วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071ET LPD เรือหลวงช้างสาธิตการปฏิบัติการยุทธ์ AMPHIBEX และการช่วยเหลือ HADR




















Commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN) Admiral Choengchai Chomchoengpaet and Thai media reporters were attended to demonstration, testing and training of its new Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) "LPD-792 HTMS Chang(III)"
on Amphibious Exercise (AMPHIBEX) and Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) operation in Gulf of Thailand on 29 May 2023.
The Demonstrations involved wide range of RTN and Royal Thai Marine Corps (RTMC) platforms, include Landing Craft Mechanized (LCM) and Landing Craft Vehicle Personnel (LCVP) operating from well deck Royal Thai Naval Air Division (RTNAD)'s Airbus Helicopter H145M, Sikorsky SH-60B Seahawk, MH-60S Knighthawk and S-76B helicopters operating on helicopter deck and RTMC's VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles, AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles and BTR-3E1 8x8 armored personnel carriers on vehicle deck and well deck. (Royal Thai Navy/Sukasom Hiranphan)



วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมการฝึก และการสาธิตขีดความสามารถของร.ล.ช้าง ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย

ประมวลภาพ การสาธิตความพร้อมในการปฏิบัติงานของเรือหลวงช้าง ในภารกิจของกองเรือยกพลขึ้นบก สำหรับภารกิจการปฏิบัติงานทางยุทธวิธี และการช่วยเหลือลำเลียงผู้ประสบภัยทางทะเลในสภาวะฉุกเฉิน 
ในวันที่29 พฤษภาคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นประธานในพิธีการซ้อมปฏิบัติการสำหรับภารกิจของเรือหลวงช้างLPD792 เรือยกพลขึ้นบกที่ได้รับมอบการขึ้นประการลำล่าสุดจากสาธารณะรัฐประชาชนจีน 
เพื่อทดสอบความพร้อมตามภารกิจของเรือ อาทิการลำเลียงกองกำลังสำหรับการปฏิบัติการยกพลขึ้นบก จากทะสู่ฝั่ง ด้วยเรือลำเลียงยกพลขนาดเล็ก และ ยานรบสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบกทั้งแบบAAV-7 และVN-16 จากอู่ลอยใต้ท้องเรือ 
การรับส่งอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ที่ดาดฟ้าท้ายเรือ และการรับรักษาผู้ป่วยและบาดเจ็บในโรงพยาบาลฉุกเฉินชั่วคร่าวในโรงเก็บอากาศยาน พร้อมทั้งการปฏิบัติการผ่าตัดทางการภายในห้องพยาบาลภายในเรือ
เพื่อเป็นการแสดงความพร้อมในการปฏิบัติงานตามที่กองเรือยกพลขึ้นบกได้รับมอบภารกิจ และพร้อมปฏิบัติงานทันทีหากมีเหตุฉุกเฉินให้เรือหลวงช้างออกปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนทางทะเล

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566  เวลา 13.00 น. พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปเรือหลวงช้าง  เพื่อตรวจเยี่ยมการทดสอบขีดความสามารถของเรือหลวงช้าง  ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน และหาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
ประกอบด้วย การทดสอบขีดความสามารถการเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก และ การทดสอบขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล และ จัดตั้ง รพ.สนามบนเรือ 
อีกทั้งการใช้ขีดความสามารถของครัวประจำเรือเพื่อเตรียมอาหารสำหรับผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดภัยพิบัติในทะเล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ 
โดยจากสถิติที่ผ่านมา มักจะเกิดพายุในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนและทางทะเลฝั่งอันดามัน อันอาจจะส่งผลกระทบทำให้เรือต่างๆ เกิดปัญหาอับปางในทะเล รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อจังหวัดชายทะเล ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน 
โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่เกาะต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ที่ถูกตัดขาด (Isolate Area) ซึ่งการให้ความช่วยเหลือจากทางบกไม่สามารถดำเนินการได้ จำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือจากทางทะเล (From The Sea) เท่านั้น 
โดยการทดสอบขีดความสามารถของเรือหลวงช้างในครั้งนี้ ได้บูรณาการกำลังจากหน่วยต่างๆ ในกองทัพเรือประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ จำนวน 3 เครื่อง เรือระบายพลขนาดเล็ก LCVP จำนวน 2 ลำ เรือระบายพลขนาดกลาง LCM จำนวน 2 ลำ และรถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV)

