอลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับแผนการเดินทางกลับนั้นในวันพรุ่งนี้ (22 ตุลาคม 2566) เวลา 10.50 น.

เที่ยวบินที่ 3 ของกองทัพอากาศอพยพคนไทยในอิสราเอล กลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อช่วงเที่ยงวันนี้(วันที่ 22 ตุลาคม 2566 เวลา 12.15 น.) เครื่องบิน A340-500 ของกองทัพอากาศเที่ยวบินที่ 3 RTAF229 ที่เดินทางไปอพยพคนไทยในอิสราเอล เดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
โดยมี พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การต้อนรับ ผลการปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่กองทัพอากาศวางแผนไว้
ทั้งนี้ คนไทยในอิสราเอลที่เดินทางกลับสู่ประเทศไทยในเที่ยวบินที่ 3 มีจำนวน 139 คน แบ่งเป็นชาย 136 คน และหญิง 3 คน โดยก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น ได้มีการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบความพร้อมบินของผู้โดยสารโดยทีมแพทย์ทหารอากาศ 
และการตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบินโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน และมีลูกเรือดูแลอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางการบิน 
ซึ่งเมื่อเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารจะผ่านกระบวนการตรวจร่างกาย การตรวจสุขภาพจิต การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจสอบสิทธิ และการให้การปรึกษาด้านกฎหมาย ก่อนเดินทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒย์ (สถานีกลางบางซื่อ) ต่อไป
สำหรับการอพยพคนไทยในเที่ยวบินต่อไปกองทัพอากาศวางแผนนำ A340-500 จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจอีกครั้ง ในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ออกเดินทางในเวลา 02.40 น.

เที่ยวบิน Fujairah 1 ของกองทัพอากาศอพยพคนไทยในอิสราเอล กลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อช่วงเที่ยงวันนี้ (วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 11.40 น.) เครื่องบิน A340-500 ของกองทัพอากาศเที่ยวบิน Fujairah 1 ที่เดินทางไปอพยพคนไทยในอิสราเอล เดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
โดยมี พลอากาศเอก ณรงค์  อินทชาติ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การต้อนรับ ซึ่งผลการปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่กองทัพอากาศวางแผนไว้
ทั้งนี้ คนไทยในอิสราเอลที่เดินทางกลับสู่ประเทศไทย มีจำนวน 145 คน แบ่งเป็นชาย 141 คน และหญิง 4 คน โดยก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น ได้มีการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบความพร้อมบินของผู้โดยสารโดยทีมแพทย์ทหารอากาศ 
และการตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบินโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน และมีลูกเรือดูแลอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางการบิน 
ซึ่งเมื่อเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารจะผ่านกระบวนการตรวจร่างกาย การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจสอบสิทธิ และการให้การปรึกษาด้านกฎหมาย ก่อนเดินทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒย์ (สถานีกลางบางซื่อ) ต่อไป
สำหรับการอพยพคนไทยในเที่ยวบินต่อไป (Fujairah 2) ของกองทัพอากาศวางแผนนำ A340-500 จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจอีกครั้ง ในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 เวลาในการออกเดินทางโดยประมาณ 09.00 น.

เที่ยวบิน RTAF230 (Fujairah 2) ของกองทัพอากาศอพยพคนไทยในอิสราเอล กลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย
(วันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 02.00 น.) เครื่องบินแอร์บัส  A340-500 ของกองทัพอากาศเที่ยวบิน RTAF230 (Fujairah 2) ที่เดินทางไปอพยพคนไทยในอิสราเอล ณ ท่าอากาศยานฟูไจราห์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เดินทางกลับถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
โดยมี พลอากาศโท ชัยนาท  ผลกิจ รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การต้อนรับ ซึ่งผลการปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่กองทัพอากาศวางแผนไว้
ทั้งนี้ คนไทยในอิสราเอลที่เดินทางกลับสู่ประเทศไทย มีจำนวน 140 คน เป็นเพศชายทั้งหมด โดยก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น ได้มีการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบความพร้อมบินของผู้โดยสารโดยทีมแพทย์ทหารอากาศ 
และการตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบินโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนอากาศยาน และมีลูกเรือดูแลอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางการบิน 
ซึ่งเมื่อเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารจะผ่านกระบวนการตรวจร่างกาย การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจสอบสิทธิ และการให้การปรึกษาด้านกฎหมาย ก่อนเดินทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒย์ (สถานีกลางบางซื่อ) และสนามบินดอนเมืองต่อไป

การโจมตีฉับพลันครั้งใหญ่ต่ออิสราเอลโดยกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย Hamas เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดทางศาสนายูดาห์และครบรอบ ๕๐ปีสงคราม Yom Kippur 1973 ที่นำมาสู่สงครามในฉนวน Gaza มีระดับความรุนแรงเทียบเท่าเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔(2011)
ซึ่งนอกจากผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนในนิคมอิสราเอลที่ใกล้ฉนวน Gaza ที่ถูกผู้ก่อการร้ายเจาะทำลายแนวป้องกันและโจมตีฐานทัพของกองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defense Forces) แล้ว ยังมีชาวต่างชาติในอิสราเอลที่ถูกสังหารหมู่และถูกจับเป็นตัวประกันเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วย
โดยเฉพาะแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานภาคเกษตรในอิสราเอลเป็นชาวต่างชาติที่เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ(อาจจะเสียชีวิตมากกว่าที่มีรายงาน) เนื่องจากผู้ก่อการร้ายมองว่าคนไทยเป็นเป้าหมายของตนเพราะมาทำงานให้ยิวสนับสนุนการรุกรานปาเลสไตน์โดยเตรียมการมาอย่างดี 

และต่อมายังมีปัญหาแรงงานไทยที่รอดชีวิตบางส่วนยังถูกนายจ้างชาวอิสราเอลบังคับให้กลับไปทำงานพื้นที่เสี่ยงหรือใช้กำลังและอาวุธข่มขู่ไม่ให้เดินทางกลับไทยอีก(ยิวกับอาหรับตะวันออกกลางบางคนเหมือนกันตรงนี้คือมองคนไทยอย่างเราที่ไปทำงานในประเทศตนเป็นแค่ 'ทาส' หรือ 'คนรับใช้')
หลังจากนี้โลกทัศน์ของคนไทยที่มองว่าสงครามในอิสราเอลเป็นเรื่องไกลตัว อย่างที่ผ่านมาที่แรงงานไทยที่ทำงานพอกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายยิงจรวดทำมือมาใส่พื้นที่มีเสียง siren เตือนก็เข้าที่หลบภัยและถ่าย clip ระบบป้องกันภัย Iron Dome สกัดจรวดลงสื่อสังคม online จะเปลี่ยนไปตลอดกาล
ความมั่นคงภายในของไทยก็อาจได้รับผลกระทบจากสงครามในอิสราเอลล่าสุดนี้เช่นครั้งกลุ่ม Black September ยึดสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย พ.ศ.๒๕๑๕(1972) ซึ่งไทยเราใช้การเจรจาแก้ปัญหามาได้ หรือมีพวกสุดโต่งแบบหมาป่าเดียวดาย(lone wolf)ที่อาจลงมือก่อเหตุไม่คาดคิดครับ




The Royal Thai Navy (RTN) new Commander-in-Chief Admiral Adung Phan-iam responded to new Thailand government's economic improvement policies by will not proposing any major procurement on Defence budget for Fiscal Year 2024.
Royal Thai Navy Commander-in-Chief also accelerate and follow development on domestic defence programmes by Naval Research & Development Office (NRDO) include NAX-4 seaplane to be builded by Bangkok Dock Company for 11,991,490 Baht ($328,512) and NAX-5 seaplane to be builded by PANUS AVIATION SERVICES for 11,989,485 Baht ($328,457) and MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle). (Royal Thai Navy/SDT Composites)

พิธีลงนามในสัญญา จ้างสร้างเครื่องบินทะเลแบบ NAX-4 จำนวน 1 ลำ ระหว่าง กองทัพเรือ กับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ในวันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566

จ้างสร้างเครื่องบินทะเลแบบ NAX.4 ผู้ได้รับการคัดเลือก  บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ราคาที่เสนอ  11,991,490.00 บาท 

จ้างสร้างเครื่องบินทะเลแบบ NAX.5 ผู้ได้รับการคัดเลือก บริษัท พนัส เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ราคาที่เสนอ  11,989,485.00 บาท 


Newest warship of Royal Thai Navy FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej which commissioned on 7 January 2019 for 4 years serviced and oldest warship of Royal Thai Navy (preserve heritage) DE-413 HTMS Pin Klao which commissioned on 22 July 1959 for 64 years serviced, former DE-746 USS Hemminger the Cannon-class destroyer escort was commissioned in US Navy on 30 May 1944 followed hand over to Royal Thai Navy. (Royal Thai Navy)


