วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กองทัพอากาศไทยกล่าวสหรัฐฯปฏิเสธการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A ให้ไทย

Thailand air force says U.S. has denied request to buy F-35 jets



A F-35A fighter aircraft rolls on a tarmac during a presentation at the Swiss Air Force base in Emmen, Switzerland March 23, 2022. REUTERS/Arnd Wiegmann/File Photo
The United States has declined to sell its F-35 stealth fighter jets to Thailand over issues with training and technical requirements, the Southeast Asian country's air force said on 25 May 2023.




The Royal Thai Air Force (RTAF) now has possible competitor lists for its F-16A/B replacement included Saab Gripen, Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 Viper, and Boeing F-15EX Eagle II/Advanced Eagle. (My own Photos/Tanapol Arunwong/USAF)

โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยกรณีกระแสข่าว เรื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A 
พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยกรณีที่มีกระแสข่าว เรื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A กองทัพอากาศขอเรียนข้อเท็จจริงว่า 
ท่านเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นาย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค ได้เข้าหารือกับผู้บัญชาการทหารอากาศ และยืนยันความร่วมมือกับประเทศไทยในฐานะพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดอย่างยิ่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก 
พร้อมทั้งหารือกรณีเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ซึ่งกองทัพอากาศได้ส่งหนังสือ Letter of Request for P&A (Price and Availability) ให้กับ JUSMAGTHAI เพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดหาโดยวิธี Foreign Military Sales (FMS) จากรัฐบาลสหรัฐฯ 
ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 

1. การพิจารณาขายเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตียุคที่ 5 มีเงื่อนไขภายใต้ข้อจำกัดด้านเวลาหลายประการที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย ก่อนที่สหรัฐฯ จะพิจารณาขายเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ให้กับประเทศใด ๆ 
ทำให้สหรัฐฯ ยังไม่สามารถเสนอขายเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ให้กับกองทัพอากาศได้ในขณะนี้ 
2. จากข้อมูลแผนการผลิตและคำสั่งซื้อของเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ในปัจจุบัน จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี จึงจะสามารถนำส่งเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ให้กับผู้ซื้อรายใหม่ 
3. เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ถูกออกแบบด้วยแนวความคิดใหม่ด้านเทคนิคและด้านปฏิบัติการ มีคุณลักษณะพิเศษในการซ่อนพรางจากการตรวจจับด้วยสัญญาณเรดาร์ (Stealth) 
จึงต้องวางแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการฝึก และระบบรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขของสหรัฐฯ 
4. การเตรียมการเพื่อปรับเปลี่ยนระบบส่งกำลังบำรุง ระบบคลังพัสดุ และระบบบริหารจัดการใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ซึ่งแตกต่างจากระบบของเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-16 และไม่สามารถใช้ร่วมกับระบบของยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ได้ 
5. สหรัฐฯ มีความประสงค์จะหารือเกี่ยวกับการเตรียมการในอนาคต เพื่อรองรับการจัดหาและการใช้งานเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-35A ของกองทัพอากาศ 
โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ สหรัฐฯ เชื่อว่ากองทัพอากาศควรพิจารณาเครื่องบินขับไล่โจมตียุคที่ 4.5 ได้แก่ เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-16 และเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-15 ซึ่งจะใช้เวลาในการจัดหาได้เร็วกว่าและสามารถตอบสองความต้องการของกองทัพอากาศได้ 
โดยสหรัฐฯ จะส่งทีมมาหารือในรายละเอียดกับกองทัพอากาศต่อไป 

อนึ่ง แม้ว่าสหรัฐฯ จะยังไม่สามารถเสนอขายเครื่องบินโจมตีแบบ F-35A ให้กับกองทัพอากาศได้ในขณะนี้ กองทัพอากาศขอยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเครื่องบินเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-16 ที่กำลังจะปลดประจำการ 
เพื่อมิให้ส่งผลต่อความพร้อมรบและขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศซึ่งเป็นภารกิจหลักของกองทัพอากาศ 
ทั้งนี้ กองทัพอากาศจะดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงและทบทวนแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดความคุ้มค่าและ เกิดประโยชน์สูงสุด

สหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะขายเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/lockheed-martin-f-35.html) แก่ไทย
เนื่องจากประเด็นปัญหาความต้องการการฝึกและทางเทคนิค กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) กล่าวเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/f-35a-2034.html)

ประเทศไทยซึ่งถูกกำหนดเป็นพันธมิตรหลักนอก NATO(Major Non-NATO Ally) โดยสหรัฐฯในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003) ได้ตั้งงบประมาณวงเงินราว ๑๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($407.68 million) สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่สำหรับกองทัพอากาศไทย
เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานานที่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่สร้างโดยสหรัฐฯคือเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F/T/TH Super Tigris และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU Fighting Falcon

กองทัพอากาศไทยได้ระบุการตั้งเป้าที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) จำนวน ๘เครื่อง 
แต่การขายเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ได้เป็นเรื่องที่ต้องขึ้นกับเงื่อนไขต่างๆที่รวมถึง ข้อจำกัดด้านเวลา, ความต้องการทางเทคนิค และความเข้ากันได้ของการบำรุงรักษา