เรือหลวงช้าง เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงอีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล และพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ 
ซึ่งเป็นภารกิจในการป้องกันประเทศ อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล และท่าเรือ ซึ่งเป็นภารกิจในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน 
เรือหลวงช้าง เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ซึ่งจากคุณลักษณะของเรือ จัดเป็นเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย คือเป็นเรือที่มีอู่อยู่ภายในเรือ โดยคุณลักษณะนี้เองทำให้ เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุกเรือระบายพล หรือเล็กประเภทต่างๆ ได้ 
ซึ่งแตกต่างๆ จากเรือยกพลขึ้นบกแบบเดิมที่ใช้งาน คือ เรือ LST หรือ เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถบรรทุกได้แค่ยานพาหนะ หรือรถประเภทต่างๆ เท่านั้น นับเป็นเรือที่มีความทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในทะเล
 ด้วยสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่ประเทศไทยที่มี 2 ฝั่งมหาสมุทร ได้แก่ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน มีพื้นที่ทางทะเลมากกว่า 314,000 ตาราง กองทัพเรือได้กำหนดการสร้างความมั่นคงของชาติทางทะเล ตามแนวคิดระดับยุทธศาสตร์ว่า 
“ปฏิบัติการสองฝั่งมหาสมุทรและสามพื้นที่ปฏิบัติการ” หรือ “Two Oceans and Three Areas (OOAAA)” เรือหลวงช้างจะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในทะเล เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ได้ทั้งสองฝั่งทะเล

เรือหลวงช้าง มีกำลังพลประจำเรือจำนวนทั้งสิ้น 196 นาย โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้
 - ความยาวตลอดลำ 213 เมตร ความกว้าง 28 เมตร กินน้ำลึก 7 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 23,000 ตัน มีห้องพัก (Troops) กำลังพล และ/หรือ ผู้ประสบภัย รวมกัน ได้ 600 คน ซึ่งมากกว่าเรือหลวงอ่างทอง ที่บรรทุกได้ 360 คน 
และหากต้องปฏิบัติการอพยพประชาชนสามารถใช้พื้นที่ในดาดฟ้าบรรทุกรถ จัดพื้นที่รับผู้ประสบภัยได้เพิ่มเติมอีกกว่า 200 คน ทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้เพิ่มขึ้น แต่เรือหลวงช้าง สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ไม่น้อยกว่า 800 คน ซึ่งรองรับจำนวนได้มากกว่าเรือหลวงอ่างทอง
 - สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 23 น็อต นั้นหมายถึงใน 1,500 ไมล์ของทะเลไทยนั้น ร.ล.ช้างจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ประสพภัยไกลสุดคือ 1,500 ไมล์ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วันกว่า หรือ สัตหีบ - เกาะสมุย (200 ไมล์) ใช้เวลาเดินทางเพียง 8 ชั่วโมง 
และเรือหลวงช้างสามรถปฏิบัติการในทะเลได้ต่อเนื่องที่ไม่น้อยกว่า 45 วัน หรือที่ระยะทาง 8,000 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18 น็อต และทีสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย
 - นอกจากนั้นแล้ว เรือหลวงช้าง มีความคงทนทะเลอยู่ที่ Sea State 9 คือ คลื่นสูงมากกว่า 14 เมตร แต่การปฏิบัติภารกิจในสภาวะ Sea State 9 ต้องพิจารณาความปลอดภัย ในการปฏิบัติการซึ่งมีข้อจำกัดของการปฏิบัติการของอากาศยาน และเรือเล็ก 
ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาของประเทศไทย ได้เกิดพายุขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรง จำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่ 
พายุแฮเรียต ในปี 2505 (Sea State 8) พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา ในปี 2540 (Sea State 9) พายุโซร้อนปลาปึก ในปี 2562 (Sea State 8) โดยพายุที่รุนแรงที่สุดได้แก่ พายุไต้ฝุ่นเกย์ ในปี 2532 มี Sea State 9 คลื่นสูงมากกว่า 14 เมตร
 - เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ 56 คัน หรือ ยานเกราะล้อยาง (MBT) 20 คัน 
เรือระบายพลขนาดกลาง (LCM) 6 ลำ หรือ เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) 9 ลำ หรือ ยานเบาะอากาศ (LCAC) จำนวน 2 ลำ 
นอกจากนั้น ยังสามารถบรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกพร้อมอุปกรณ์ได้ถึง 650 นาย
 
