วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือไทยฝึกยิงจริงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ครั้งแรก












Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) was successful live firing for first time of its Russian Dzhigit support launching unit (SLU) with two Igla-S Man-portable air-defence system (MANPADS) short-range surface-to-air missile system mount on Thailand domestic Thairung TR Transformer 4x4 family vehicle with snorkel and add-on armoured, during Combined Arms Live Fire Exercise (CALFEX) as part of RTN Naval Exercise for Fiscal Year 2023 at naval firing range, Fleet Training Command (FTC), Royal Thai Fleet (RTF) in Hat Yao beach Thung Prong, Satthahip district, Chonburi province on 18 May 2023. (Royal Thai Navy)





ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาของกองทัพเรือ ตรวจเยี่ยมการฝึกเป็น หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่ 
และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี และการฝึกยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ IGLA -S ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 ณ สนามฝึกยิงอาวุธ กองการฝึก กองเรือยุทธการ หาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือตรี ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้การรับรอง

ทั้งนี้ การฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความพร้อมขององค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศ ทดสอบความพร้อมรบและขีดความสามารถขององค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธีในการฝึกยิงอาวุธประจำหน่วย 
รวมทั้ง ทดสอบการปฏิบัติทางยุทธวิธี ระหว่าง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กับ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ในการยิงเป้าหมายทางทะเลเป็นการฝึกตามแผนงานประจำปี พ.ศ.2566 
ซึ่งหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้จัดปืนใหญ่กลางกระสุนวิธีราบ ขนาด 130 มิลลิเมตร ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มิลลิเมตร ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 37 และ 40 มิลลิเมตร 
และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ IGLA -S เข้าร่วมการฝึก โดยเป็นการฝึกตามนโยบาย ผู้บัญชาการทหารเรือ คือ “รบอย่างไรฝึกอย่างนั้น”

ซึ่งการฝึก ได้กำหนดสถานการณ์ฝึกในการป้องกันพื้นที่สำคัญทางทหารตามที่ทัพเรือภาค 1 มอบหมาย ประกอบกำลังเป็น หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่ 1 มีกำลังรบประกอบด้วย กองพันต่อสู้อากาศยาน กองพันรักษาฝั่ง ศูนย์ต่อสู้อากาศยาน และส่วนสนับสนุนส่วนแยก 
ประกอบกำลังในการป้องกันภัยทางอากาศและป้องกันภัยจากกำลังทางเรือของฝ่ายข้าศึก ซึ่งการฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกยิงอาวุธปืนทางยุทธวิธีด้วยกระสุนจริง โดยใช้ศูนย์อำนวยการยิงร่วมกัน ของกองพันรักษาฝั่ง (สอ.รฝ) และกองพันทหารปืนใหญ่ (นย.) 
พร้อมทั้งการฝึกยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ IGLA -S ด้วยลูกจรวดจริงเป็นครั้งแรก และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ IGLA -S ยังสามารถยิงทำลายเป้าบินในระยะ 1,500 เมตร ได้อย่างแม่นยำ 

เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) กองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๑(11th Air Defence Battalion) กรมต่อสู้อากาศยานที่๑(1st Air Defence Regiment) หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) 
ได้ประสบความสำเร็จการทำการยิงจริงครั้งแรกของระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ณ สนามฝึกยิงอาวุธ กองการฝึก(FTC: Fleet Training Command) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) หาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โดยอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S ประสบความสำเร็จในการยิงเป้าบินติดพลุไฟ(flare)ในระยะ 1,500m ที่ลากโดยอากาศยานไร้คนขับปีกหมุนหลายแกนใบพัด(multirotor unmanned aerial vehicle) ที่พัฒนาโดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office)

อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S ความจุสองนัดในแท่นยิงแบบ Dzhigit รัสเซียบนรถยนต์บรรทุกตระกูล Thairung TR Transformer 4x4 ไทยเสริมเกราะ และติดท่อ Snorkel สำหรับการเคลื่อนที่ในน้ำ ที่ทำการติดตั้งภายในไทย
ได้ถูกเปิดตัวต่อสื่อสาธารณะครั้งแรกในการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีด้วยกระสุนจริงของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ณ สนามฝึกยิงอาวุธ หาดยาวทุ่งโปรง เช่นกันเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/fk-3-igla-s.html
ในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๖ ขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ภาคพื้นดินของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือไทยได้เพิ่มสูงขึ้นจากความสำเร็จในการยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ล่าสุดนี้

บริษัท Datagate ไทย เป็นผู้ชนะโครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง วงเงิน ๒๔๕,๘๙๐,๐๐๐บาท($7,682,982.06) สำหรับ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
โดยมีการพบภาพว่ามีการส่งมอบระบบไปแล้วในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/fk-3-thairung-4x4-igla-s.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/datagate-manpads-4x4.html)
การทดสอบยิงที่ใช้อากาศยานไร้คนขับปีกหมุน multirotor UAV ที่พัฒนาในไทย และการใช้บูรณาการรถยนต์บรรทุก Thairung 4x4 ไทยเข้ากับแท่นยิง Dzhigit และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Igla-S รัสเซีย ต่างเป็นการแสดงถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกองทัพเรือไทยครับ