วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๑๐

WELCOME HOME HUEY LAST MISSION. Bell UH-1H utillity helicopters of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army informal decommissioned after serviced for 52 years in 29 September 2020.

FLY THE LEGEND HUEY LAST MISSION CEREMONY Royal Thai Army held Farewell and Decommissioning ceremony for its the last of Bell UH-1H utillity helicopters of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in 7 October 2020.


Leonardo AW139, Leonardo AW149 and Airbus Helicopters H125M(AS550 C3) of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army.



การบินครั้งสุดท้ายของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑ Bell UH-1H Huey กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหาร จากการวางกำลัง ณ หน่วยบินทหารบกอโณทัย ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี กลับที่ตั้ง ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา จังหวัดลพบุรี เมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ตามมาด้วยพิธีปลดประจำการของ ฮ.ท.๑ UH-1H เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓ นับเป็นเวลาอันยาวนานตั้งแต่จัดตั้งกิจการบินทหารบกยุคใหม่ สำหรับกองพันบินที่๑ หรือนามหน่วยเดิมคือ กองบินปีกหมุนที่๑ ที่เข้าประจำการตั้งแต่ก่อตั้งหน่วยในปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) รวมระยะเวลา ๕๒ปี
ปัจจุบันกองพันบินที่๑ ศบบ.มีอากาศยานประจำการในหน่วย เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ Leonardo AW139, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๙ Leonardo AW149 และ เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว. Airbus Helicopters AS550 C3(H125M) เป็นต้นครับ




Model of China Beihang UAS (Unmanned Aircraft System) was displayed by Thailand's Defence Technology Institute (DTI).

ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre : DTI-UTC) ผ่านการรับรองจากสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน Approved Training Organization (ATO) 
ตามประกาศข้อบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศและเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน 
เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานความมั่นคง และบุคคลทั่วไป รวมทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับภายในประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว 
พร้อมการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมนักบินระบบอากาศยานไร้คนขับ จํานวน 2 หลักสูตร ด้วยกัน ได้แก่ 1. Remote Pilot Licence (RPL) และ 2. Instructor Remote Pilot Licence (IRPL)

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ จึงจัดพิธีรับมอบใบรับรองจากสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน Certificate of Training Organization Approval ตามประกาศข้อบังคับของ CAAT 
และได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate) รับรองการเป็นสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้น วันที่ 24 กันยายน 2563 
โดยมี พลเอกพอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประธานในพิธี และ พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 
ให้เกียรติรับมอบใบรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน จาก ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม

ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI-UTC ขอเชิญชวนให้ท่านที่ใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ตระหนักถึงการสร้างมาตรฐานการบินอย่างปลอดภัย และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ 
เข้ารับการฝึกอบรมนักบินโดรนตามหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งคาดว่าจะเปิดรับสมัครในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นี้ และเริ่มเปิดการฝึกอบรมได้ในเดือนมีนาคม 2564
ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dti.or.th และ facebook fanpage : Defence Technology Institute โดยการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับที่กล่าวมาข้างต้นนั้นสอดคล้อง และบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 
คือ “เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย และพันธมิตรอาเซียน”

ประกาศราคากลาง งานจัดจ้างพัฒนาระบบการนำเข้าแผนที่ฉากฝึกสำหรับระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริง เพื่อการฝึกอบรมการใช้งาน ระบบ UAV ขนาดกลาง สำหรับปฏิบัติภารกิจของกองพลทหารปืนใหญ่ 

ความคืบหน้าของโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของระบบอากาศยานไร้คนขับ (D43 UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ที่ร่วมกับบริษัท Beihang UAS Technology Co.,LTD สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น
การประกาศราคากลางการพัฒนาระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริงของอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาวงเงิน ๙๕,๐๕๐,๐๐๐บาท($3,050,385.47) ที่ผู้ชนะคือ Beihang UAS จีนนั้นได้มีการระบุว่าหน่วยผู้ใช้งานคือ กองพลทหารปืนใหญ่(Artillery Division) กองทัพบกไทย
เป็นที่เข้าใจว่าระบบ UAV ขนาดกลางของ Beihang จีนที่ DTI มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบตามความต้องการของไทยนั้น จะถูกนำเข้าประจำการใน กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย(Target Acquisition Battery) ร้อย.ป.คปม.พล.ป. ทดแทนระบบเก่าเช่น Searcher II UAV อิสราเอลครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.html)