Royal Thai Navy White Paper 2023 published in October 2023 provide details on life time of its frigates, corvettes and offshore patrol vessels (OPVs) and long term procuments plan for improvements all domain capabilities during 2023-2037. (Royal Thai Navy)
six major programmes for 14 years value total 175,236,000,000 Baht ($4,811,267,350) includes 
-new four of High Performance Frigate for 80,400,000,000 Baht ($2,207,456,772),
-Improvement on Andaman sea operational capability for 16,457,000,000 Baht ($451,829,897)
-Improvement on Naval Aviation capability for 25,968,000,000 Baht ($713,210,601),
-Improvement on Underwater Warfare capability for 46,741,000,000 Baht ($1,283,388,203)
-Improvement on Network Centric Warfare capability for 2,450,000 Baht ($67,267,959.5)
-Research and Development programmes for self-reliance for 3,220,000 Baht ($88,446,960) include 
1) Domestic Unmanned Aerial Vehicle programmes 
2) Domestic Unmanned Surface Vehicle programme
3) Domestic Midget Submarine programme

After Prime Minister of Thailand Mr.Settha Thaweesin visited China and met Chinese President Xi  and Chinese Prime Mnister Li Qiang on 16-19 October 2023.
On 20 October 2023, Minister of Defence of Thailand Mr.Suthin Klangsaeng said to suspended Royal Thai Navy S26T Submarine programme and change to procured New one Frigate for 14,000,000,000 Baht ($387,403,800).
Mr.Suthin also said to media on 28 October 2023, Royal Thai Navy propose 2nd frigate followed FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate from Republic of Korea with technology transfer to domestic build in Thailand for 17,000,000,000 Baht($470,653,500), It's another project from new chinese frigate instead suspended S26T Submarine programme for 14 billion Baht. 

วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง เสนาธิการทหารเรือและประธานกรรมการบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๖ ณ ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ ชั้น ๒ อาคารราชนาวิกสภา 
โดยภายหลังการประชุมได้เชิญ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ประธานกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของกองทัพเรือ พลเรือโท ณรงค์ จงรักภูบาล เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ พลเรือตรี อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ 
และหน่วยงานภายนอกกองทัพเรือ ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย เข้าร่วมงานแนะนำตัวคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ 
และรับฟังทิศทางการบริหารงาน บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ปีงบประมาณ ๖๗ เพื่อเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการส่งเสริมความร่วมมือการทำธุรกิจของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ร่วมกับพันธมิตร 
ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมการต่อเรือและซ่อมเรือได้อย่างมีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติ

กองทัพเรือไทยได้เผยแพร่สมุดปกขาวกองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๖๖ Royal Thai Navy White Paper 2023 ในต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ ซึ่งกำหนดโครงการสำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาขีดความสามารถของตนในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๘๐(2023-2037) ระยะเวลา ๑๔ปี
โครงการสำคัญ ๖โครงการวงเงินทั้งสิ้น ๑๗๕,๒๓๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($4,811,267,350) รวมถึง โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน ๔ลำ วงเงิน ๘๐,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($2,207,456,772), โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านฝั่งทะเลอันดามัน ๑๖,๔๕๗,๐๐๐,๐๐๐($451,829,897),
โครงการพัฒนาขีดความสามารถอากาศนาวี วงเงิน ๒๕,๙๖๘,๐๐๐,๐๐๐($713,210,601), โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านสงครามใต้น้ำ วงเงิน ๔๖,๗๔๑,๐๐๐,๐๐๐($1,283,388,203), โครงการพัฒนาขีดความสามารถการทำสงครามที่มีเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ๒,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐($67,267,959.5)
 
และโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเอง วงเงิน ๓,๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐($88,446,960) คือ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle), โครงการต้นแบบเรือผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vehicle) และโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine)
ผู้บัญชาการทหารเรือท่านใหม่ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ได้กล่าวในการแถลงมอบแนวทางการปฏิบัติงานแก่กำลังพลกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมาว่า
นอกจากการปรับปรุงภาพลักษณ์ที่ตกต่ำทั้งปัญหาการทุจริตของกำลังพล ปัญหาเรือดำน้ำ S26T จีนที่ยาวนาน เหตุเรือคอร์เวตเรือหลวงสุโขทัยจม ว่ากองทัพเรือไทยจะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะมุ่งปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศโดยไม่มีโครงการจัดซื้อหลักในปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ให้ความสำคัญในการสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research & Development Office) ที่ร่วมกับสถาบันทางการศึกษาของไทยและภาคเอกชนไทย ก็มีบางส่วนที่มีการผลิตเป็นจำนวนมากนำมาใช้จริงแล้ว
เช่น อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Narai 3.0 VTOL UAV ที่เอามาใช้ในหน่วยชายแดนแล้ว เครื่องบินทะเล NAX-4 ที่มีสายการผลิตโดยบริษัทอู่กรุงเทพ (Bangkok Dock Company) วงเงิน ๑๑,๙๙๑,๔๙๐บาท($328,512) และเครื่องบินทะเล NAX-5 ที่มีสายการผลิตโดยบริษัท PANUS AVIATION SERVICES วงเงิน ๑๑,๙๘๙,๔๘๕บาท($328,457)
แต่บางส่วนก็ต้องปรับปรุงเช่นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B VTOL UAV(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-marcus-b.html) ที่ต้องเร่งให้เอาไปใช้งานบนเรือต่างๆได้จริง ปัญหาที่พบเช่น บินช้า บินไม่ไกล บินไม่นาน กล้องยังไม่ดี ต้องแก้ไขให้ดีขึ้น 

