วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๐-๔

Thai Cabinet gives go-ahead for submarine procurement
Thailand’s Cabinet has given formal approval for the Royal Thai Navy (RTN) to procure the first of three S26T diesel-electric submarines from China, the government announced on 24 April.
http://www.janes.com/article/69821/thai-cabinet-gives-go-ahead-for-submarine-procurement

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในโครงการจัดหาอาวุธของกองทัพไทยในเดือนเมษายนที่ผ่านมาดูเหมือนมีเรื่องหลักเดียวคือโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีนของกองทัพเรือไทย
ที่มีรายงานว่าผ่านการเสนอเข้าวาระที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายนแล้ว และมีการนำกลับไปให้กองทัพเรือพิจารณาการลงนามสัญญากับทางจีนต่อไปในอนาคต
มีการระบุรายละเอียดว่าจะมีประชุมหารือกับคณะรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกับทางไทยในอนาคตเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการแบบรัฐต่อรัฐ ถ้ามีรายงานข่าวว่าผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก ณะ อารีนิจ เดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการในราวเดือนพฤษภาคมนี้
และถ้ามีการลงนามสัญญาจัดหาจริงแล้วเมื่อไร จึงจะถือได้เสียทีว่าโครงการเรือดำน้ำกองทัพเรือไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่ขาดหายไปถึง ๖๖ปี(พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๖๐ 1951-2017) ได้เข้าสู่ยุคใหม่ที่อาจจะสามารถประสบความสำเร็จจริงๆได้เสียที

แต่ก็น่าเสียดายที่ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโครงการเรือดำน้ำได้ถูกนำมาเป็นประเด็นโจมตีใส่ร้ายกองทัพเรือโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง ทั้งการเผยแพร่เอกสารนำเสนอแบบเรือของ CSOC และรายอื่นๆ ซึ่งเป็นเอกสารที่เสนอในช่วงการพิจารณาแบบเรือในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ที่ถูกนำไปขยายผลโดยผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติโดยการนำเสนอเนื้อหาในตัวเอกสารที่ไม่ครบถ้วน แล้วเติมข้อมูลความเห็นส่วนที่เป็นประโยชน์กับตนเอง พร้อมโจมตีว่ากองทัพเรือโกหกหลอกประชาชนด้วยความเท็จ โดยมีจุดประสงค์แอบแฝงในความต้องการชี้นำสังคมไปในทางที่ตนต้องการ
เช่น บอกว่าทะเลไทยตื้นน้ำใส การที่กองทัพเรือบอกว่าเรือดำน้ำดำลงไปใต้ทะเลลึก 5m 10m 15m แล้วมองไม่เห็น เรือดำน้ำไม่สามารถถูกดาวเทียมสอดแนมตรวจจับได้ง่าย รวมถึงชั้นอุณหภูมิใต้ทะเล(Thermal Layer, thermocline) ล้วนเป็นเรื่องโกหกที่หาข้อมูลจริงได้จาก Google
จนถึงเศรษฐกิจตอนนี้ก็แย่เราจะไปรบกับใครเดี๋ยวนี้เขาไม่รบกันแล้ว และการแอบอ้างพระราชดำรัสซึ่งเป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง(ระหว่างกองทัพเรือ กับกลุ่มกระบวนการหวังผลแอบแฝงดังกล่าว ใครกันแน่ที่โกหก? ก็ไม่อาจทราบได้เพราะเราไม่ได้อยู่ในวงความขัดแย้งนี้โดยตรง)

อย่างไรก็ตามในอีกแง่ที่มีเอกสารข้อมูลเรือซึ่งคงจะมีแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกองทัพเรือเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้รับและเข้าถึงได้เผยแพร่ออกมานั้น ก็ยังแสดงให้เห็นว่ายังมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือบางส่วนเองที่ต่อต้านโครงการเรือดำน้ำอยู่
ซึ่งก็ถึงแนวร่วมที่เดิมเคยสนับสนุนโครงการเรือดำน้ำในอดีตที่ไม่ประสบความสำเร็จเช่น A19 ใหม่สวีเดน ๒ลำวงเงิน ๑๗,๐๐๐ล้านบาท ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๙(1994-1996) หรือ U206A มือสองเยอรมนี ๔ลำ+อะไหล่๒ลำ วงเงิน ๗,๗๐๐ล้านบาท ช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕(2010-2012)
เพื่อต่อต้าน S26T ที่ถูกมองว่าเป็นการจัดหาที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ผู้ที่จะปฏิบัติงานกับเรือในอนาคตที่ไม่ได้เป็นผู้เลือกแบบเรือที่แท้จริงแล้ว ก็ได้เข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านเรือดำน้ำเพื่อต่อต้านเรือดำน้ำจีนไปด้วย
ทำให้ส่วนตัวมีความเห็นว่า จุดประสงค์แท้จริงของการกระทำดังกล่าวของบางกลุ่ม ไม่ได้เพื่อเป็นการคัดค้านความไม่ถูกต้องโปร่งใสของโครงการจัดหา หรือข้อกังขาในแง่สมรรถนะของตัวเรือ แต่เพื่อต้องการไม่ให้กองทัพเรือมีเรือดำน้ำไม่ว่าจะแบบอะไรจากประเทศอะไรเลยแม้แต่ลำเดียวตลอดไปเสียมากกว่า