Sikorsky S-76B search and rescue helicopter serial 20308, 203 Squadron, Wing 2, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Navy was crash at Sirikit dam, Uttaradit provinces in 19:21AM, 8 October 2020 with pilot and co-pilot and 1 passenger injured and 7 passengers were safed.(https://www.facebook.com/photo/?fbid=3878493895511588&set=gm.4896922980325720)

โฆษกกองทัพเรือชี้แจงข่าว กรณีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของกองทัพเรือ ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติภารกิจ ที่ จังหวัดอุตรดิตถ์

วันนี้ (9 ตุลาคม 2563) เวลา 09.00 น. พลเรือโทเชษฐา ใจเปี่ยม โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงข่าวกรณีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 หมายเลข 2308 สังกัด ฝูงบิน 203 กองบิน 2 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติภารกิจเนื่องจากสภาพอากาศ 
และได้ลงจอดฉุกเฉินที่เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อเวลา 19.21 น. ของวันที่ 8 ต.ค. 63

มีนักบินและผู้โดยสารรวมทั้งหมด 10 คน โดยผู้โดยสาร 7 คนอาการปลอดภัย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 คน ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ได้แก่
1.นาวาโท บุญฤทธิ์ จันทร์ไพร นักบินที่ 1 มีอาการบาดเจ็บที่หลังและกระดูกยุบ
2.นาวาตรีณรงค์ บัวทอง นักบินที่ 2 มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกส่วนเอว สันหลังและคอ
3.นางสาวทศพร ทิพยศุภราษฎร์ ผู้โดยสาร มีอาการกระดูกหัก

โดยในวันนี้จะทำการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 3 คนมารักษาต่อที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เขตพญาไท กรุงเทพฯ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๔ ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B หมายเลข 2308 ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ เกิดขึ้นระหว่างภารกิจสนับสนุนมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พอ.สว.ในการช่วยประชาชนพื้นที่ภาคอีสาน
นับเป็นเรื่องดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากการตัดสินใจลงจอดฉุกเฉินด้วยความสามารถของนักบินทหารเรือไทย โดย สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัคราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานแพทย์ พอ.สว. ทรงรับสั่งว่าอุบัติเหตุนี้เป็นเคราะห์ไม่ใช่ความผิดเลย
ปัจจุบันเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ลล.๔ S-76B ที่ประจำการใน กบร.รวม ๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) คือหมายเลข 20307, 20308, 20309, 20310, 20311 และ 20312 นั้นหมายเลข 20310 ถูกจำหน่ายไปแล้วจากอุบัติเหตุในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ทำให้ขณะนี้เหลือใช้งาน ๔เครื่องครับ

One of five Sikorsky S-70i Royal Thai Air Force.(unknow photo source)

Sikorsky S-92A helicopter of 201st Squadron Royal Guard, Wing 2, Royal Thai Air Force.(unknow photo source)

ภาพถ่ายความละเอียดต่ำที่ไม่ระบุเวลาและสถานที่ได้เปิดเผยถึงเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky S-70i ที่มีการติดตั้ง Radar ตรวจสภาพอากาศที่หัวเครื่อง กำลังทำการบินโดยมีสีพรางเทาอ่อนติดเครื่องหมายธงไตรรงค์ไทยและตัวอักษรภาษาไทย 'กองทัพอากาศ' ที่พอจะอ่านออกได้บ้าง
ในการประชุมสัมมนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการศึกษากองทัพอากาศ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมาได้มีแผนภาพประกอบการบรรยายที่แสดงถึงแบบอากาศยานต่างๆที่กองทัพอากาศไทยมีหรือจะนำเข้าประจำการในอนาคต
ในส่วนอากาศยานที่มาจากสหรัฐฯได้รวมเฮลิคอปเตอร์ S-70i ๕เครื่องในประจำการช่วงปี 2023-2025 นับเป็นเฮลิคอปเตอร์จากบริษัท Sikorsky สหรัฐฯแบบล่าสุดที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยต่อจากเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๐ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ กองบิน๒ ครับ




