วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียจัดหาอากาศยานรบไร้คนขับ Wing Loong I UAV จีน 4ระบบ

Indonesia acquires four Wing Loong I UAVs from China
The Wing Loong I UAV seen here in PLAAF livery. Indonesia has acquired four UAVs of the same type from China. (IHS Markit/Kelvin Wong)
http://www.janes.com/article/78147/indonesia-acquires-four-wing-loong-i-uavs-from-china

รัฐบาลอินโดนีเซียได้สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Wing Loong I จำนวน 4ระบบ
จาก Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสัญญาจัดหามีการลงนามเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา

ระบบอากาศยานไร้คนขับ Wing Loong I UAV จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ณ ฝูงบิน51(Skadron Udara 51)
หลายแหล่งข่าวในกองบัญชาการกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย(TNI: Tentara Nasional Indonesia) ที่ Cilangkap ได้ต่างแยกกันยืนยันในช่วงระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ฝูงบิน51 กองทัพอากาศอินโดนีเซีย มีที่ตั้งใกล้กับเมือง Pontianak ในจังหวัด Kalimantan ตะวันตก และฝูงบินใช้ทางวิ่งร่วมกับท่าอากาศยานนานาชาติ Supadio
ปัจจุบันฝูงบิน51 ประจำการด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar ของบริษัท Aeronautics อิสราเอล ซึ่งติดตั้งกล้องตรวจจับ EO/IR(Electro-Optic/Infrared) บนแท่น gimbal แบบรักษาการทรงตัวสำหรับภารกิจตรวจการณ์

การจัดหา Wing Loong I UAV จะทำให้ฝูงบิน51 เป็นฝูงบินผสมอากาศยานไร้คนขับที่มี UAV ที่ต่างกันสองแบบประจำการเป็นฝูงบินแรกของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับมิตรประเทศในกลุ่ม ASEAN อย่าง
กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ที่ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ มีประจำการด้วยอากาศยานไร้คนขับ Aerostar BP และ Orbiter II อิสราเอล รวมถึง TEAGLE EYE II Small UAV, Sky Scout U-1 Tactical UAV และ Tiger Shark II Tactical UAV ที่พัฒนาภายในไทยเป็นต้น

Wing Loong I UAV ถูกพัฒนาและผลิตโดย Chengdu Aircraft Design and Research Institute(CADI) ในเครือ AVIC จีน มีความยาว 8.7m สูง 2.8m และมีปีกกว้าง 14m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) 1,150kg และสามารถบรรทุกได้ 200kg
ติดตั้งเครื่องยนต์ลูกสูบ 1เครื่อง และสามารถทำเพดานบินสงสุด 7,500 m(24,600 ft) มีพิสัยทำการไกลสุด 108nmi(200km) ปฏิบัติการได้นานราว 20ชั่วโมง

ระบบตรวจจับที่ติดตั้งกับ Wing Loong I UAV มี Radar ค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search-and-Rescue) แบบ DH-3010 และแท่นกล้องตรวจจับ EO/IR แบบ LE380 ของ AVIC Luoyang
และมีตำบลอาวุธใต้ปีกทั้งสองข้างรวมสองจุดที่สามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านยานเกราะนำวิถี Laser แบบ Blue Arrow 7 หนัก 47kg และ Blue Arrow 9 หนัก 26.5 kg รวมถึงระเบิดนำวิถี Laser แบบ GB7 50kg เป็นต้น

นอกจากกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People’s Liberation Army Air Force) ที่ประจำการ Wing Loong I UAV หรือในชื่อ GJ-1(Gongji-1) แล้ว จีนยังได้ส่งออกให้กับ Wing Loong UAV หลายประเทศทั่วโลก
เช่น อียิปต์, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน และไนจีเรีย ซึ่งถูกใช้ในปฏิบัติการรบจริงเช่นการโจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายมาแล้ว โดยมีอินโดนีเซียเป็นลูกค้าที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดและเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