วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยจะปรับโครงสร้างหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

Policy Statement of The Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy For Fiscal Year 2019
https://www.navy.mi.th/images/banner/combined62.pdf


Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy or knows as Royal Thai Navy SEALs during Royal Thai Navy Exercise 2015-2018


Royal Thai Naval Air and Coastal Defence Command, Royal Thai Navy's Type 59-I 130mm field gun in Royal Thai Navy Exercise 2018 opening ceremony, 28 Febuary 2018
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1580460645355859.1073742607.439080726160529

Royal Thai Naval Air and Coastal Defence Command, Royal Thai Navy's Type 74 twin 37mm firing in Royal Thai Navy Exercise 2018.
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1882114915173189



นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒
...
๖.๕ สำหรับด้านการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากการสงคราม ที่ ทร.รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่อดีตมาหลายทศวรรษ และนับเป็นภารกิจสาคัญที่ ทร.ต้องดาเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
การดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก และการอนุรักษ์ทะเลไทยตามพระดำริแล้ว ยังมีภารกิจด้านการช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งนับเป็นบทบาทใหม่ที่ทหารสามารถเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ง่าย 
ปัจจุบันประชาชนได้รับทราบข่าวสารยอมรับถึงขีดความสามารถของ นสร.กร. อย่างกว้างขวางในการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะแคดิมี โดยอาจกล่าวได้ว่า “แต่ก่อนคนทั่วไปรู้จักและยอมรับทหารเรืออยู่ ๒ สิ่งคือ อาหารอร่อย และดนตรีไพเราะ 
ปัจจุบันต้องเปลี่ยนใหม่เป็น “อาหารอร่อย ดนตรีไพเราะดี และเนวีซีลชั้นยอด” จึงนับว่าเป็นโอกาสของ ทร. ในการปรับโครงสร้าง นสร.กร. ให้รองรับภารกิจในการปฏิบัติการทางทหาร และการช่วยเหลือประชาชน 
ด้วยการจัดตั้ง กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพิ่มเติมอีก ๑ กรม รวมเป็น ๒ กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพื่อเป็นการเตรียมการไว้สาหรับการปฏิบัติการรบ และการปฏิบัติการพิเศษทั้ง ๓ มิติ โดยให้ ๑ กรมรบพิเศษ เป็น Alfa Force อีก ๑ กรมรบพิเศษ เป็น Charlie Force ต่อไป
...
๔. ขยายขีดความสามารถของกำลังพล
๔.๑ กำหนดขีดสมรรถนะหลักของกำลังพลในหน่วยกำลังรบหลักโครงการนำร่อง ได้แก่
กร. และ นย. ภายใต้หลักปรัชญา “ผู้ที่รักการกินข้าวร้อน นอนตื่นสาย” ไม่มีสิทธิ์อยู่หน่วยกำลังรบเหล่านี้ได้ (กร. และ นย. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก) โดยกำหนดให้
๔.๑.๑ กำลังพลในกรมรบพิเศษที่ ๑ นสร.กร.ต้องสามารถกระโดดร่มแบบกระตุกร่มเอง (Sky Dive) หรือแบบเหิรเวหา กับสามารถปฏิบัติการดำน้ำด้วยเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำแบบวงจรปิด (SCUBA Closed Circuit) ได้ทุกนาย ตั้งแต่ผู้บังคับการกรมจนถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายในกองรบ
๔.๑.๒ กำลังพลในกองพันลาดตะเวน พล.นย. (พัน.ลว.พล.นย.) ต้องสามารถกระโดดร่มแบบมาตรฐาน และสามารถการดำน้ำแบบสคูบา (Self-Contained Underwater Breathing Apparatus Diving : SCUBA Diving) ได้ทุกนาย ตั้งแต่ผู้บังคับกองพันจนถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายในกองพัน
...
๑.๑ การปรับอัตราและโครงสร้าง สอ.รฝ.
๑.๑.๑ ให้ปรับโครงสร้างจากแบบตามแบบ (Type Organize) แบบดั้งเดิมให้ทันสมัย เป็นโครงสร้างแบบหลายภารกิจ (Multi-mission) หรือแบบกำลังรบที่มีขีดความสามารถสมบูรณ์ในตัวเอง (Expeditionary Force) 
ประกอบด้วย ๓ กรมรบหลัก คือ กรม สอ.๑ กรม สอ.๒ และ กรม รฝ.๑ โดยให้แต่ละกองพันมีอาวุธทุกชนิดรวมกัน กล่าวคือ พัน.สอ.๑ - ๒ หรือ พัน.สอ.๑ - ๓ ของ กรม สอ. จะมีอาวุธปืนเหมือนกัน ประกอบด้วย ปก.๔๐ มม. ปก.๓๗ มม. และอาวุธปล่อยนำวิถีระยะปานกลางกองพันละ ๑ ระบบ 
โดยให้ปิดอัตรา กรมละ ๑ กองพัน (บรรจุเต็ม ๒ กองพัน เป็นอัตราโครง ๑ กองพัน) กับมอบให้กองพันใดกองพันหนึ่งเป็นหน่วยดูแลและใช้กำลัง และ พัน.รฝ.๑ - ๒ จะมีอาวุธเหมือนกัน ประกอบด้วย ปกบ.๑๓๐ มม. ปกค.๑๕๕ มม. และอาวุธปล่อยนำวิถีระยะปานกลาง-ระยะไกลกองพันละ ๑ ระบบ
โดยให้ปิดอัตรากรม จำนวน ๑ กองพัน (บรรจุเต็ม ๒ กองพัน เป็นอัตราโครง ๑ กองพัน) กับมอบให้กองพันใดกองพันหนึ่งเป็นหน่วยดูแลและใช้กาลัง ทั้งนี้ขณะที่ยังไม่มีอาวุธปล่อยฯ ประจาการ ให้ทั้ง ๒ กองพัน มีอัตราและโครงสร้างเหมือนกัน 
และเมื่อมีอาวุธปล่อยประจำการฯ จะปรับกองพันใดกองพันหนึ่งหรือกองร้อยใดกองร้อยหนึ่งในแต่ละกองพันเป็นกองพัน/กองร้อยอาวุธปล่อยฯ 
กับให้กองพันใดกองพันหนึ่งหมุนเวียนกันเป็นกองพันพร้อมรับสถานการณ์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) ตลอด ๒๔ ชั่วโมงตลอดปี
๑.๑.๒ ให้ปรับอัตรา ๓ กรมรบหลัก คือ กรม สอ.๑ กรม สอ.๒ และ กรม รฝ.๑ โดยปิดอัตราเหลือเพียงอัตราโครง ๑ กองพัน (แต่ละกรมจะบรรจุกำลังเพียง ๒ กองพัน อีก ๑ กองพันปิดการบรรจุ)
...
๑.๔. การปรับอัตราและโครงสร้าง กร. (นสร.กร.)
๑.๔.๑ ให้จัดตั้ง กรมรบพิเศษ นสร.กร. เพิ่มเติมอีก ๑ กรม รวมเป็น ๒ กรมรบพิเศษ นสร.กร.
๑.๔.๑ ให้นำอัตราจาก ศฝท.ยศ.ทร.มาปรับเกลี่ยมาเป็นอัตรา กรมรบพิเศษที่ ๒ นสร.กร.