นั่นทำให้แม้ว่าวาระเรือโครงการจัดหาเรือดำน้ำจะผ่าน ครม.แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันได้ว่าจะไม่อุปสรรคอันใดมาขัดขวางโครงการไม่ให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนเช่นในอดีตหลายครั้งอีก
เพราะโครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่๑ วงเงิน๑๓,๕๐๐ล้านบาทนั้นใช้เวลาดำเนินงาน ๖ ปี โดยครบทั้ง ๓ลำ ๓๖,๐๐๐ล้านบาทจะใช้เวลาดำเนินการรวม ๑๑ปี ซึ่งเป็นเวลาที่นานพอจะมีเหตุการณ์อะไรหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปได้อีกมาก
โดยก็มีการชี้แจงจากทางรองนายกรัฐมนตรี นาย วิษณุ เครืองาม ว่าหลังการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลใหม่สามารถที่จะพิจารณายกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนของกองทัพเรือไทยได้
แม้ว่าจะเป็นหลังที่กองทัพเรือไทยมีการลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำกับจีนแล้วก็ตาม ถ้าเห็นว่าไม่มีความจำเป็นเหมาะสมกับสถานการณ์ความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศรวมถึงความรู้สึกของประชาชนในช่วงเวลานั้น และนั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป

SSN-706 USS Albuquerque dive to Periscope Depth(63feet = 19m) in Subpassex 2013 Exercise at Gulf of Thailand

เรื่องการใช้เรือดำน้ำในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้นก็เคยมีการกล่าวถึงมาบ้างแล้ว เช่นการที่กองทัพเรือสหรัฐฯส่งเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Los Angeles ร่วมการฝึกในอ่าวไทยและในช่วง ๕-๑๐ปีมานี้
เช่น Subpassex 2013 ในอ่าวไทย (http://aagth1.blogspot.com/2015/04/los-angeles.html) และ Guardian Sea 2016 ในฝั่งอันดามัน (http://aagth1.blogspot.com/2016/05/guardian-sea-2016.html)
ซึ่งกองทัพเรือไทยยังขาดองค์ความรู้ด้านสงครามเรือดำน้ำ(Submarine Warfare) อีกมากเพราะยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการเป็นของตนเอง การฝึกต้องรอให้มิตรประเทศส่งเรือดำน้ำมาร่วมฝึกตลอด

ทั้งนี้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบ(Conventional Diesel-Electric Submarine) ในปัจจุบันเป็นเรือดำน้ำโจมตี(Attack Submarine) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการต่อสู้กับเรือดำน้ำด้วยกัน, โจมตีเรือผิวน้ำ และวางทุ่นระเบิด
ดังนั้นข้อมูลที่ว่าเรือดำน้ำรัสเซียอย่าง Project 636 Improved Kilo หรือเรือดำน้ำจีนคือ Type 039B Yuan ที่เป็นแบบพื้นฐานของ S26T ที่จะส่งออกให้ไทยนั้นยิงได้แต่เรือผิวน้ำใช้โจมตีเรือดำน้ำด้วยกันไม่ได้นั้นจึงไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง
ที่ผ่านมาโดยส่วนตัวได้พยายามเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบทาง Technic ที่เป็นจริงตามหลักวิชาการที่ปราศจากอคติส่วนตัวให้ได้มากที่สุด โดยจะพยายามไม่กล่าวถึงในประเด็นปัญหาภายในและระหว่างประเทศ หรือกล่าวในเชิงการโจมตีตัวบุคคล


