วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยทำพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ T-50TH






Royal Thai Air Force Commissioning Ceremony of four first batch Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle serial 40101, 40102, 40103 and 40104 at 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Nakhon Sawan, Thailand, 4 April 2018

พิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึก แบบที่ ๒ (T-50TH)

พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน ๔ เครื่อง เข้าเป็น “เครื่องบินขับไล่และฝึก แบบที่ ๒" หรือ บ.ขฝ.๒ ประจำการ ณ ฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 
โดยมี H.E.Mr.Noh Kwang-il (นาย โน ควัง อิล) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ 
ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดชัยนาท ร่วมเป็นเกียรติในพิธี เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๑ ณ กองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์

ตามที่กองทัพอากาศ ได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) 
เพื่อรองรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการบิน ตลอดจนมีความพร้อมเพื่อไปปฏิบัติงานกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศ 
โดยกองทัพอากาศได้พิจารณาจัดหาเครื่องบินแบบ T-50TH จำนวน 12 เครื่อง จากบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี แบ่งเป็นระยะที่ ๑ จำนวน ๔ เครื่อง และระยะที่ ๒ จำนวน ๘ เครื่อง 
สำหรับระยะที่ ๑ ได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ใช้ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ ซึ่งการดำเนินการตามโครงการฯ นั้น 
กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการบริหารโครงการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามที่กองทัพอากาศกำหนด 
ทั้งนี้ เครื่องบิน T-50TH ๒ เครื่องแรก ได้มาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑ และอีก ๒ เครื่อง มาถึงกองบิน ๔ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ 
จากนั้น เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ดำเนินการตรวจรับขั้นสุดท้าย ณ กองบิน ๔ โดยเครื่องบินทั้ง ๔ เครื่อง พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทดสอบตามรายละเอียดที่ระบุในสัญญาทุกประการ

ทั้งนี้ กองทัพอากาศมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพกำลังทางอากาศและการดำรงขีดความสามารถเพื่อปฏิบัติการทางอากาศในการป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ โดยจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ตลอดจนพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 
สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก แบบที่ ๒ (T-50TH) เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นที่มีความทันสมัยในระดับแนวหน้าของโลก มีสมรรถนะ ขีดความสามารถ เทคโนโลยี และระบบ Avionics เหมาะสมสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศ 
รวมทั้งมีระบบการฝึกอบรมแบบบูรณาการ/ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (Integrated Training Systems/Operational Support Systems : ITS/OSS) สำหรับทำการฝึกบินภาคพื้นผ่านเครื่องฝึกบินจำลอง 
และระบบการฝึกบินทางยุทธวิธี (Embedded Tactical Training System : ETTS) สำหรับการฝึกบินจริงในภาคอากาศ ซึ่งสามารถสร้างสถานการณ์การฝึกเสมือนจริงเพื่อฝึกการใช้งานระบบ Avionics เรดาร์ Sensor ระบบอาวุธ และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ 
อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น และลดค่าใช้จ่ายในการฝึกบินลง 
นอกจากนี้เครื่องบินขับไล่และฝึก แบบที่ ๒ (T-50TH) สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมทั้งกิจเฉพาะหลัก ได้แก่ การฝึกนักบินขับไล่/โจมตีขั้นต้น และกิจเฉพาะรอง ได้แก่ การโจมตีทางอากาศ รวมถึงการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ได้อีกด้วย
https://www.facebook.com/rtafdailynews/posts/999675960208679

Clip: T-50TH Training System
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/1997116003651313/

"ด้วยชั่วโมงการฝึกที่เท่ากัน ลงทุนด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า และสามารถทำให้นักบินเก่งมากขึ้น"
นอกจากระบบเครื่องบินที่มีความทันสมัยแล้ว ยังมีการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคแบบบูรณาการ
1. Computer Based Training (CBT)
2. Virtual Technical Training System (VTTS)
3. Cockpit procedure trainer (CPT)
4. T-50TH Simulator
5. Mission Planning & Debriefing System (MPDS)

T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ที่มีเทคโนโลยี และระบบการฝึกที่ทันสมัยที่ดีที่สุดแบบหนึ่ง
ขั้นตอนการตรวจรับของกองทัพอากาศ ต้องมีความ ละเอียดและเป็นไปตามเอกสารการสั่งซื้อ จึงมีหลายขั้นตอน และดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่และฝึก แบบที่ 2 ของกองทัพอากาศ
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1996131417083105

กองทัพอากาศไทยได้กำหนดแบบ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลีเป็น เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ นับเป็นเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบที่สองของกองทัพอากาศ
ต่อจาก บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเชคที่ได้รับการปรับปรุงระบบ Avionic และอาวุธเป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล
ที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ๓๖เครื่องในฝูงบิน๑๐๑ ฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๔๐๑ ต่อมามีการจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวม ๔๐เครื่อง โดยปัจจุบันได้โอนย้ายไปรวมฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายที่ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑๑ เชียงใหม่

จากการประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศไทยจะเห็นได้ว่า บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle เป็นระบบการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบแบบบูรณาการที่มีความทันสมัยและก้าวหน้ากว่าเครื่องบินฝึกรุ่นก่อนอย่างมาก
โดยนอกจากสมรรถนะของอากาศยานที่เป็นเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงความคล่องตัวสูง รวมถึงระบบอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในเครื่อง T-50TH ที่เทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ที่ประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) แล้ว
ระบบฝึกจำลองทางยุทธวิธีที่สามารถจำลองการฝึกใช้อาวุธได้ตั้งแต่ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65G, ระเบิดนำวิถี laser GBU-12 และระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-38 เป็นต้น

อย่างไรก็ตามระบบอาวุธที่ระบบฝึกจำลองทางยุทธวิธี(ETTS: Embedded Tactical Training System) สามารถจำลองการใช้งานในการฝึกการใช้อาวุธทางอากาศนั้นไม่ได้หมายความว่า T-50TH จะสามารถใช้อาวุธแบบนั้นที่เป็นลูกยิงจริง(Live Fire)ได้
ระบบอาวุธที่มีการรองรับว่าเครื่องบินฝึกโจมตีไอพ่นตระกูล Golden Eagle ทั้ง TA-50 และ FA-50 รองรับการใช้งานและมีประจำการในกองทัพอากาศอยู่แล้วก็จะมีเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick เป็นต้น
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM นั้นแม้ Radar แบบ EL/M-2032 จะรองรับแต่ก็จะต้องมีการทดสอบรับรองการใช้งานจริงก่อน รวมถึงระเบิดนำวิถี GBU-12 Paveway II และ GBU-38 JDAM ที่อาจจะจำเป็นต้องจัดหากระเปาะชี้เป้าหมาย(Targeting Pod) มาใช้ก่อนครับ