ระยะเวลาการปฏิบัติงานดำเนินงานก็เช่นกัน จะมาทำแบบในหนึ่งปีงบประมาณไตรมาสแรกเสร็จไป 25% ไตรมาสสองเสร็จ 50% ไตรมาสสามเสร็จ 75% แล้วก็ส่งงานเสร็จ 100% ตอนปิดปีงบประมาณไม่ได้ ถ้าทำเสร็จได้เร็วและดีสมบูรณ์เท่าไรก็ต้องทำให้ได้ไม่ต้องให้ถึงสิ้นปีงบประมาณค่อยเสร็จ 
รวมถึงโครงการพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็กที่น่าจะกลับมาใหม่ด้วยหลังมีรายงานว่าหยุดชะงักไปตั้งแต่เกิดสถานการณ์ระบาด Covid-19 ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เป็นต้นมาด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bmt.html) แต่ทั้งนี้กองทัพเรือไทยก็ยังจะมีโครงการจัดหาหลักอีกมาก
ทั้งเรือฟริเกต ๔ลำใหม่ที่จะสร้างภายในไทยตามหลังเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชที่เพิ่งเข้าประจำการได้ ๔ปี ซึ่งเรือฟริเกตที่จัดหาจากจีนทั้งเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยาทั้ง ๔ลำที่อายุการใช้งานแล้ว ๓๑-๓๒ปี และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรทั้ง ๒ลำที่มีอายุการใช้งานแล้ว ๒๘-๒๙ปี

ในช่วงวันที่ ๑๖-๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ หลังจากการเยือนจีนนายกรัฐมนตรีไทยได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียในการหารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ เรื่องหนึ่งคาดว่าอาจจะได้รับการพูดคุยด้วยคือเรื่อการแก้ไขปัญหาเรือดำน้ำ S26T จีนที่ยังมีปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าอยู่
ตามที่เยอรมนีจะไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ MTU 396 ที่จีนปิดสายการผลิตไปแล้วให้จีน และกองทัพเรือไทยได้ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 จีนไปแล้ว แต่ในที่สุดกระทรวงกลาโหมไทยและรัฐบาลไทยได้แก้ไขปัญหาโดยการยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ S26T และเปลี่ยนเป็นการจัดหาเรือฟริเกตจีนแทน
โดยการทดแทนเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ที่ ร.ล.รัตนโกสินทร์มีอายุการใช้งานถึง ๓๗ปี และเรือหลวงสุโขทัยจมในเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ และยังไม่มีการกู้เรือแม้ใกล้ครบหนึ่งปีของเหตุการณ์แล้ว การจัดหาเรือคอร์เวตชั้น Type 056A รุ่นส่งออกของจีนแทนเรือดำน้ำก็ถูกยกขึ้นมาด้วย 

สื่อทางทหารในไทยบางรายจะวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้าหลายครั้งว่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยชุดใหม่จะยินยอมกองทัพเรือไทยในการเดินหน้าการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ต่อไป แต่การแถลงและตอบคำถามสื่อเต็มของรัฐมนตรีกลาโหมไทยหลังตรวจเยี่ยมกองทัพเรือเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖
ค่อนข้างจะชัดเจนว่ากระทรวงกลาโหมไทยเลือกจะฟังเสียงคัดค้านของประชาชนที่ไม่ต้องการให้กองทัพเรือไทยมีเรือดำน้ำ มากกว่าที่จะทำตามที่กองทัพเรือไทยเสนอ ซึ่งในทางปฏิบัติการใช้คำว่า 'พัก' 'ระงับ' 'ชลอ' หรือ 'เลื่อน' สำหรับโครงการจัดหาทางกลาโหมไม่ได้ต่างกับคำว่า 'ยกเลิก' เท่าไร
อย่างไรก็ตามขีดความสามารถสงครามใต้น้ำไม่สามารถจะใช้เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำวงเงินราว ๑๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($387,403,800) ทดแทนได้ โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบควบคุมการสื่อสารทางยุทธวิธีกับเรือดำน้ำวงเงิน ๒๓๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($6,304,824) ที่น่าจะเป็นสถานีภาคพื้นดิน