การปรับอัตราโครงสร้างของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ นสร.กร.(Royal Thai Navy SEALs) ได้มีความชัดเจนตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบัน พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้
จากเดิมที่ นสร.มีอัตรากำลังรบที่ ๑กรมรบพิเศษ ก็จะขยายอัตรากำลังเป็น ๒กรมรบพิเศษ แบ่งเป็น Alfa Force ๑กรม และ Charlie Force ๑กรม(ยังมีข้อสงสัยว่า Bravo Force นั้นไม่มี หรือเป็นแบบเดียวกับ SEAL Team Six ของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือกองทัพเรือสหรัฐฯ US Navy SEALs)

ซึ่งเท่าที่ทราบมาภารกิจของ นสร.ในช่วงหลายปีก่อนหน้าจนถึงปัจจุบันนั้นนับว่ามากเกินจำนวนกำลังพลในหน่วย โดยเฉพาะการเพิ่มภารกิจช่วยเหลือประชาชน อย่างการช่วยทีมนักฟุตบอลเยาวชนหมูป่า ๑๓ชีวิตที่ติดถ้ำถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนเมื่อเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ก็เป็นปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยที่ตึงมือและกำลังพลไม่พอสำหรับ นสร.ที่ไม่เคยดำน้ำในถ้ำและต้องระดมกำลังพลระดับใหญ่เช่นนี้มาก่อนอย่างมาก โดยอดีตกำลังพลที่ลาออกไปแล้วก็อาสามาช่วยเช่น จ่าเอกสมาน กุนัน ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน รวมถึงความช่วยเหลือจากหน่วยรบพิเศษนานาชาติ

การขยายอัตรากำลังของ นสร.ให้เพียงพอกับภารกิจที่มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตจึงมีความจำเป็น อย่างไรก็ตามในนโยบาย ผบ.ทร.๖๒ ก็ระบุไว้ชัดว่าจะกำลังพลตั้งแต่ผู้บังคับการถึงทหารประจำกองคนสุดท้ายต้องมีขีดความสามารถพร้อมรบสูงสุดทั้งการโดดร่มและดำน้ำ
โดยน่าจะรวมถึงการที่จะไม่ลดความเข้มข้นของการฝึกหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม นทต.จู่โจม ซึ่งเป็นการคัดเลือกกำลังพลใหม่เข้าหน่วยด้วย(ไม่รวมนักเรียนจากต่างเหล่าทัพคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

ด้านการปรับอัตราและโครงสร้างของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ใหม่ประกอบด้วย กรมต่อสู้อากาศยานที่๑, กรมต่อสู้อากาศยานที่๑ และกรมรักษาฝั่งที่๑ โดยแต่ละกรมจะมี ๒กองพัน โดยปิดอัตรากรมไป ๑กองพัน(๒กองพันบรรจุเต็ม ๑กองพันโครง)
โดย กรม สอ.จะยังคงประจำการด้วยปืนใหญ่กลต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 สวีเดน และ ปตอ.แฝดสอง Type 74 ขนาด 37mm จีนต่อไป โดยเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง(Medium-Range Surface-to-Air Missile) กองพันละ ๑ระบบ

เช่นเดียวกับ กรม รฝ.จะยังคงประจำการปืนใหญ่สนามลากจูงประกอบด้วย ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง GHN-45 ขนาด 155mm ออสเตรีย และปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ Type 59-I ขนาด 130mm จีนต่อไปในกองพันรักษาฝั่งที่๑ และกองพันรักษาฝั่งที่๒
โดยเพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile)ฐานยิงบนฝั่ง กองพันละ ๑ ระบบ ซึ่งมีความต้องการมาหลายปีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/blog-post_4.html)

หลังจากที่มีการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีเข้าประจำการแล้วจะมีการปรับกองพันใดกองพันหนึ่งเป็นกองพันอาวุธปล่อยนำวิถี หรือกองร้อยใดกองร้อยหนึ่งในแต่ละกองพันเป็นกองร้อยอาวุธปล่อยนำวิถี ซึ่งปัจจุบัน สอ.รฝ.มีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ประทับบ่ายิง QW-18 จีนใช้งาน
ก่อนหน้านั้น สอ.รฝ.เคยมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ลากจูง PL-9(DK-9) จีนแต่เป็นที่เข้าใจว่าปัจจุบันน่าจะเลิกใช้งานแล้ว ด้านอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงบนชายฝั่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สอ.รฝ.สนใจพิจารณาระบบใดจากประเทศบ้างครับ