S.C.S Dangerous Waters เป็น Combat Naval Simulation game จำลองสงครามทางเรือที่ออกมาตั้งแต่ปี 2005 
ซึ่ง Clip ข้างต้นนี้เป็นการเล่นภารกิจเรือดำน้ำชั้น Kilo ที่ปฏิบัติการในเขตตื้นพรมแดนญี่ปุ่น-รัสเซียแถบทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือของเกาะ Hokkaido หมู่เกาะ Kuril และเกาะ Sakhalin ที่จะเห็นได้ว่าพื้นที่ปฏิบัติการหลักมีความลึกที่ระหว่าง 20-50m เท่านั้น
เป็นภารกิจพื้นฐานของเรือดำน้ำคือจมเรือสินค้าข้าศึกที่คุ้มกันโดยเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ๒ลำ ใน Clip จะเป็นการใช้ทั้ง Torpedo ต่อต้านเรือผิวน้ำ และทุ่นระเบิดเป็นกับดัก

สำหรับผมเองที่เคยได้เล่นในภารกิจนี้นั้นจะคล้ายๆ Clip ในช่วงต้นคือทำการพิสูจน์ทราบระบุเป้าหมายเรือสินค้าและเรือฟริเกต OPH ข้าศึกด้วย ESM(Electronic Support Measures) และกล้องตาเรือ(Periscope) ด้วยความเร็วเงียบ 4-5knot ดำลึกที่ที่ระดับกล้องตาเรือ 19m
เมื่อข้อมูลในสถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่(Target Motion Analysis) พร้อมก็ป้อนข้อมูลเป้าให้ Torpedo ต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ 53-65KE ๒นัดแรกตั้งค่าระดับความลึกโจมตีกระดูกงูเรือจัดการเป้าหมายภารกิจเรือสินค้า 
ตามด้วยป้อนข้อมูลให้ 53-65 อีก๒นัดยิงครั้งที่สองจัดการเรือฟริเกตข้าศึก ๒ลำ (ที่จริงในบรรยายสรุปภารกิจระบุว่าไม่จำเป็นต้องจมเรือฟริเกต แต่ตัดสินใจว่าจมดีกว่า จะได้ไม่โดนล่าจากทั้งเรือฟริเกตและเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60 ของเรือ) 
จากนั้นก็ปล่อยเป้าลวง Active Decoy ดำด้วยความเร็วสูงสุดหนี จากนั้น Torpedo ทั้ง ๔นัดก็ทำงานตามที่ตั้งค่าไว้ เรือสินค้าและเรือฟริเกตข้าศึกทั้ง ๔ลำ จมหมด ภารกิจสำเร็จเดินเรือต่อไปจุดถอนตัวเป็นอันจบ game

บางท่านอาจจะบอกได้ว่า "นี่มันก็แค่เกม" แต่ Sonalysts Combat Simulations ผู้พัฒนา Game นี้เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมฝึกสอนในสถาบันการศึกษาของกองทัพเรือสหรัฐ อย่างโรงเรือนายเรือ Annapolis เพราะฉะนั้นถึงแม้จะเป็น Game สำหรับพลเรือนแต่ความสมจริงก็นับว่าสูงมาก 
ซึ่งนักเรียนนายร้อยสหรัฐฯที่เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก West Point, โรงเรือนายเรือ Annapolis และโรงเรียนนายเรืออากาศ Colorado Springs ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป
ที่ตอนนี้ก็จบออกมาเป็นนายทหารหลักของกองทัพสหรัฐฯกันแล้วคงจะเป็นคนรุ่นที่จำโลกที่ไม่มี Computer, Internet และ Electronic Game ไม่ได้แล้ว ซึ่งนายทหารรุ่นใหม่ของกองทัพไทยก็เช่นกันครับ


Royal Thai Navy HTMS Laemsing Patrol Gun Boat using 'Dangerous Water' Naval Warfare Simulation Game for ASUW & AAW Polt Exercise

เอาเกมส์ มาประยุกต์ใช้ในการฝึก
ทีมงานยุทธการและสื่อสาร ร.ล.แหลมสิงห์ ฝึกการตราทางเป้าผิวน้ำและอากาศยาน (ASUW&AAW Polt Exercise) โดยการนำเกมส์ "Dangerous Water" มาใช้เพื่อจำลองสถานการณ์
โดยผู้ควบคุมการฝึก ใช้ Mission Editor ในเกมส์สมมุติสถานการณ์ เรือปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณ เกาะช้าง (ซึ่ง ร.ล.แหลมสิงห์ จะเข้าปฏิบัติราชการในห้วง เม.ย.-ก.ค.60)
ผลการปฏิบัติพบว่า เกมส์ "Dangerous Water" สามารถช่วยสนการสร้างสถานการณ์ฝึกทีมงานศูนย์ยุทธการได้เป็นอย่างดี ทำให้การพล๊อตต่างๆ มีความสมจริงมากขึ้นนั่นเอง

