Walkaround: Royal Thai Army's Norinco VN1 8x8 wheeled armoured vehicle at Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi province, Thailand in November 2020.
Royal Thai Army's VN1 and Norinco VT4 main battle tank.
VN1 ทบ.ไทยวิ่งโชว์ในภูมิประเทศ .....Photo Sompong Nondhasa
เขี้ยวเล็บสำคัญทบ.ไทย......รถถังหลัก VT4 เคียงคู่เป็นครั้งแรก กับยานเกราะล้อยาง VN1 ผลิตโดย นอรินโค ประเทศจีน ...Photo Sompong Nondhasa
ชมรอบตัวภายในภายนอกของ VN1 คร้้งแรก!...มีอะไรบ้าง? ...หลังจากที่ยานเกราะล้อยาง 8X8 VN1 ได้เข้าประจำการในกองทัพบกไทยมาสักระยะหนึ่ง เราไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็นรายละเอียดของยานรบที่ผลิตโดย NORINCO ประเทศจีนกันมากนัก
อีกทั้งกองทัพบกยังไม่ได้เปิดตัว VN1 อย่างเป็นทางการ ดังนั้น Battlefield Defense จึงพาชมภายใน-ภายนอก ให้ชมกันว่ายานรบ VN1 เฃีีัยวเล็บใหม่ของทบ.ไทยมีหน้าตาเป็นอย่างไรและมีอะไรน่าสนใจกันโดยเฉพาะภายในตัวรถ ...Photo Sompong Nondhasa
ด้านหน้าตัวรถออกแบบอย่างเรียบง่าย
ภาพถ่ายมุมสูงแสดงรูปร่างภายนอกด้านซ้ายของรถ VN1 ซึ่งตัวรถและป้อมปืนทำจากแผ่นเกราะที่มีความแข็งสูง
ตัวรถนอกจากมีแผ่นเหล็กเกราะแล้วยังเสริมด้วยเกราะคอมโพสิต ทำให้เกิดการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
ไฟส่องสว่างด้านหน้ามีซี่เหล็กป้องกันไว้ด้วย
มุมมองด้านข้างซ้ายของ VN1 จะเห็นลวดลายพรางสี่สีด้วยกันอย่างชัดเจน
มุมมองด้านข้างและด้านหลังของ VN1
บนหลังคารถติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติ ประกอบด้วยอาวุธ ปืนใหญ่อัตโนมัติ ขนาด 30mm ปืนกลร่วมแกน 7.62mm เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm เครื่องยิงลูกระเบิดควัน 76mm ทั้งหมดนี้ควบคุมทำการยิงจากภายในตัวรถ
นอกจากอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังสามารถติดตั้งอาวุธเสริมเป็นอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 73D ได้อีกสามนัด
ภาพด้านหลังของป้อมปืนอัตโนมัติจะเห็นกล่องบรรจุกระสุนได้อย่างชัดเจน
VN1 ใช้ยาง Runflat ทำให้ปฏิบัติการต่อไปได้แม้ยางจะไม่มีลม
มุมมองด้านท้ายรถ มีประตูปิด-เปิดบานใหญ่ สามารถเข้า-ออกจากภายในตัวรถได้อย่างสะดวกสบาย ด้านข้างท้ายรถติดตั้งระบบขับเคลื่อนในน้ำด้วย
ระบบขับเคลื่อนในน้ำติดตั้งท้ายรถ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของรถสะเทินน้ำสะเทินบก ความเร็วเคลื่อนที่ในน้ำ 8km/h
มีระบบเติมลมยางอัตโนมัติสามารถเติมลม/ปล่อยลมและตรวจสอบลมยางได้อัตโนมัติ ระบบพยุงตัวรถเป็นแบบอิสระ เพลาขับมีอุปกรณ์ล็อคเฟืองท้าย ช่วยให้รถมีสมรรถนะยอดเยี่ยมในการใช้งานในภูมิประเทศ
หัวใจสำคัญของยานเกราะล้อยาง VN1 ก็คือการติดตั้งระบบควบคุมการยิงอาวุธอัตโนมัติซึ่งพลยิงสามารถทำการยิงและควบคุมการยิงได้จากภายในตัวรถ
ภายในห้องพลขับซึ่งใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของ VN1 ด้านบนมีฝาเปิดสำหรับโผล่หัวออกมาดูทัศนะวิสัยจากภายในได้ หรือใช้เป็นทางเข้า-ออกของพลขับก็ได้เช่นกัน
มุมมองจากพลยิงอาวุธไปยังด้านหน้าซึ่งเป็นห้องของพลขับ ซึ่งสามารถเดินไปมาได้
ภายในติดตั้งระบบวิทยุสื่อสารที่ทันสมัย ด้านข้างมีเก้าอี้เสริมอีกหนึ่งตัวซึ่งสามารถพับเก็บแนบกับด้านข้างตัวรถ
ภายในตัวรถด้านขวาติดตั้งเก้าอี้แบบพับแนบกับตัวรถได้จำนวนหกที่นั่ง