ถ้าโครงการเรือดำน้ำ S26T ยกเลิกไประบบควบคุมการสื่อสารทางยุทธวิธีดังกล่าวก็สามารถนำมาใช้กับโครงการเรือดำน้ำขนาดเล็กในประเทศได้ ซึ่งอย่างน้อยจะสามารถนำมาใช้ในการลาดตระเวนหาข่าวและสนับสนุนปฏิบัติการพิเศษที่ยังขาดได้ ก็ต้องดูต่อไปว่าโครงการจะยังถูกขัดขวางอีกหรือไม่
ซึ่งจนถึงขณะนี้กองทัพเรือไทยได้ใช้งบประมาณกลาโหมที่ได้รับในส่วนตนสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ไปแล้วราว แบ่งเป็นราว ๘,๐๐๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($221,650,113) จากทั้งหมด ๑๓,๙๓๙,๙๓๒,๔๐๐บาท($385,933,999) สำหรับเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ หนึ่งลำแรก
และอีก ๑,๔๙๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($41,362,137) จากทั้งหมดราว ๓,๑๕๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($87,292,38) สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทั้งท่าจอดเรือดำน้ำ โรงซ่อมบำรุง และอาคารต่างๆ รวมวงเงินที่จ่ายไป ๖ปีตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ถึงราว ๙,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($263,012,250) นั่นอาจจะยังต้องมีการจ่ายเพิ่มอีกราว ๗,๕๙๒,๐๐๐,๐๐๐บาท($210,188,316)

แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าจีนจะเสนอแบบเรือที่มีพื้นฐานร่วมกับเรือที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ทั้งเรือฟริเกตชั้น Type 054A หรือเรือคอร์เวตชั้น Type 056A แก่กองทัพเรือไทยในการเปลี่ยนแปลงโครงการเรือดำน้ำ S26T เสมอไป
กลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของจีนเช่น China State Shipbuilding Corporation(CSSC) มีแบบเรือสำหรับส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะพร้อมข้อเสนอการถ่ายทอดวิทยาการการสร้างในไทยรูปแบบเดียวกับประเทศอื่นอย่างปากีสถานและบังคลาเทศ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างงานในอุตสาหกรรมทางเรือของไทยมากกว่า
แต่การทดแทนเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้ง ๒ลำที่ปลดประจำการไปแล้วก็ทิ้งช่วงไปนานเกิน ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมไทยได้ชี้แจงว่าโครงการจัดหาเรือฟริเกตลำที่สองต่อจาก ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ที่จะมีการถ่ายทอดวิทยาการสร้างในไทยวงเงิน ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($470,653,500) ที่จะเสนอในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ จะเป็นคนละโครงการกับการจัดหาเรือฟริเกตจีนแทนที่การระงับโครงการเรือดำน้ำ

บริษัท Hanwha Ocean(DSME เดิม) สาธารรัฐเกาหลียังคงเสนอแบบเรือ ร.ล.ภูมิพลอดุยเดชของตนอยู่ ขณะที่บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรก็เสนอแบบเรือฟริเกตเบาที่เน้นว่าต่อยอดจากประสบการณ์สร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ 90m OPV ทั้ง ๒ ลำในไทยก่อนหน้าได้
ซึ่งถ้าจีนจะเสนอแบบเรือมาแข่งขันในความต้องการเรือฟริเกตใหม่ ๔ลำ ข้อเสนอของจีนควรจะต้องมีการสร้างเรือในไทยและการถ่ายทอดวิทยาการให้ไทยที่คุ้มค่ากว่าคู่แข่งอื่นๆด้วย ไม่ใช่เหมือนการจัดหาเรือยกพลขึ้นยกอู่ลอย Type 071ET เรือหลวงช้าง ที่ยังต้องจัดหาอุปกรณ์และอาวุธเพิ่มอีก
ทั้งหมดจึงดูจะเป็นบทสรุปของความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำที่น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของไทย ซึ่งหากว่าโครงการพัฒนาต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กในไทยยังจะถูกขัดขวางไม่ให้สามารถสร้างมาใช้งานได้จริงอีก การที่กองทัพเรือไทยจะมีเรือดำน้ำจะเป็นสิ่งที่ "เป็นไปไม่ได้" ไปชั่วกัลปาวสานครับ