ไพริพินาศ Let them sink by us 
By Admin ต้นปืน561
https://www.facebook.com/Laemsing561/posts/305521833206339

ตามที่ พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนเรื่องความจำเป็นของโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไปนั้น
แม้จะมีข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาดบางส่วนคือชื่อเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ ที่เป็นเรือดำน้ำชุดแรกของของกองทัพเรือไทยที่สร้างโดยญี่ปุ่นที่ประกอบด้วย เรือหลวงมัจฉาณุ(ลำที่๒), เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล
(ไม่มีเรือชื่อ ร.ล.สุดสาคร ซึ่งทางท่านโฆษกกองทัพเรือก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อยอมรับข้อผิดพลาดในเรื่องนี้แล้ว โดยครูจุมพลท่านก็ยอมรับว่าเป็นความผิดตนเองเพราะตนไม่ใช่นักประวัติศาสตร์
แต่ปัญหาในการให้ข้อมูลของกองทัพเรือจริงๆคือ นักข่าวอาชีพที่ทำงานในสื่อกระแสหลักมักจะตั้งธงไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วว่าจะเสนอข่าวออกมาแบบไหน ก่อนจะตั้งคำถามกับแหล่งข่าวแล้ว)
ประเด็นสำคัญที่โฆษกกองทัพเรือท่านให้สัมภาษณ์สื่อคือ "เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงลับและเชิงรุก-รับ" (ล.ลับ กับ ร.รับ และ ร.รุก) แต่สิ่งที่กองทัพเรือไม่สามารถจะพูดออกสื่อตรงๆได้คือ รูปแบบการใช้งานปฏิบัติเรือดำน้ำที่มันเป็นจริงๆ

Submarine's assume transit plot course Sattahip Naval Base to Phang Nga Naval Base concept

อย่างที่ครูจุมพลท่านบอกว่าเรือดำน้ำจะใช้ปฏิบัติการได้ในบางส่วนของอ่าวไทย ซึ่งความหมายที่แท้จริงคือกองทัพเรือจะไม่ได้ใช้เรือดำน้ำในเขตอ่าวไทยส่วน อ่าวรูปตัว ก. จนถึงอ่าวไทยชั้นใน
แต่เรือดำน้ำไทยเราจะดำลงใต้น้ำตั้งแต่ช่วงร่องน้ำลึก 60mลงไป จากใต้ในแนวเส้นขีดจากเกาะกูด จังหวัดตราด ไป เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี คำถามที่ตามมาคือเลยจากนี่จะเป็นนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยเข้าน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านแล้วไม่ใช่หรือ?
ก็ใช่ไงครับ! นอกจากภารกิจฝึกร่วมกับกองเรือผิวน้ำที่มีของกองทัพเรือไทยแล้ว ส่วนตัวค่อนข้างเชื่อว่า ภารกิจหนึ่งในการที่จะทดสอบสมรรถนะเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยคือ
การออกเดินเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบ อ่าวไทย ไปฐานทัพเรือพังงา ทะเลอันดามัน โดยส่วนของเส้นทางเรือจะดำอยู่ใต้น้ำเดินทางผ่านน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านโดยที่ไม่ถูกตรวจจับได้
คำถามคือนั่นเป็นการล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ใช่หรือ? ใช่! เพราะเรือดำน้ำเป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจแบบนั้น

