วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กกำลังเริ่มก่อตัวในเอเชียแปซิฟิก

Small aircraft carriers pick up steam in Asia-Pacific



Source: Royal Australian Navy
South Korea and Japan continue to progress their plans for small aircraft carriers, while the Singapore air force has operated Boeing CH-47Ds to the HMAS Adelaide.


South Korea’s defence ministry provided Yonhap News with an artist’s impression of the planned aircraft carrier


The JS Izumo undergoing modification work in Yokohoma.




Thailand’s Royal Thai Navy HTMS Chakri Narubet with SH-60B Seahawk helicopters.



สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/lpx-ii.html) และญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/izumo-ski-jump-f-35b.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/07/izumo-f-35b.html) กำลังเดินหน้าแผนของพวกตนเพื่อการมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก
ขณะที่กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing CH-47D ของตนบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) L01 HMAS Adelaide

องค์ประกอบหลักของแผนกลาโหมในปี 2030s จะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเบาขนาดระวางขับน้ำ 30,000tonne สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี
เรือบรรทุกเครื่องบินของเกาหลีใต้นี้จะได้รับการวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing)

รายงานตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 20เครื่องจะได้รับการจัดหาควบคู่ไปกับเครื่องบินขับไล่ F-35A เพิ่มเติมจำนวน 20เครื่องสำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) 
ถ้ามีคำสั่งซื้อขึ้นจริงจะทำให้เกาหลีใต้มีเครื่องบินขับไล่ F-35 รวมทั้งหมด 80เครื่อง แบ่งเป็น F-35A จำนวน 60เครื่อง และ F-35B จำนวน 20เครื่อง เป็นที่เข้าใจว่าเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่จะพร้อมในปี 2033 และมีราคาที่ 2 trillion Korean Won($1.8 billion)

เมื่อวันที่ 27ตุลาคม 2020 สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีประกาศว่าการประชุมจะมีการจัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับวิทยาการหลักสำหรับโครงการเรือบรรทุกเครื่องบิน
ภาคส่วนหนึ่งได้ปรากฏว่าเกาหลีใต้ให้ความสนใจในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองคือวัสดุดาดฟ้าที่สามารถทนความร้อนจากท่อไอพ่นที่ 1,000 degree Celsius โดยมีบริษัทท้องถิ่นของเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งจะมีส่วนร่วมในงานนี้

อีกด้านหนึ่งสื่อรายงานจากญี่ปุ่นบ่งชี้ว่าได้มีการเริ่มดำเนินการงานดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้งสองลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) คือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga 
ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่รองรับ F-35B ซึ่งญี่ปุ่นจะจัดหาเช่นกัน ภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่าเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 Izumo กำลังได้รับการทำงานดัดแปลงอย่างมากในอู่เรือที่เมืองท่า Yokohama

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดการเปลี่ยนแบบเรือ อย่างไรก็ตาม Janes ได้รายงานล่าสุดว่าเรือชั้น Izumo ทั้งสองลำจะไม่มีทางวิ่งขึ้น ski-jump เพื่อช่วยในการวิ่งขึ้นของ F-35B แต่จะมีหัวเรือทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เช่นเดียวกับเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ที่ปฏิบัติด้วย F-35B ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) โดยญี่ปุ่นมีแผนที่จะประจำการเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL จำนวน 42เครื่อง

ความคืบหน้าการพัฒนาด้านเรือบรรทุกเครื่องบินในอีกรายคือ กองทัพเรือออสเตรเลียและกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ประกาศว่าเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47D กองทัพอากาศสิงคโปร์ซึ่งมีที่ตั้งวางกำลังในออสเตรเลีย
ล่าสุดได้ดำเนินการปฏิบัติงานบนดาดฟ้าบินของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L01 HMAS Adelaide เพื่อรับรองคุณสมบัติการลงจอดบนดาดฟ้าเรือพี่สาวคือเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L02 HMAS Canberra

มีการคาดการณ์ว่ากองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) น่าจะต้องการมีเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ดาดฟ้าเรียบตลอดลำที่ปฏิบัติการด้วย F-35B ที่สิงคโปร์สั่งจัดหา 12เครื่องได้(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-35b-12.html)
สิงคโปร์กำลังประเมินค่าแผนที่จะทดแทนเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Endurance ทั้ง 4ลำด้วยเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมแบบใหม่ที่มีความทันสมัยมากกว่า(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/endurance-170-lpd.html)

ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเล IMDEX 2019 ที่สิงคโปร์ในปี 2019 มีผู้สร้างเรือหลายบริษัทได้แสดงแบบจำลองเรือดาดฟ้าเรียบในอนาคต เช่น บริษัท ST Engineering สิงคโปร์ที่แสดงแบบเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Endurance 160 ขนาด 14,500tonne ของตน
ขณะที่บริษัท Navantia สเปนได้แสดงแบบจำลองเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน(Spanish Navy) ซึ่งเรือชั้น Canberra ทั้งสองลำของกองทัพเรือออสเตรเลียมีพื้นฐานจากเรือชั้นนี้

ไม่เคยมีประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กแบบดาดฟ้าเรียบมาก่อน เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศรของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) มีพื้นฐานจากเรือบรรทุกเครื่องบิน Príncipe de Asturias กองทัพเรือสเปนที่ปลดประจำการไปแล้ว
ร.ล.จักรีนฤเบศรรองรับการปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk บนดาดฟ้าบินได้พร้อมกัน ๖เครื่อง แต่สามารถเพิ่มจำนวน ฮ.ที่จะปฏิบัติการได้ถ้าจำเป็น เช่น เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ที่มี ๒เครื่อง

ร.ล.จักรีนฤเบศรยังเคยปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ บ.ขล.๑ McDonnell Douglas AV-8S Harrier ๙เครื่องที่ปลดประจำการไปในปี 2006 ที่สามารถบินขึ้นจากเรือด้วยทางวิ่งขึ้น Ski-jump ที่หัวเรือและกลับมาลงจอดทางดิ่งบนเรือได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/blog-post_3.html)
การที่สิงคโปร์มีที่ดินจำกัดทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อหาพื้นที่สำหรับตั้งฐานทัพ การที่มีเรือรบผิวน้ำที่สามารถวางกำลังหน่วยแยกของเครื่องบินขับไล่ได้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แม้ว่าจะจัดการด้านกำลังพลบนเรือขนาดใหญ่ดังกล่าวจะเป็นที่พิสูจน์ถึงความท้าทายก็ตามครับ