Thai Aviation Industries (TAI) was assembling Austrian Diamond DA40NG Diamond Star trainer aircraft for 604 Squadron, Wing 6 Don Mueang, Royal Thai Air Force at TAI's Aircraft Maintenance Division, Kamphaengsaen flying training school in 19 October 2020.

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ติดตามความคืบหน้าการประกอบเครื่องบินฝึก ฝูงบิน ๖๐๔

วันจันทร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. พลอากาศตรี เสกสรร คันธา ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก ปราโมทย์ ศิริธรรมกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมคณะ 
เดินทางติดตามความคืบหน้าการประกอบเครื่องบินฝึก ฝูงบิน ๖๐๔ ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานกำแพงแสน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด โรงเรียนการบิน

การประกอบเครื่องบินฝึก Diamond DA40NG Diamond Star ออสเตรีย จำนวน ๘เครื่อง ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานกำแพงแสน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน(TAI: Thai Aviation Industries) โรงเรียนการบินกำแพงแสน สำหรับเข้าประจำการในฝูงบิน๖๐๔ "Sunny" กองบิน๖ ดอนเมือง
เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ บ.ฝ.๑๖ Pacific Aerospace Corporation(PAC) CT-4A Airtrainerฝูงบิน๖๐๔ ที่มีพิธีปลดประจำการไปเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ct-4a.html) เป็นการเปลี่ยนผ่านอากาศยานฝึกขั้นประถมของกองทัพอากาศไทย
DA40NG เป็นเครื่องบินฝึก/ธุรการเบาหนึ่งเครื่องยนต์ใบพัด ๔ที่นั่งเคียงกัน-เรียงกัน ติดตั้งระบบ Avionic ที่ทันสมัยของบริษัท Garmin สหรัฐฯ แม้จะมีปัญหาความล่าช้าจากการระบาดของ Covid-19 แต่การจัดหานี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ครับ




Two of Norinco VN1 8x8 wheeled armoured vehicles along with two of  V-150 4x4 Commando with Cockerill 90mm turret was spotted at Change of Command ceremony for 2nd Cavalry Regiment, 1st Cavalry Division, Royal Thai Army in 19 October 2020.

เมื่อ 19 ต.ค.63 เวลา 0909 ม.2 จัดพิธีบวงสรวง, สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใน พื้นที่ของหน่วย , พิธีรับ-ส่งหน้าที่ และมอบการบังคับบัญชา ระหว่าง พ.อ.ชาตรี สงวนธรรม รอง ผบ .พล.ม.1 กับ พ.อ.ธรรมรัตน์ เหรียญทอง ผบ.ม.2 ณ บก.ม.2 ค่ายพิชัยดาบหัก อ.เมือง จว.อ.ต.

พิธีรับ-ส่งหน้าที่และมอบการบังคับบัญชาผู้บัญชาการ กรมทหารม้าที่๒ กองพลทหารม้าที่๑ กองทัพบกไทย ณ ค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่พบยานเกราะล้อยาง Norinco VN1 8x8 จีน ๒คัน และรถเกราะล้อยาง V-150 Commando 4x4 ติดป้อมปืนใหญ่รถถัง Cockerill 90mm เบลเยียม ๒คัน
น่าจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงว่า กองพันทหารม้าที่๑๐ หน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ น่าจะได้รับมอบยานเกราะล้อยาง VN1 แล้ว โดยหน่วยขึ้นตรงอีกสองกองพันคือ กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ เข้าใจว่าน่าจะได้รับมอบรถในระยะต่อไป
ตามแผนการจัดหายานเกราะล้อยางตระกูล VN1 ในรุ่นต่างๆ ระยะที่๑(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/vn1-stryker-rta-icv.html) และระยะที่๒(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn1-vt4.html) ทุกรุ่นรวมเป็นจำนวน ๗๕คันครับ




MOD 963 rifle with MOD 40 40mm grenade launcher by Thai company NARAC ARMS INDUSTRY for Ministry of Defense of Thailand.