และด้วยเหตุดังกล่าว สหรัฐฯไม่สามารถที่จะเสนอการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II แก่ไทยได้ โฆษกกองทัพอากาศไทย พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี กล่าวในการแถลง
เครื่องบินขับไล่ F-35 เป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลก และพิจารณาได้ว่ามีความอ่อนไหวในการขายส่งออกเฉพาะชาติพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐฯเท่านั้น

ซึ่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 รวมถึง ออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35a.html), ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-15j-f-35b.html),
สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/f-35a-gbu-12.html) และสิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35b-8.html

ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D(JAS-39C/D Gripen) จำนวน ๑๑เครื่องที่สร้างโดยบริษัท Saab สวีเดน ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฏรธานี ทางตอนใต้ของไทย
นอกเหนือจากเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH จำนวน ๑๓เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU, F-16A/B ADF และ F-16AM/BM EMLU จำนวนราว ๓๐เครื่อง ที่สร้างโดยสหรัฐฯซึ่งประจำการมานานมากกว่า ๔๐ปี และ ๓๐ปีตามลำดับ

กองทัพไทย(RTARF:Royal Thai Armed Forces) ได้ใช้วิทยาการทางทหารของสหรัฐฯที่ย้อนกลับไปได้ถึงยุคสงครามเวียดนาม ที่ฐานบินในไทยเป็นที่ตั้งของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)
กองทัพไทยยังเป็นเจ้าภาพการฝึกประจำปีอย่างการฝึกผสม Cobra Gold กับสหรัฐฯด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/gripen-f-16ambm-cobra-gold-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/03/f-16ambm-c-130h-cobra-gold-2023.html)

ทั้งหมดเหล่านี้เป็นความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างไทยและสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำรัฐประหารต่อรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๙(2006) และ พ.ศ.๒๕๕๗(2014) และข้อกังวลเกี่ยวกับการเข้าหารัฐบาลไทยโดยจีนชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่ง
พล.อ.ต.ประภาส กล่าวว่า กองทัพอากาศไทยจะยังคงความต้องการที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ของตน และสหรัฐฯได้เสนอเครื่องบินขับไล่ F-15 และเครื่องบินขับไล่ F-16 รุ่นปรับปรุงที่มีความก้าวหน้า ซึ่งสามารถจะส่งมอบได้รวดเร็วกว่า

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพอากาศไทยจะต้องใช้ระยะเวลาอีกราว ๕-๑๐ปีข้างหน้าที่มีความพร้อมสำหรับ F-35 เป็นที่เข้าใจว่าข้อเสนอของสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่สองแบบจะเป็นในรุ่นเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Viper รุ่นใหม่ล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/lockheed-martin-f-16v-block-70.html)
ที่บริษัท Lockheed Martin เสนอให้กองทัพอากาศไทยมานานว่ามีความเหมาะสมจะทดแทน F-16A/B รุ่นเก่าที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/blog-post.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-16v-block-7072.html)

และเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Eagle II/Advanced Eagle ที่เสนอให้อินโดนีเซียในชื่อเครื่องบินขับไล่ F-15ID(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/f-15id.html) และอียิปต์(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-15.html)
สิงคโปร์เป็นผู้ใช้งานรายเดียวในกลุ่มชาติ ASEAN ของเครื่องบินขับไล่ F-15SG(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/cope-tiger-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/03/ftx-cope-tiger-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/03/f-15sg-f-16d-f-16cd-cope-tiger-2023.html)

เครื่องบินขับไล่ F-15E Strike Eagle อาจจะไม่ตัวเลือกใหม่เสียทีเดียวสำหรับไทย ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.๒๕๓๘(1995) กองทัพอากาศไทยเคยมองเครื่องบินขับไล่ F-15 เป็นหนึ่งในตัวเลือกว่าที่เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘/ก Northrop F-5A/B
ขณะนั้นสหรัฐฯได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D Hornet แทนโดยให้เหตุผลว่ามีขนาดและค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับไทยกว่า F-15 ที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามการจัดหา F/A-18D จำนวน ๘เครื่องได้ถูกยกเลิกจากวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) และจัดหา F-16A/B ADF ๑๖เครื่องแทน

เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 และเครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II สามารถเสนอให้ได้ทั้งเครื่องสร้างใหม่จากโรงงาน หรือจากเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 25/30/32/40/42 และเครื่องบินขับไล่ F-15E รุ่นเก่าที่เก็บสำรองไว้มาปรับปรุงใหม่ในฐานะเครื่องบินคั่นระยะ(interim)
เมื่อรวมกับเครื่องบินขับไล่ Gripen ที่บริษัท Saab สวีเดนมองที่จะให้กองทัพอากาศไทยจัดหาฝูงที่สองเพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-saab-accs.html) ทำให้ตัวเลือกที่เป็นไปได้สำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศไทยในตอนนี้คือสามแบบครับ