วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สื่อเยี่ยมชมเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD เรือหลวงช้างกองทัพเรือไทยโดยเปิดเผยแผนการติดอาวุธบนเรือ





H.T.M.S. Chang LPD-792 media tour
Royal Thai Navy (RTN) was opened to the media to visit its new Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) "LPD-792 HTMS Chang(III)" at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard, Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi Province, Thailand on 19 May 2023.



Royal Thai Navy also reveal its planned on fitting weapons and Combat Information Center (CIC) and air/surface search radar aboard HTMS Chang include four M2 .50cal heavy machineguns, two 20mm naval guns, one Leonardo 76/62 main gun and two MSI-Defence Systems DS30M (Seahawk) 30mm naval guns.
However, under Royal Thai Armed Forces (RTARF) reformations policy by majority party of new Thailand government, RTN requested in the draft budget for fiscal year 2024 (FY2024) for fitting weapons and systems on HTMS Chang for 950 million Baht ($27,600,236) is subject to be consider by new Thai government. (Photos: Sukasom Hiranphan/Dailynews Online)










โรงเก็บอากาศยานประจำเรือที่เชื่อมต่อกับลานจอดอากาศยาน สามารถรองรับการจอดเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้ 4 ลำ

ประตูโรงเก็บอากาศยานแยกเป็น2บานขนาดใหญ่ เป็นแบบเลื่อนขึ้นสไลด์เก็บด้านบน

ห้องรับประทานอาหารของกำลังพล

โถงพักผ่อน ที่สามารถปรับเป็นห้องประชุมภารกิจได้

ส่วนควบคุมเรือภายในสะพานเดินเรือเป็นระบบดิจิตัลทั้งหมด ยกเว้นระบบเข็มทิศแม่เหล็กอันเป็นระบบนำร่องสำรองมาตรฐานของเรือรบในปัจจุบัน

เก้าอี้ของผู้บังคับการเรือหลวงช้าง

พื้นที่ด้านหน้าหัวเรือ เป็นจุดที่เตรียมการรองรับปืนเรือหลัก ที่คาดว่าจะเป็นป้อมปืนเรือขนาด 76มม.

ครุฑประจำเรือ สัญลักษณ์ของเรือหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย ติดตั้งอยู่ด้านบนของสะพานเดินเรือ

พื้นที่ดาดฟ้าส่วนกลางเรือ จะเป็นจุดติดตั้งระบบเป้าลวง และอาวุธรองของเรือ

ภายในห้องควบคุมการปฏิบัติงานของอากาศยานประจำเรือ กระจกที่ติดตั้งเป็นมุมเฉียง ช่วยเสริมทัศนวิสัยในการตรวจสอบการบินของเฮลิคอปเตอร์ทั้งมุมมองด้านบนและด้านล่าง

ลานจอดอากาศยานท้ายเรือ สามารถรองรับการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้พร้อมกัน 3 ลำ

อู่ภายในตัวเรือ สามารถรองรับการขนส่งได้ทั้งยานยนต์และเรือระบายขนาดต่างๆได้เป็นจำนวนมาก โดยประตูท้ายเรือขนาดใหญ่ที่จะเปิดออกเพื่อการรับส่งยานยนต์ต่างๆได้ทั้งบนบก และ ในทะเล

พื้นที่อู่ภายในเรือ สามารถรับส่งเรือระบายพลหรือเรือขนาดเล็กแบบต่างๆได้ด้วยการปรับระดับของท้ายเรือให้กดลงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เพื่อให้น้ำเข้ามาเต็มพื้นที่ของอู่

พื้นที่อู่ภายในเรือหลวงช้างมีวามยาว3ใน4ของตัวเรือ หากไม่ได้ปล่อยให้น้ำเข้ามา จึงสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่ส่วนนี้ได้หลายรูปแบบ

พื้นที่เชื่อมกับอู่ท้าย มีทางลาดที่พับเก็บได้ สำหรับให้รถลำเลียงวิ่งขึ้นไปบังอีกชั้นของตัวเรือเพื่อความรวดเร็วในการลำเลียงขนถ่ายสิ่งของ

ส่วนหนึ่งของห้องพยาบาลประจำเรือ ที่มีทั้งห้องตรวจอาการ , ห้องทำฟัน ,ห้องเอ๊กซ์เรย์ และห้องทำฟัน เรือหลวงช้างจึงสามารถปฏิบัติงานในฐานะโรงพยาบาลกลางทะเลได้

ห้องน้ำและห้องอาบน้ำภายในเรือ

เครนขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ด้านข้างโรงเก็บอากาศยานเพื่อใช้ลำเลียงสิ่งของหนัก จากท่าเรือขึ้นมายังพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือ

ตราสัญลักษณ์ประจำเรือหลวงช้าง LPD-792 เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทย

ภายหลังจากเรือหลวงช้างเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่25เมษายนที่ผ่านมา เรือลำเลียงยกพลขึ้นบกอเนกประสงค์ลำล่าสุดของกองทัพเรือได้เสร็จสิ้นการตรวจสอบระบบหลังการเดินทางจากอู่ต่อเรือในนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน  
กองทัพเรือได้นำสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมเรือในวันที่19พฤษภาคม 66 ที่อู่ราชนาวีมหิดลดุลยเดช จังหวัดชลบุรี เพื่อให้เห็นคุณลักษณะต่างๆของเรือหลวงช้าง LPD 792ที่ถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายรูปแบบทั้งในยามสงบและการปฏิบัติงานทางยุทธวิธี
ด้วยตัวเรือที่มีขนาดใหญ่ จึงมีพื้นที่ภายในที่กว้างขวางพื้นที่ส่วนของกำลังพลนาวิกโยธินที่สามารปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่รองรับผู้อพยพในสภาวะวิกฤติต่างๆ พื้นที่ส่วนพยาบาล สามารถปรับเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลลอยน้ำขนาดใหญ่ 
ดาดฟ้าท้ายเรือขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับการปฏิบัติงานของเฮลิคอปเตอร์ทุกแบบของกองทัพเรือในปัจจุบันได้  และพื้นที่สำคัญของเรือคืออู่ภายในที่สามารถขนส่งและใช้เป็นฐานปฏิบัติการของรถลำเลียงพลสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบกหรือเรือระบายพลขนาดเล็กได้เป็นจำนวนมาก
การนำชมเรือในครั้งนี้สื่อได้เยี่ยมชมในโรงเก็บอากาศยาน, ห้องบังคับการเรือ ,ห้องควบคุมการปฏิบัติงานอากาศยาน ,พื้นที่พักผ่อนของกำลังพล และโถงอู่ลอย อันเป็นที่หลักของเรือหลวงช้างที่มีขนาดใหญ่โต สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างหลายรูปแบบ
แม้จะยังไม่ได้รับงบประมาณในการติดตั้งระบบอาวุธ แต่เรือหลวงช้างก็เตรียมความพร้อมขั้นสุดท้ายในการฝึกปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายมา โดยไม่จำเป็นต้องรอการติดตั้งระบบอาวุธ เพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉิน 
โดยการฝึกออกปฏิบัติงานครั้งแรกในประเทศไทยจะเริ่มภายในเดือนนี้

"กองทัพเรือ" นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมเขี้ยวเล็บใหม่ "เรือหลวงช้าง" เรือยกพลขึ้นบกใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน พร้อมโชว์แสนยานุภาพความยิ่งใหญ่ และภารกิจที่สำคัญของเรือรบ
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2352358/

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เปิดให้สื่อมวลชนเยี่ยมชมเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) หลังจากเรือเดินทางมาถึงท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยในวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖
ด้วยระวางขับน้ำที่ 25,000tonnes เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประจำการของกองทัพเรือไทยในขณะนี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-sattahip.html)

วีดิทัศน์สารคดีชุดเรือหลวงช้างที่ลงเผยแพร่อย่างต่อเนื่องในช่อง Youtube ทางการของกองทัพเรือไทยได้แสดงถึงภาพภายในตัวเรือต่างๆตามการติดตามกำลังพลชุดรับเรือรวมถึงห้องเครื่องยนต์เครื่องจักรใหญ่และห้องสหโภชณ์(Galley) และห้องพักและรับประทานอาหารของกำลังพล(Mess)
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) มีพื้นฐานแบบเรือจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ประจำการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) โดยมีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรก

เรือยกพลขึ้นบกอู่ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) มีคุณลักษณะเรือที่แตกต่างจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 จีนในบางจุด รวมถึงดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือที่มีจุดรับส่งอากาศยาน ๓จุด โรงเก็บอากาศยานรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางเช่น SH-60B Seahawk หรือ MH-60S Knighthawk ๔เครื่อง
และ crane แขนยกขนาดใหญ่รองรับการเคลื่อนย้ายสัมภาระโดยเฉพาะการสนับสนุนเรือดำน้ำ อย่างไรก็ตามหนึ่งในนโยบายปฏิรูปกองทัพไทยของรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ รวมถึงการพิจารณายกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนที่เต็มไปด้วยปัญหา

การเปิดเยี่ยมชมเรือในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ กองทัพเรือยังได้บรรยายสรุปต่อสื่อเกี่ยวกับคุณลักษณะของ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) และเปิดเผยรายละเอียดการติดตั้งอาวุธบนเรือที่จะดำเนินการในไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลดุลยเดช โดยระยะขั้นต้นจะเป็นระบบอาวุธสำหรับการป้องกันตนเองประกอบด้วย
ปืนกลหนัก M2 .50cal ๔กระบอกที่กลางและท้ายเรือ และปืนกลขนาด 20mm ๒แท่นยิงที่ดาดฟ้ายกหน้าสะพานเดินเรือ(bridge) กราบซ้ายและกราบขวา ที่จากภาพเงา(silhouette) ดูคล้ายปืนกล Denel GI-2 ที่ติดตั้งบนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานีซึ่งควบคุมด้วยพลประจำปืน(manual)

ขณะที่ระบบอาวุธที่ต้องการศูนย์ยุทธการ(CIC: Combat Information Center) และ radar ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ เพื่อควบคุมการยิงจะมีอาวุธหลักปืนเรือขนาด 76mm ที่หัวเรือและอาวุธรองปืนกล 30mm ๒แท่นยิงที่กลางเรือน่าจะเป็นปืนเรือ Leonardo 76/62 และปืนกล MSI DS30M ตามลำดับ
งบประมาณสำหรับการดำเนินงานติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ที่ผู้บัญชาการทหารเรือเคยกล่าวอยู่ที่วงเงิน ๙๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27.6 million) ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทำงานราวสองปี อย่างไรก็ตามการขอเสนออนุมัติในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยชุดใหม่ครับ