Royal Thai Navy Matchanu class submarines(1939-1951) drawing line  

จากที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การใช้กำลังเรือดำน้ำของประเทศต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนไม่มีประเทศใดที่ใช้เรือดำน้ำปฏิบัติงานแบบเดียวกับเรือตรวจการณ์ที่ลาดตระเวนเฉพาะในน่านน้ำทะเลอาณาเขตของตน
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ ซึ่งยุคนั้นเรือดำน้ำยังมีสมรรถนะยังเป็นกึ่งๆเรือผิวน้ำอยู่ เรือดำน้ำชั้น Type VII U-Boots ของเยอรมนีที่มีระวางขับน้ำเพียง 770tons ก็ออกลาดตระเวนในมหาสมุทร Atlantic อันกว้างใหญ่มาแล้ว
หรือในมหาสมุทร Pacific เรือดำน้ำเดินสมุทรขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้ง กองทัพเรือสหรัฐฯและกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ก็เคยนำเรือเข้ามาปฏิบัติการในเขตอ่าวไทยมาแล้ว เช่นการลักลอบส่งเสรีไทยขึ้นฝั่ง หรือจมเรือต่างๆ
ตัวอย่างเช่น ร.ล.สมุย(ลำที่๑) ซึ่งถูกเรือดำน้ำชั้น Balao ขนาด 1,550tons(ที่ผิวน้ำ) คือ SS-315 USS Sealion กองทัพเรือสหรัฐยิงจมใกล้เกาะโลซิน ระหว่างภารกิจลำเลียงน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘(1945)
เฉพาะกองทัพเรือไทยเองก็มีบันทึกไว้อยู่ว่า เรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ ทั้ง ๔ลำ ซึ่งเป็นเป็นเพียงเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็กเพียง 370tons ช่วงการรบในสงครามไทย-ฝรั่งเศส เรือดำน้ำไทยก็ได้เคยถูกส่งไปปฏิบัติการถึงหน้าฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศสที่ปัจจุบันอยู่ในกัมพูชามาแล้ว(www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_od_submarine_thai.htm)
แต่น่าเสียดายที่ประวัติการรบของเรือดำน้ำไทยช่วงนั้นไม่ได้มีผลงานที่โดดเด่นชัดเจนถึงขั้นจมเรือศัตรูได้ ประกอบกับสถานการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ไทยต้องการให้การประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมษะ ทำให้เราไม่ค่อยพูดถึงการใช้เรือดำน้ำในเชิงรุกรานนัก

แต่ถ้าติดตามข่าวเรือดำน้ำทั่วโลกในยุคร่วมสมัยนี้ ก็เห็นว่าไม่ว่าจะกรณีเรือดำน้ำรัสเซียที่ล้ำน่านน้ำฟินแลนด์-น่านน้ำสวีเดน, เรือดำน้ำจีนที่ล้ำน่านน้ำญี่ปุ่น-น่านน้ำเกาหลีใต้
หรือแม้แต่ในกลุ่ม ASEAN เองก็เคยมีข่าวอินโดนีเซียไม่พอใจที่พบว่าเรือดำน้ำมาเลเซียล้ำน่านน้ำตน เช่นเดียวกับที่มาเลเซียก็ไม่พอใจที่พบเรือดำน้ำอินโดนีเซียล้ำน่านน้ำตนเช่นกัน
กล่าวคือกองทัพเรือไทยจะพูดตรงๆไม่ได้หรอกว่าเราจะใช้เรือดำน้ำทำเรื่องแบบนั้น เพราะมันเป็นการส่งสัญญาณว่าเราจะคุกคามประเทศเพื่อนบ้าน เลยต้องพูดเป็นเรื่องการสำรวจและปกป้องทรัพยากรในทะเลไทยอะไรก็ว่าไป
แต่ก็ต้องกล่าวย้ำอีกครั้งคือเรือดำน้ำเป็นเรือที่ใช้ในทางลับ-รุก-รับ ภารกิจส่วนใหญ่ของเรือดำน้ำเราก็คงจะใช้แบบเดียวกับประเทศอื่นๆที่มีเรือดำน้ำนั่นละ คือการป้องกันตั้งรับโดยการรุกในทางลับ เพราะเราจะไม่สามารถชนะสงครามได้เลยถ้าไม่มีอาวุธในเชิงรุกทั้งในยามสงบและยามสงคราม
(ไม่มีกองทัพเรือประเทศไหนใช้เรือดำน้ำทำงานเดียวกับเรือตรวจการณ์ยามฝั่งที่ปฏิบัติการเฉพาะในทะเลอาณาเขตของตน ถ้าจะใช้เรือดำน้ำแบบนั้นอย่าซื้อมาเลยไม่เปลือง)