มีระบบ นชค.(NBC: Nuclear, Biological and Chemical) และระบบดับเพลิงอัตโนมัติเพื่อเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบ
ภายในตัวออกแบบมาให้มีพื้นที่ว่างและกว้างขวางมีที่นั่งรวมทั้งหมด ๑๓ที่นั่ง สำหรับบรรทุกทหารได้หนึ่งหมู่(๑๑นาย) เก้าอี้สีดำคือที่นั่งของพลควบคุมการยิงอาวุธ
ระบบสื่อสารติดตั้งไว้ด้านข้างซ้ายของตัวรถ มีเก้าอี้หนึ่งตัวสำหรับปฏิบัติการ
ภายในตัวรถมีระบบปรับอากาศ โดยใช้ลมหมุนเวียนที่กำเนิดจากเครื่องยนต์ ติดตั้งไว้ด้านบนรอบตัวรถ เพิ่มความสบายให้กับกำลังพลและพลประจำรถ
แผ่นประตูปิด-เปิด ด้านหลังรถ มีช่องมองและช่องยิงอาวุธจากภายใน 1 ช่อง
แสดงด้านนอกของช่องมองและช่องยิงอาวุธจากภายในรถด้านข้าง
การสาธิตสมรรถนะและอำนาจการยิงของเหล่าทหารม้า กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) แก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ วปอ.สปท.(Thailand National Defence College)
ณ ค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่ผ่านมาน่าจะเป็นครั้งแรกที่กองทัพบกไทยได้เปิดตัวยานเกราะล้อยาง Norinco VN1 8x8 ให้สาธารณชนชมอย่างใกล้ชิด
เป็นความคืบหน้าล่าสุดนับตั้งแต่ที่ China North Industries Corporation(Norinco) สาธารณรัฐประชาชนจีนผู้ผลิตได้เปิดเผยวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์การการทดสอบรถที่จีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-norinco-vn1.html) และเริ่มส่งมอบมายังไทย
กองทัพบกไทยได้จัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระยะที่๑ วงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ประกอบด้วยรถเกราะลำเลียงพล VN1 APC ๓๔คัน,ยานเกราะกู้ซ่อม VS27 ๒คัน, รถซ่อมบำรุงเครื่องมือทางกล ๑คัน และรถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า ๑คัน
และระยะที่๒ วงเงิน ๒,๒๕๑,๙๒๘,๐๘๖บาท($66,233,17) ประกอบด้วยรถเกราะลำเลียงพล VN1 APC ๓คัน, รถเกราะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดหนักขนาด 120mm SM4A ๑๒คัน, รถเกราะกู้ซ่อม VS27 8x8 Recovery Vehicle ๙คัน,
รถเกราะที่บังคับการ(Reconnaissance and Command Vehicle) VE36 ๑๒คัน, รถเกราะพยาบาล VN1 Ambulance ๓คัน และรถซ่อมบำรุง ๒คัน รถซ่อมบำรุงเครื่องมือทางกล ๑คัน และรถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า ๑คัน พร้อมกระสุนต่างๆ รวมจำนวนที่สั่งจัดหาในทุกรุ่นเป็น ๗๕คัน
กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้าที่๒ กองพลทหารม้าที่๑ น่าจะเป็นหน่วยแรกที่ได้รับมอบ VN1 8x8 ทดแทนรถเกราะล้อยาง V-150 4x4 และยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 ที่โอนย้ายไปกรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
เป็นที่เข้าใจว่าหน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ อีกสองกองพันคือ กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ น่าจะได้รับมอบรถในระยะต่อไป ตามการจัดหาสองระยะ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn1-vt4.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/12/vn1-stryker-rta-icv.html)
การเปลี่ยนผ่านอัตราจัดกำลังของ ม.๒ พล.ม.๑ จากทหารม้าลาดตระเวนเป็นทหารม้าบรรทุกยานเกราะ โดยใช้รถเกราะล้อยาง VN1 นั้นถือว่ามีการออกแบบตัวรถและระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ค่อนข้างทันสมัยอยู่บ้าง(ดีกว่า BTR-3 ยูเครนมาก แต่ยังไม่เท่า Stryker สหรัฐฯ) ในภาพรวมน่าพอใจระดับหนึ่งครับ