68th SEA EX THAMAL exercise between Royal Thai Navy with OPV-511 HTMS Pattani and Royal Malaysian Navy with KD Pendekar (3513) and KD Gempita (3514) was held at Songkhla Naval Base, Second Naval Area Command (2nd NAC), Songkhla Province, Thailand on 24-28 October 2023. (Royal Thai Navy)

"ฝึกผสม ส่งเสริมความร่วมมือ" 
วันที่ 24 ตุลาคม  2566  พลเรือโท พิจิตต ศรีรุ่งเรือง ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เป็นประธานพิธีเปิดฝึกผสมไทย-มาเลเซีย ภายใต้รหัส SEA EX THAMAL ครั้งที่ 68 โดยมี RAdm FarizI Bin Myeor ผู้บัญชาการภาคทหารเรือที่ 1 กวนตัน เป็นประธานร่วม 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมาย การลักลอบขนยาเสพติด การทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของทั้งสองประเทศ 
ณ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ฝึกผสมไทย-มาเลเซีย ภายใต้รหัส SEA EX THAMAL ครั้งที่ 68 โดยมี RAdm FarizI Bin Myeor ผู้บัญชาการภาคทหารเรือที่ 1 กวนตัน เป็นประธานร่วม 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมาย การลักลอบขนยาเสพติด การทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของทั้งสองประเทศ 
ระหว่างวันที่ 24-27ต.ค.66 ณ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา




Royal Thai Army (RTA)'s third C295W transport aircraft (tail number 23221) was spotted at Airbus facility in San Pablo, Seville, Spain on 21 October 2023. it now arrived Thailand. (copyright of Burmarrad (Mark) Camenzuli Thank you)

เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W เครื่องที่สาม หมายเลข 23221 ของกองทัพบกไทยซึ่งลงนามสัญญาจัดหาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ก็ได้มีการพบว่ากำลังทำการบินเดินทางจากโรงงานอากาศยานของบริษัท Airbus Defence ยุโรป ในเสปน เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖
เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W หมายเลข 23221 จะเข้าประจำการร่วมกับ บ.ล.๒๙๕ C295W หมายเลข 16150 และหมายเลข 16160 ที่เข้าประจำการไปแล้วก่อนหน้า ๒เครื่อง ณ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. ทำให้จำนวนเครื่องล่าสุดรวมเป็น ๓เครื่อง
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทั้งหมดรวม ๔เครื่อง ทำให้อาจจะมีการสั่งจัดหาเพิ่มเติมอีก ๑เครื่องถ้าได้รับงบประมาณเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ นี้กระทรวงกลาโหมไทยมีนโยบายให้กองทัพไทยตัดลดการซื้ออาวุธใหม่ครับ




The Details of Chinese state-owned company Norinco vertical take-off and landing (VTOL) Unmanned Aerial Vehicle (UAV) products include SKY SAKER FX80. (Norinco/Sompong Nondhasa)
Signal Department, Royal Thai Army announced on 11 September 2023 that chinese firm Norinco is winner for new RTA's VTOL UAV requirements on fiscal years 2023-2025 for 188,654,710 baht ($5,284,075). 