HNLMS BRUINVIS Walrus class submarine Royal Netherlands Navy

ในอีกแง่ถ้ากล่าวถึงการใช้เรือดำน้ำในภารกิจที่ไม่ใช่ยามสงคราม ตัวอย่างหนึ่งคือในกองเรือนานาชาติภารกิจปราบปรามโจรสลัดโซมาเลียในอ่าว Aden
เช่นเรือดำน้ำชั้น Walrus กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ (http://www.nato.int/cps/en/natolive/news_64706.htm) จนถึงเรือดำน้ำชั้น Type 039 Song จีน(https://news.usni.org/2014/09/30/chinese-submarine-headed-gulf-aden-counter-piracy-operations) นั้น
เรือดำน้ำหลายชาติที่เข้าร่วมปฏิบัติการจะดำลงใต้น้ำและใช้ Sonar ตรวจจับเรือต่างๆที่เดินทางออกมาจากชายฝั่งโซมาเลีย ซึ่งสามารถวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของเรือพลเรือนที่ตรวจจับได้ว่า เรือลำไหนเป็นเรือแม่ที่ปล่อยเรือเล็กของโจรสลัดที่จะเข้าโจมตีเรือพาณิชย์ได้
เรือดำน้ำจึงน่าจะถูกใช้งานในการเฝ้าตรวจการณ์ติดตามเรือที่กระทำผิดกฎหมายทางทะเลได้เช่นเดียวกับเรือผิวน้ำ โดยมีคุณสมบัติบางอย่างดีกว่าเช่นการซ่อนพรางเพื่อไม่ให้เป้าหมายรู้ตัว

(การพิสูจน์ทราบเป้าหมายเรือผิวน้ำของเรือดำน้ำสมัยใหม่ด้วย Sonar เชิงรับนั้น ทำได้ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบเสียงของเครื่องยนต์และใบจักร ซึ่งถ้า Sonar ที่ติดตั้งมีประสิทธิภาพสูงก็จะจับเสียงได้ในระยะที่ไกล
โดยรูปแบบเสียงที่แพร่ออกมาจากเรือสินค้าและเรือรบนั้นมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โดยการเทียบจากรูปแบบเสียงที่มีบันทึกในฐานข้อมูล หรือจากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี Sonar
การระบุประเภทชั้นเรืออาจจะต้องใช้ระบบตรวจจับอื่นๆประกอบ เช่น ESM ในการตรวจจับสัญญาณการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเรือรบจะมีการเปิด Radar ตรวจจับชนิดต่างๆซึ่งมีรูปแบบสัญญาณเฉพาะตามชนิดของระบบที่ติดตั้ง หรือการระบุเรือเป้าหมายในระยะสายตาด้วยกล้องตาเรือจากใต้น้ำ
ข้อมูลทั้งหมดที่ระบบตรวจจับต่างๆของเรือดำน้ำรวบรวมได้จะถูกป้อนเข้าสู่สถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่เป้าหมาย (TMA: Target Motion Analysis) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนวยการรบในการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบของแต่ละเป้าหมายที่ตรวจจับได้ต่อไป)


Submarine's assume patrol plot course concept

ถ้าไม่นับประเด็นความโปร่งใสของการจัดหา จนถึงข้อกังขาถึงสมรรถนะของตัวเรือแล้ว ถ้ากองทัพเรือไทยมีเรือดำน้ำเราก็จะใช้ในเขตอ่าวไทยชั้นนอกจนถึงอันดามัน โดยอาจจะต้องลอบเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศอื่นโดยไม่ให้ถูกตรวจจับได้
และนั่นก็เป็นเหตุผลโดยรวมว่าทำไมถึงมีบางฝ่ายที่จะพอใจและได้ประโยชน์มากถ้ากองทัพเรือไทยยังคงไม่มีเรือดำน้ำประจำการจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้เรือดำน้ำมาจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีก็ได้ใช้ได้ลองจริงๆให้รู้แน่ว่าจะทำอย่างได้อย่างที่ว่ามาหรือเปล่า เช่นในภาพแผนที่ประกอบข้างต้น
ซึ่งเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039A Yuan ที่กองทัพเรือจีนมีใช้งานเองนั้นทำได้มาแล้วในการเดินทางจากฐานทัพเรือเกาะ Hainan ทะเลจีนใต้ไปฐานทัพเรือ Karachi ปากีสถานผ่านมหาสมุทรอินเดียโดยมีเรือสนับสนุนตามไปด้วยโดยที่กองทัพเรืออินเดียไม่สามารถตรวจจับได้
โดยการเดินการดังกล่าวมีภาพถ่ายดาวเทียมยืนยัน (http://aagth1.blogspot.com/2015/07/yuan.html)
แต่ก็ไม่ทราบว่าการฝึกกำลังพลประจำเรือดำน้ำ S26T โดยกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนนั้นจะสอนยุทธวิธีนี้ให้กองทัพเรือไทยทราบทั้งหมดหรือไม่
เพราะตามรายงานพิเศษล่าสุดของ TAF นั้นผู้ให้ข้อมูลดูจะกล่าวว่าทางกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนไม่ต้องการจะให้รัฐบาลจีนขายเรือดำน้ำทีมีสมรรถนะสูงแบบล่าสุดเท่ากับรุ่นที่จีนใช้เอง และน่าจะรวมถึงการสอนเทคนิคการใช้เรือดำน้ำที่จีนมีทั้งหมดให้ไทยด้วย