Ministry of Defence of Thailand have acquired undisclosed number of domestic NARAC556 assault rifles by NARAC ARMS INDUSTRY under designation as MOD 963 and MOD 963 AR for 20" and 14.5" length barrel respectively.




Thai MOD 963 SPR, MOD 963 and MOD AR rifles was shown at 67th Anniversary of Defense Industry Department, Thailand in 9 October 2020.

ปืนไทย MOD40 และ MOD963 series

วันสถาปนากรมการอุตสาหกรรมทหารปีที่๖๗ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓ 



The prototype of domestic DTI7 assault rifle in 7" length barrel developed by thai company KHT Firearms and cooperative with Defence Technology Institute (DTI). 









ทางบริษัทKHT Firearms ขอขอบคุณ อ.ผณิศวร ชำนาญเวช บรรณาธิการแห่งนิตยสารอาวุธ เป็นเกียรติที่ได้รับชมอาวุธDTI 7และได้ทดสอบอาวุธต่างๆทางบริษัทKHT Firearms ในครั้งนี้ด้วย บรรยากาศเป็นไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณครับ

การสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตามยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ 'S-Curve 11' ของรัฐบาลไทยที่ชัดเจนล่าสุดคือการที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมไทยได้จัดหาปืนเล็กยาวในโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวขนาด 5.56x45mm NATO เข้าประจำการ
โดยปืนเล็กยาวตระกูล NARAC556 ที่พัฒนาโดย บริษัท NARAC ARMS INDUSTRY ไทย รุ่นความยาวลำกล้อง 20" และรุ่นความยาวลำกล้อง 14.5" จะถูกนำเข้าประจำการในชื่อปืนเล็กยาว MOD 963 และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD 963 AR ตามลำดับ
เข้าใจว่าหน่วยขึ้นตรงของของกระทรวงกลาโหมไทยที่จะได้รับมอบปืนเล็กยาวตระกูล MOD 963 คือกองพันระวังป้องกัน และกองพันสารวัตรทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งอาจจะสามารถทำการจัดหาได้สูงถึงจำนวนราว ๑,๐๐๐กระบอก

นอกจาก ปลย.NARAC556 อีกโครงการคือคือความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI กับ บริษัท KHT Firearms ไทย ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU:Memorandum of Understanding) ในการพัฒนาและผลิตปืนเล็กยาวลำกล้อง 7" แบบ DTI7
ซึ่งทั้ง NARAC556 และปืนเล็กยาว DTI7 ต่างมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาวตระกูล Colt AR-15 สหรัฐฯทำงานด้วยระบบแก๊ซลูกสูบช่วงชักสั้นเช่นเดียวกัน แต่ก็แตกต่างในบางจุดเช่น ปลย.NARAC556 ก้านลูกสูบจะเป็นชิ้นเดียวกัน แต่ ปลย.DTI7 ลูกสูบกับก้านกระทุ้งแยกกับโครงลูกเลื่อนเป็นสามส่วน
ผู้สนับสนุนของ NARAC556 คือกระทรวงกลาโหมไทย ขณะที่ผู้สนับสนุนของ DTI7 คือ DTI โดยมีกองทัพเรือไทยจะรับมอบปืนต้นแบบไปทดลองใช้ แม้ว่าปืนเล็กยาวที่ผลิตในไทยเกือบ 100% ทั้งสองแบบราคาจะแพงกว่าปืนนำเข้าจากต่างประเทศมาก แต่ก็เป็นการสนับสนุนภาคเอกชนของไทยครับ