UAV Sky Saker FX80 ...ตามที่กองทัพบกไทยได้เลือกอากาศยานไร้คนขับหรือ UAV สำหรับการใช้งานในหน่วยทหารปืนใหญ่ เพื่อใช้ในภารกิจการค้นหาเป้าหมายและการปรับการยิงสำหรับทหารปืนใหญ่ นั้น มี UAV เข้าแข่งขันกัน 6 แบบ  
ผลปรากฏว่า Sky Saker FX80 ได้ผ่านการทดสอบและเป็นผู้ชนะได้รับการคัดเลือก ซึ่งกองทัพบกได้ทำสัญญาสั่งซื้อไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เราจึงขอนำข้อมูลสมรรถนะและจุดเด่นของ Sky Saker FX80 มาเสนอให้ทราบกันดังนี้
Sky Saker FX80  เป็น UAV ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับตรวจจับเป้าหมาย ค้นหาเป้าหมายและปรับการยิง มีซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาพร้อมเบ็ดเสร็จ สามารถปล่อยขึ้นแนวดิ่ง โดยไม่ต้องมีเครื่องปล่อยเพื่อช่วยในการขึ้นบิน 
และไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ร่มชูชีพหรือถุงลมกันกระแทก เพื่อช่วยในการลงจอด มีมอเตอร์ไฟฟ้า และใบพัด 8 ชุด ทำให้บินลงนิ่ง ทนแรงลมได้ แม้ขณะมีฝนตกก็ตาม  ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน 
การขึ้น-ลงแนวดิ่ง (VTOL) เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีความสะดวกรวดเร็ว ติดตั้งง่าย การดำเนินการติดตั้ง UAV , GCS และอุปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ จนสามารถส่งขึ้นได้ ใช้เวลาเพียง 7 นาที เท่านั้น โดยใช้ผู้ปฏิบัติการ 2 นาย 
ไม่ต้องใช้สนามบิน ใช้พื้นที่แคบ มีความปลอดภัยสูง การบำรุงรักษาต่ำ เครื่องยนต์ของ FX80 เป็นแบบ 2 จังหวะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน 95 ซึ่งมีจำหน่ายในประเทศ
จากการทดสอบการบิน พบว่า UAV รุ่นนี้ มีเสียงเงียบมาก โดยเมื่อบินสูง 1,000 ฟุต ห่างออกไปเพียง 1 กม. จะไม่ได้ยินเสียงและมองไม่เห็น UAV ที่ระยะ 2 กม.   FX80 สามารถบินได้สูง 15,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ซึ่งบินได้สูงมากกว่าข้อกำหนดของกองทัพบก (13,000 ฟุต) 
จากการทดสอบ บินได้ไกลถึงระยะ 82 กม. รวมไปกลับ 164 กม. มีความเร็วสูงสุด 132 กม./ชม. FX80 มีระบบ Frequency Hopping สามารถหลีกเลี่ยงต่อต้านการใช้เครื่องรบกวนสัญญาน (Jammer) ได้เป็นอย่างดี สามารถตั้งแผนก่อนการบิน การกำหนดจุด เส้นทางการบิน การเปลี่ยนเส้นทางการบิน เมื่อระบบสื่อสารขาดการติดต่อ UAV จะบินกลับมาลงจอด ณ จุดเดิมโดยอัตโนมัติ  มีระบบTransponder ที่ติดตั้งบน UAV มายังหอบังคับการบินและศูนย์ปฏิบัติการ แบบ Real Time โดยมีข้อมูลที่ส่งกลับมาได้แก่ พิกัด, ความสูง, และอื่นๆ 
ทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถวางแผนและสั่งการปรับแผนการบินได้อีกด้วย 
FX80 สามารถค้นหาและระบุตำแหน่งเป้าหมาย ด้วยความแม่นยำสูงภายใน 20 เมตร (ในระยะ 2 กม.) ติดตั้งโปรแกรมปรับการยิงปืนใหญ่ ติดกล้องตรวจการณ์กลางวัน/กลางคืน ความละเอียดสูง ให้ความคมชัด ทั้งกล้องวิดีโอและภาพนิ่ง มีระบบกันสั่น สามารถตรวจจับเป้าหมายได้มากกว่า 7 กม. 
และแยกเป้าหมายได้มากกว่า 5 กม. กล้องสร้างภาพจากรังสีความร้อน ตรวจจับเป้าหมายได้มากกว่า 3 กม. มีเลเซอร์วัดระยะได้ไกลกว่า 6 กม. มีเลเซอร์ชี้เป้าได้ไกลกว่า 4 กม. มีระบบ GPS ระบุพิกัดด้วยความแม่นยำ
Sky Saker FX80 เป็น UAV ที่ผลิตโดย Norinco ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดทางด้านยุทโธปกรณ์ของจีน และยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปืนใหญ่ประเภทต่างๆให้กองทัพจีนและกองทัพของประเทศอื่นๆทั่วโลก 
กองทัพบกจีนได้จัดหา UAV ในตระกูล FX ไว้เพื่อใช้ในภารกิจการค้นหาเป้าหมายและการปรับการยิงสำหรับปืนใหญ่มากว่า 100 เครื่อง และยังส่งออกขายให้กับกองทัพประเทศอื่นๆทั่วโลกอีกกว่า 100 เครื่องเช่นกัน 
อันแสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพของ UAV นอกจากนี้แล้ว บริษัท Norinco ยังยินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เพื่อทำการประกอบในประเทศไทย ซึ่งต้องมีการเจรจากัน และมีทีมช่างให้บริการหลังการขายด้วย
จากการทดสอบของคณะกรรมการฯ จะเห็นได้ว่า FX80 มีสมรรถนะและขีดความสามารถตลอดจนข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่เหนือกว่า อย่างชัดเจน 
ทำให้ Sky Saker FX80 เหมาะสมที่จะเป็น UAV ที่ใช้ในภารกิจการค้นหาเป้าหมาย ปรับการยิงและตรวจผลการยิงของปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิดและจรวดได้เป็นอย่างดี...