จะเห็นได้ว่า เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุกรถยนต์ประเภทต่างๆ รวมทั้ง เรือระบายพล เรือเล็ก ซึ่งจากขีดความสามารถเหล่านี้ ทำให้พิจารณาการลำเลียงยานพาหนะที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติได้หลากหลาย
 - ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ รองรับเฮลิคอปเตอร์ที่ ทร. มีได้ทุกแบบ 
 - ขีดความสามารถทางการแพทย์ มีห้องปฏิบัติการแพทย์ จำนวน 11 ห้อง เป็นห้องผู้ป่วย 3 ห้อง ส่วนรักษา 8 ห้อง (ห้อง X-ray ห้องทันตกรรม ห้องศัลยกรรม ห้องตรวจโรค ห้องยา ห้อง LAB ห้องฆ่าเชื้อ และห้องผ่าตัด) ซึ่งสามารถรองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับ 2 บนเรือได้
 “เรือหลวงช้างมีความพร้อม ในการปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศ และสามารถออกเรือในการช่วยเหลือ ผู้ประสพภัยได้ทันทีทุกพื้นที่ เมื่อได้รับสั่งการ สามารถเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการด้วยความรวดเร็ว และสามารถบูรณาการความช่วยเหลือประชาชนที่ประสพภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เสร็จสิ้นการทดสอบขีดความสามารถของเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ระหว่างวันที่ ๒๒-๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ในอ่าวไทย(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/type-071et-lpd-vn16-aav7a1.html)
โดยมีการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก(AMPHIBEX: Amphibious Exercise) และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) แก่ผู้บัญชาการทหารเรือไทย และสื่อรับชมเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖

ขีดความสามารถของเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) ที่มีพื้นฐานแบบเรือจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ประจำการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)
สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) เป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทยในขณะนี้นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/type-071et-lpd.html)

ชุดภาพและวีดิทัศน์ที่เผยแพร่โดยสื่อไทยได้แสดงถึงขีดความสามารถที่พัฒนาขึ้นกว่าเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ของจีนเองในหลายจุด เริ่มจากอู่ลอย(well deck) ท้ายเรือที่ปรับปรุงมีอุปกรณ์ใช้งานเพิ่มเติมจากเรือจีนเช่น lift ยกที่ที่เทียบเข้าสู่เรือระบายพลขณะที่นำน้ำเข้าอู่ลอย
โดยมีการนำเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) และเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP: Landing Craft Vehicle Personnel) ของเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ที่เป็นเรือ LPD ชุดแรกของกองทัพเรือที่มีประจำการอยู่ก่อนแล้วมาใช้ทดสอบ 

ซึ่งเรือระบายพลเหล่านี้จะถูกจัดหามาใช้กับ ร.ล.ช้าง โดยสร้างจากอู่เรือในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/marsun.html) รวมถึงยังมีแผนที่จะจัดหายานเบาะอากาศ LCAC(Landing Craft Air Cushion) มาใช้ในอนาคตด้วยโดยการจัดหาจากต่างประเทศจะมีราคาถูกกว่า
การเข้าออกอู่ลอยและดาดฟ้ายานพาหนะ(vehicle deck) ยังจะเห็นยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS และรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 8x8 ของของนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ใน ร.ล.ช้าง ด้วย

ดาดฟ้าบินท้ายเรือยังแสดงการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ถึงสี่แบบที่มีประจำการในกองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) ทั้ง เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๔ ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M,
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๕ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ปฏิบัติบินขึ้นลงบนดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ที่มีจุดรับส่งอากาศยานสามจุดรวมถึงโรงเก็บอากาศยานที่รองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้ ๒เครื่อง

การสาธิตการทดสอบสมรรถนะการปฏิบัติการบนเรือยังรวมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบนเรือ และการทำอาหารจากห้องสหโภชน์(Galley) ช่วยผู้ประสบภัยซึ่งผู้สื่อข่าวที่ขึ้นชมเรือได้รับประทาน อย่างไรก็ตามผู้บัญชาการทหารเรือได้เปิเผยว่าการฝึกทดสอบยังพบข้อบกพร่องในบางจุดอยู่
ผู้บัญชาการทหารเรือยังได้ให้ข้อมูลล่าสุดสื่อเกี่ยวกับปัญหาโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนว่า การตัดสินใจที่จะยกเลิกสัญญาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกหรือไม่จะมีข้อสรุปในสิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ และจะเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ตัดสินใจต่อไปตามที่เป็นข้อตกลงกับจีนแบบรัฐต่อรัฐ

ทั้งนี้กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ได้ยอมรับเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 จีนสำหรับเรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง ๘ลำของตนทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนีแล้ว โดยเรือ ๔ลำแรกที่สร้างในจีน และ ๔ลำหลังที่สร้างในปากีสถานกำลังได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์แล้ว
โดยหากว่ากองทัพเรือไทยตัดสินใจไม่ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 จีน หรือยอมรับเครื่องยนต์แต่รัฐบาลใหม่สั่งยกเลิกโครงการนั้น กองทัพเรือไทยได้ชะลอการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และ๓ออกไป และผลักดันโครงการสร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูงโดยการถ่ายทอดวิทยาการสร้างภายในไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html)