ที่สำคัญที่สุดเรืออาจจะใช่เวลาสร้างนานเช่นเดียวกับการฝึกกำลังพลให้ปฏิบัติงานกับเรือได้ แต่เวลาที่จะให้กำลังพลประจำเรือ เสนาธิการ และผู้บังคับบัญชามีความชำนาญในการใช้กำลังทางเรือนั้นจะใช้เวลานานกว่าการสร้างเรือและฝึกกำลังพลอย่างมาก
เป็นเวลานานตั้งแต่การปลดประจำการเรือดำน้ำชุดแรกของกองทัพเรือไทยคือปี พ.ศ.๒๔๙๔ ที่กองทัพเรือไทยขาดองค์ความรู้ด้านเรือดำน้ำที่สมบูรณ์แท้จริง นอกจากการฝึกด้วยเครื่องจำลอง อบรมในหลักสูตรต่างประเทศ และการฝึกร่วมกับเรือดำน้ำมิตรประเทศ
ยิ่งกองทัพเรือไทยยังคงไม่มีเรือดำน้ำประจำการนานเท่าไร ไทยเราก็จะเสียบเปรียบด้านการรักษาสมดุลกำลังความมั่นคงทางยุทธศาสตร์มากขึ้น 
แต่นั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากการที่ไทยยังมีไม่เรือดำน้ำ ต้องการให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบใดๆก็ตามไม่ประสบผลสำเร็จตลอดไปหรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ครับ (แต่ที่ผ่านมาโครงการเรือดำน้ำในอดีตที่ไม่ประความสำเร็จก็เพราะบางทีจะมีคนในด้วยกันนี่ละที่เอาข้อมูลไปให้ฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะสื่อใช้ในการโจมตี)

Royal Thai Air Force Gripen C 701 Fighter Squadron with RB 15F Anti-Ship Missile and IRIS-T Air-to-Air Missile(https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/1600942799935304/)

ข่าวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินในไทยคือการที่บริษัท SAAB สวีเดนให้ความพื้นที่เขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก(EEC: Eastern Economic Corridor) เพื่อจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) กับกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
ถ้าจะมีการสร้างจริงจะใช้เวลาราว ๒ปี  ซึ่งนอกจาก SAAB สวีเดนแล้วยังมีเช่น การบินไทย, Airbus ฝรั่งเศส-เยอรมนี, Lockheed Martin-Sikorsky สหรัฐฯ(ร่วมกับ Thai Aviation Services) และจากต่างประเทศอื่นๆกว่า ๓๐ราย ที่ให้ความสนใจพื้นที่ EEC โดยเฉพาะพื้นที่เขตส่งเสริมอู่ตะเภา
ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗  ๑๑เครื่อง และ บ.อ.๑ SAAB 340 ERIEYE AEW และ บ.ล.๑๗ SAAB 340B ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗
การที่ SAAB ให้ความสนใจจะตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานในไทยจริงจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกกรรมการบินและการพัฒนาอากาศยานด้านความมั่นคงในไทยมาก ซึ่งทาง SAAB เองก็เข้ามาทำการตลาดในกลุ่มประเทศ ASEAN มากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ทางรัสเซียเองก็มีการเจรจาหารือกับกระทรวงกลาโหมไทยในด้านความร่วมมือการจัดหาและซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์รัสเซียในไทย ซึ่งหลักๆก็เช่น ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทยครับ

ตรงนี้บ่นส่วนตัว เมื่อกล่าวถึงทั้งสื่อกระแสหลักทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อทางเลือกใน Internet ทั้ง Website, Webboard, Page Facebook หรือ Youtube ในการนำเสนอข่าวสารทางทหารในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล้วนเป็นการตอกย้ำความไร้จรรยาบรรณในการทำงานของสื่อไทย
ทั้งการให้สัมภาษณ์ชี้เแจงของตัวแทนเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไทยต่อโครงการหาเรือดำน้ำจีน, กองทัพเรือสหรัฐฯยิงอาวุธนำวิถีร่อน BGM-109 Tomahawk โจมตีซีเรีย, กองทัพอากาศสหรัฐฯส่ง MC-130 ทิ้งระเบิด GBU-43/B MOAB โจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน
จนถึงที่สหรัฐฯส่งหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี CVN-70 USS Carl Vinson ไปวางกำลังที่คาบสมุทรเกาหลี การเดินทางเยือนฐานทัพเรือ Busan ของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนชั้น Ohio(ที่ผ่านการปรับปรุงใหม่) SSGN-727 USS Michigan
(ซึ่งการให้สัมภาษณ์สื่อหรือผ่าน Twitter ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump มีข้อมูลคาดเคลื่อนกับที่เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐฯชี้แจงต่อสื่อหลายส่วน แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องของ Trump) 
การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพทางทหารในวันครบรอบ ๑๐๕ปีวันเกิดอดีตผู้นำประเทศ Kim Il-sung ผู้ล่วงลับ และทดสอบยิงขีปนาวุธที่ล้มเหลวของกองทัพประชาชนเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีนั้น

