Royal Thai Navy testing Domestic Stealth Anti-Submarine Moored Mine MI9 and MI11 developed by Mine Squadron, Fleet Command during RTN Naval Exercise 2017
Clip: HTMS Thalang 621 Mine Countermeatures Support Ship Laying Stealth Anti-Submarine Moored Mine
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913619979862/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913649979859/
Clip: Mine explosion on Target towed by Submerged Antenna Sweeping of Coastal Minesweeper/Motor Launch Minesweeper Boat
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913733313184/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913746646516/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913823313175/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913873313170/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1333913823313175/
กองทัพเรือ โดยกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ทดลองใช้งานทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
วันนี้(5 พฤษภาคม 2560) พลเรือตรี เชษฐา ใจเปี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ นำคณะ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
พร้อมด้วย กรมสรรพาวุธทหารอากาศ โดย พลอากาศตรี ไชยวัฒน์ กาศโอสถ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เข้าร่วมชมการฝึกจุดระเบิดทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน บนเรือหลวงถลาง ณ บริเวณอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
สำหรับทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน เป็นทุ่นระเบิดที่ได้จากการวิจัยของกองเรือทุ่นระเบิดเอง โดยจะดำเนินการจุดทุ่นระเบิด ที่มีดินระเบิด TNT ขนาด 100 kg จำนวน 2 ลูก ด้วยวิธีการกวาดทุ่นระเบิดแบบแอนเทนน่า และการลากแพเป้ากระทบระเบิด
โดยนำมาทดลองใช้ในการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล ของการฝึกกองทัพเรือประจำ 2560
โดยทุ่นระเบิดดังกล่าวถูกออกแบบให้มีรูปทรงจานประกบ ตัวภายนอกทำจากวัสดุ FIBER COAT 11 สามารถลดระยะตรวจจับได้ถึงร้อยละ 50 และยังทำให้พลังงานเสียงที่มาสะท้อนถูกดูดซึมเข้าในเนื้อวัสดุ จนไม่เหลือพลังงานสะท้อนกลับ
มีระบบการตั้งลึกแบบกลไก และแบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายในมีอุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องส่งชนวนไกยิง ระเบิด TNT และวงจรการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก หาได้จากวัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศทั้งสิ้น
ซึ่งนับได้ว่าเป็นแสดงขีดความสามารถของกองทัพเรือในการพัฒนางานด้านการวิจัยให้มีขีดความสามารถนำมาใช้ได้จริง และพึ่งพาตนเองได้ โดยผลิตใช้เองไม่ต้องจัดซื้อจากต่างประเทศ
และโครงการนี้ได้สานต่อผลการวิจัยของ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการ อดีต ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด และโครงการวิจัยและพัฒนาทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหนนี้เป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ เลี่ยงการตรวจจับโซนาร์ เกิดขึ้นในปี 2552
หลังกองเรือยุทธการ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการจัดหาทุ่นระเบิด และสิ่งอำนวยความสะดวก ตามความต้องการใช้ทุ่นระเบิดของกองทัพเรือใน 10 ปี ข้างหน้าตามแผนป้องกันประเทศ และการประเมินยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ปี 2551-2560
ซึ่งกองทัพเรือได้มีการวิจัยและพัฒนาทุ่นระเบิดทางรับที่ใช้เทคโนโลยีต่ำให้สามารถผลิตเพื่อใช้งานได้เองมาแล้วระดับหนึ่ง จึงมีนโยบายเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้สามารถผลิตทุ่นระเบิดที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ประจำการให้ได้ในขั้นต้นจำนวนตามความต้องการใช้ของทัพเรือภาคจนสามารถใช้เป็นอาวุธในการป้องปรามได้ในอนาคต
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1517528398298511
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1333914373313120
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1333622703342287
สงครามทุ่นระเบิด(Mine Warfare) เป็นหนึ่งในหลักนิยมการใช้กำลังทางเรือที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงมากนัก ทั้งที่เป็นระบบอาวุธที่มีผลกระทบสูงทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ ในการตั้งรับเพื่อป้องการการรุกรานจากข้าศึก และการรุกในการวางระเบิดปิดล้อมน่านน้ำประเทศฝ่ายตรงข้าม
ตัวอย่างข้อมูลหนึ่งที่ไม่ได้รับการกล่าวถึงนักในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนของกองทัพเรือไทยคือ การที่จีนเสนอระบบทุ่นระเบิดแบบปล่อยออกจากท่อ Torpedo มาให้ในข้อเสนอการขายเรือดำน้ำด้วย
ซึ่งระบบทุ่นระเบิดโดยเฉพาะทุ่นระเบิดที่ปล่อยจากเรือดำน้ำนั้นเป็นระบบอาวุธที่มีผลกระทบทางยุทธศาสตร์สูง ผู้ขายเรือดำน้ำมักจะไม่ส่งออกแบบทุ่นระเบิดสำหรับติดตั้งใช้กับเรือดำน้ำที่มีความทันสมัยมากให้ถ้าไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศผู้ซื้อมากจริงๆ
(ช่วงโครงการจัดหาเรือดำน้ำ U206A มือสองจากเยอรมนีมีทุ่นระเบิดแบบ Atlas DM41 บรรรจุภายนอกตัวเรือ(mine belt) ๒๔ลูก แต่ทางเยอรมนีไม่ได้มีข้อเสนอจะมอบทุ่นระเบิด Smart Mine ให้ไทยเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับการถอดระบบสื่อสารที่เป็นความลับของกองทัพเรือเยอรมนีออก
การคัดเลือกแบบเรือดำน้ำล่าสุดในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ทั้ง Type 209/1400 และ Type 210 เยอรมนี, Scorpene ฝรั่งเศส, Project 636 kilo และ Amur 1650 รัสเซีย และ A26 สวีเดน
ที่แต่ละบริษัทคือ TKMS เยอรมนี, DCNS ฝรั่งเศส, Rosobornexport รัสเซีย และ SAAB สวีเดนไม่ได้มีข้อเสนอด้านการขายทุ่นระเบิดให้กองทัพเรือไทยเป็นพิเศษเช่นกัน ขณะที่ CSOC จีนพร้อมเสนอขายทุ่นระเบิดที่ใช้กับเรือดำน้ำ S26T ให้ไทย)
การพัฒนาทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน ของกองเรือทุ่นระเบิด ที่ทำการวางโดย เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด ร.ล.ถลาง(Mine Countermeatures Support Ship) ซึ่งเป็นเรือที่ต่อโดย Bangkok Dock ประเทศไทย
และใช้เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น(Coastal Minesweeper/Motor Launch Minesweeper Boat) ชุด ท.1(ลำที่๒) ที่ต่อโดยกรมอู่ทหารเรือ(Royal Thai Naval Dockyard) ในการลากแพเป้ากระทบระเบิดด้วยเครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบลากกับพื้นท้องทะเล(Antenna Sweeping) ผ่านทุ่นระเบิดนั้น
เป็นการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถด้านสงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือไทยที่พึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่การสร้างเรือทุ่นระเบิด และการสร้างทุ่นระเบิดต่อต้านเรือดำน้ำได้ด้วยตนเองในไทย
ซึ่งถ้าจะมีการพัฒนาต่อยอดต่อไปจนใช้งานได้ดีจริงและเข้าประการได้ในจำนวนมาก แม้ว่าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนอาจจะถูกยกเลิกไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม กองทัพเรือก็ยังจะมีขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำด้วยทุ่นระเบิดล่องหนครับ