Ordnance Department, Royal Thai Army announcement of invitation on request for technical information for new man-portable air-defence system (MANPADS) on 25 September 2023.
Royal Thai Army likely unable to buy additional Russian Igla-S missiles with in serviced at 7th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 1st Anti-Aircraft Artillery Regiment, Anti-Aircraft Artillery Division, due Arm export control from USA and EU.
MANPADS short-range surface-to-air missile that comparison to Igla-S includes Chineses FN-16 and QW-12, Polish Piorun and US FIM-92 Stinger. (Wikipedia.org/Ministry of Defense of Poland/USMC)

กองวิทยาการ กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบกไทยได้เผยแพร่ประกาศขอเชิญชวนเสนอข้อมูลทางเทคนิคอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับต่ำชนิดประทับไหล่ยิงแบบนำไปด้วยบุคคล(MANPADS: man-portable air-defence system) เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖
เพื่อจะดำเนินการจัดหาใน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๗ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑ ปตอ๑.พัน.๗ กองพลทหารปืนใหญ่ พล.ปตอ.ที่ปัจจุบันมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S รัสเซีย ที่น่าจะมีปัญหาในการจัดหาเพิ่มจากการคว่ำบาตรการค้าอาวุธจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรป
ระบบ MANPADS ที่มีคุณลักษณะเปรียบเทียบได้กับ Igla-S ก็มีเช่น FN-16 และ QW-12 จีนซึ่งระบบรุ่นก่อนมีใช้งานในกองทัพเรือไทยและกองทัพอากาศไทย,อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Piorun โปแลนด์ที่เหมือน Igla รัสเซียมาก และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ FIM-92 Stinger สหรัฐฯ 

อย่างไรก็ตามถ้าการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับไหล่ยิง MANPADS ใหม่ของกองทัพบกไทย จะมีประเด็นการซื้อด้วยการค้าต่างตอบแทน(barter trade and counter trade) และข้อตกลงชดเชย(offset policy) ตามนโยบายรัฐบาลไทยด้วยก็จะทำให้ตัวเลือกถูกจำกัดลงและล่าช้าขึ้น
เพราะก็เช่นเดียวกับการตอบสนองต่อนโยบายการจัดหาอาวุธของกระทรวงกลาโหมไทยและรัฐบาลไทยจากกองทัพเรือไทยและกองทัพอากาศไทยที่นอกจากปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นี้ที่ขอให้กองทัพไทยงดโครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ไปก่อน
ประเทศผู้ผลิตที่พัฒนาและส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถีเหล่านี้ต้องการเงินสดมากกว่าการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือข้อตกลงชดเชยซึ่งจะสร้างความยุ่งยากและระยะเวลาในการเจรจาข้อตกลงกัน ตัวอย่างเช่น Stinger สหรัฐฯหรือ Piorun โปแลนด์ทั้งสองประเทศดูจะไม่มีนโยบายในการขายเช่นนี้ให้ไทยครับ




Royal Thai Army's 21st Cavalry Battalion, 6th Infantry Division and 6th Cavalry Battalion, 6th Cavalry Regiment, 3rd Cavalry Division, 2nd Army Area hand-on additional 5 and 12 respectively of NORINCO VT4 main battle tanks for total 17 tanks. (Royal Thai Army)

ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ สองกองพันทหารม้ารถถังของกองทัพภาคที่๒ ทภ.๒ คือกองพันทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖ ณ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับมอบรถถังหลักแบบ๖๐ VT4 เพิ่ม ๕คัน
และกองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ณ ค่ายศรีพัชรินทร ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับมอบรถถังหลักแบบ๖๐ VT4 เพิ่ม ๑๒คัน รวมรถถังหลัก ถ.๖๐ VT4 ที่กองทัพบกไทยได้รับมอบล่าสุดในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมารวม ๑๗คันในกองทัพภาคที่๒ ทภ.๒
โดยที่ กองพันทหารม้าที่๖ ม.๖ พัน.๖ พล.ม.๓ และ กองพันทหารม้าที่๒๑ ม.พัน.๒๑ พล.ร.๖ ได้รับมอบ ถ.VT4 คู่ขนานกันในอัตราจัดกองพันละ ๓๕คัน(ยังไม่ทราบถึงโครงสร้างของ พัน.ถ.) ทำให้เมื่อรวมกับรถในส่วนฝึกศึกษาของศูนย์การทหารม้า ศม.ทำให้น่าจะมีรถรวมแล้วมากกว่า ๗๐+คันครับ