ทั้งที่เห็นจากในรายการสัมภาษณ์โฆษกกองทัพเรือเรื่องเรือดำน้ำที่ดูจะเป็นการสร้างน้ำหนักให้กับกลุ่มผู้คัดค้านโครงการจัดหาเรือดำน้ำ (ถามแต่ละอย่างมีแต่ชี้นำจนฟังแล้วหงุดหงิดแทนนายทหารเรือผู้ถูกสัมภาษณ์)
รวมถึงการวิเคราะห์แบบที่ว่ากันตรงๆคือ 'มั่ว' ตามความรู้ที่น้อยนิดหรือไม่ได้รู้อะไรเลยของผู้จัดรายการ และผู้เขียนบทความข่าวในสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงเน้นแต่สร้างกระแสฉาบฉวยเพื่อขายข่าวหลอกผู้ชมที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในด้านนั้น
เช่น เสนอข่าวเท็จว่าเปียงยางเกาหลีเหนือมีเสียงสัญญาณเตือนภัยทั้งที่ภาพประกอบเป็นเสียงเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ชิลีเมื่อหลายปีก่อน สหรัฐฯยิง Tomahawk และทิ้ง MOAB เพื่อขายอาวุธทั้งๆนี้อาวุธทั้งสอบแบบนั้นเป็นอาวุธพิเศษที่สหรัฐฯจะไม่ส่งออกให้แม้แต่มิตรประเทศโดยง่าย (ประเทศเดียวที่สหรัฐฯส่งออก Tomahawk ให้คือกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ระบบหลักคือ UGM-109 ซึ่งยิงจากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของอังกฤษ) 
รวมถึงสร้างกระแสความเชื่อการเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ที่มีที่มาจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถืออย่างหนังสือพิมพ์แนว Tabloid จนถึงการชี้นำข้อมูลที่ถือข้างสหรัฐฯบ้าง ถือข้างรัสเซีย ถือข้างจีนบ้าง บ้างก็อาศัยกระแสนี้โจมตีกองทัพไทยต่างๆนานาตามที่ตนจะได้ผลประโยชน์

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกใน Internet เหล่านี้ยังเรียกตนเองว่านักข่าวหรือนักวิชาการได้อย่างไร เพราะทำตัวน่าจะเรียกได้ว่าเป็นนักแต่งนิยายแนวเกินจริง ไม่ก็หมอดูหมอเดาเสียมากกว่า
และการจะพิมพ์หรือเผยแพร่อะไรใน Internet  อย่างการตั้ง FB Page หรือลง Clip Youtube ทุกวันนี้ก็ง่ายรวดเร็วและสะดวกมาก โดยแทบไม่มีใครมาคอยตรวจสอบเนื้อหาว่าไม่ถูกต้องบิดเบือนหรือไม่ และก็แทบจะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรที่พลาดไปแล้วหรือไปใส่ร้ายใครด้วย
ซึ่งก็แย่ที่ว่าทุกวันนี้สื่อปลอมพวกนี้ยังทำตัวเป็นกลุ่มนกกระจอก ที่สุมหัวคุยกันอยู่ในรังส่งเสียงดังน่ารำคาญตลอดเวลา แถมบางส่วนก็ยังมีชื่อเสียงในสังคมอยู่ได้ด้วย
โดยส่วนตัวมีความรู้สึกว่าปัญหาของประเทศไทยชาติที่รักของเราในภาพรวมคือ 'คนไทยไม่ค่อยรักชาติ' ซึ่งคนต่างประเทศที่มีกระแสชาตินิยมในประเทศตนสูงอย่างคนเกาหลีใต้ที่อยู่เมืองไทยมานานพอก็จะมองออกครับ http://aagth1.blogspot.com/2015/04/animation.html