วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๑




M113A2 Armoured Personnel Carrier 1st Division Royal Guard and Type 85 Armoured Personnel Carrier 1st Cavalry Battalion Royal Guard, 1st Cavalry Regiment Royal Guard, 2nd Cavalry Division Royal Guard, Royal Thai Army
at Children's Day 2018, 13 January 2018(My Own Photos) 

ตามที่ได้รายงานการนำเสนอแบบแผนการปรับปรุงรถสายพานลำเลียง M113 N-2000 APC(Armoured Personnel Carrier) ของบริษัท Nimda อิสราเอล ต่อกองทัพบกไทยนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/nimda-m113.html)
ก็นับเป็นรายที่สองต่อจากบริษัท FNSS ตุรกีที่มีรายงานการนำเสนอแบบแผนการปรับปรุงรถสายพานลำเลียง M113A4 ของตนต่อกองทัพบกไทยตั้งแต่ในงาน Defense and Security 2017 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ.๒๕๖๐
ตรงนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นครับว่ากองทัพบกไทยน่าจะมีแผนในการปรับปรุงรถสายพานลำเลียง M113 รวมถึงรถรบ รถสนับสนุนการรบ และรถช่วยรบที่ใช้รถแคร่ฐานในตระกูล รสพ.M113 ให้ใช้งานต่อไปได้ในอนาคตอีกนาน

โดยกองทัพบกไทยนั้นมี รสพ.M113 ประจำการอยู่หน่วยต่างเป็นจำนวนมาก เช่น รสพ.M113A3 ซึ่งเป็นยุทโธปกรณ์ในอัตราจัดหลักของ กรมทหารราบที่๑๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยทหารราบยานเกราะหน่วยแรกของ เหล่าทหารราบ กองทัพบกไทย และในส่วนกองพลทหารราบ เช่น กองพลที่๑ รักษาพระองค์
ในส่วนเหล่าทหารม้านั้น รสพ.M113A2/M113A2 ก็อยู่ใน อตจ.ของทหารม้าบรรทุกยานเกราะและทหารม้าลาดตระเวน(สายพาน)หลายกองพัน เช่น กองพันทหารม้าที่๑๓(ม.(ก.)) และกองพันทหารม้าที่๑๘(ม.๖ก.)) กรมทหารม้าที่๓ กับกองพันทหารม้าที่๒๘(ม.ลว) กองพลทหารม้าที่๑
ยังไม่นับรวม รสพ.ติดเครื่องยิงลูกระเบิด 81mm M125, รสพ.ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW M150 กับ M901A3 ITV, ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอัตตาจรสายพาน M163 TVADS Super Vulcan(เหล่าทหารปืนใหญ่), รถสายพานที่บังคับการ M577,
รถเกราะพยาบาล และรถเกราะกู้ซ่อม เป็นต้นในเหล่าต่างๆของกองทัพบกไทย

ซึ่งรถสายพานลำเลียงในตระกูล M113A1/M113A2/M113A3 ที่กองทัพบกไทยมีประจำการแบบต่างๆราว ๔๕๐คัน ต่างก็มีอายุการใช้งานมานานหลายสิบปี ถ้าจะต้องยืดอายุการใช้งานต่อก็จำเป็นที่ควรจะได้รับการปรับปรุงความทันสมัย
โดยที่ผ่านมาในส่วน โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ก็มีการซ่อมบำรุง รสพ.M113 อยู่แล้ว
หรือภาคเอกชนของไทยเช่นบริษัทชัยเสรี(CHAISERI) ก็มีการเสนอซ่อมปรับปรุงสภาพ รสพ.M113 ที่มีการสร้างรถต้นแบบนำมาให้กองทัพบกทดสอบสมรรถนะมาแล้วช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013)

เมื่อรวมกับแผนที่กองทัพบกจะใช้งานรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 จีนที่จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ซึ่งเป็นกำลังหลักของ พัน.ม.ก.ใน กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ฯ ต่อไปอีกนานเช่นกัน
จะเห็นว่ากองทัพบกยังคงมีแนวทางเลือกที่จะใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิมแล้วต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จำทำได้ แทนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศที่มีแต่ราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยหลักนิยมในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น รถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 จีนนั้น การถ่ายทอด Technology เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงระยะยาวจะเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกแบบอาวุธครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)

ทั้งนี้มีข้อสังเกตในการเขียนชื่อหน่วยบนยานยนต์ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกรูปแบบใหม่ที่เห็นได้จากในงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ในส่วนกองทัพบกที่กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html)
และพิธีสวนสนามวันกองทัพไทยในส่วนกองทัพภาคที่๑ กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ณ กรมทหารราบที่๑๑ รักษาพระองค์ ครับว่าในส่วนของเหล่าทหารม้านั้น
เช่น รสพ.Type 85 กองพันทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ เดิมชื่อย่อหน่วยเดิมข้างตัวรถคือ ม.พัน.๑ รอ. ถูกเพิ่มหน่วยขึ้นตรงระดับกรมเป็น ม.๑ พัน.๑ รอ.

M60A3 Main Battle Tank with Israeli Elbit Systems Upgraded 17th Cavalry Battalion Royal Guard, 1st Cavalry Regiment Royal Guard, 2nd Cavalry Division Royal Guard, Royal Thai Army(My Own Photo)


M42 Duster Self-Propelled Anti-Aircraft Gun 4th Air Defense Artillery Battalion, 2nd Air Defense Artillery Regiment, Air Defense Artillery Division, Royal Thai Army 
Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)

รถถังหลัก M60A3 กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ และ M60A3 กองพันทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์
จากชื่อย่อหน่วยเดิมข้างตัวรถคือ ม.พัน.๑๗ รอ. และ ม.พัน.๕ รอ ถูกเพิ่มหน่วยขึ้นตรงระดับกรมเข้าไปด้วย เป็น ม.๑ พัน.๑๗ รอ. และ ม.๔ พัน.๕ รอ.
เช่นเดียวกับส่วนของเหล่าทหารปืนใหญ่ เช่น ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M42 Duster กองพันทหารปืนใหญ่ที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ที่๒ กองพลทหารปืนใหญ่ จากเดิมที่เขียนชื่อหน่วยข้างรถเป็น ปตอ.พัน.๔ ก็เพิ่มเป็น ปตอ.๒ พัน.๕ ครับ





Royal Thai Army was demonstrated performance of VT4 Main Battle Tank to Press at Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi, 24 January 2018

VT4 ทดสอบสมรรถนะในไทย..เปิดเผยครั้งแรก! รถถังหลัก VT4 ใหม่ล่าสุดของทบ.ไทย ทำการทดสอบสมรรถนะแบบเปิดเผยต่อสาธารณะชนครั้งแรก เมื่อ 24 ม.ค. 2561 ที่สนามขับรถถังและยิงปืนใหญ่ ค่ายอดิศร จ.สระบุรี 
โดยมีการทดสอบวิ่งในภูมิประเทศด้วยความเร็วตามเส้นทาง ข้ามเครื่องกีดขวางคูดักรถถัง ขึ้นเนิน 60 องศา การลุยน้ำลึกโดยไม่มีการเตรียมการ ยิงพลุควันและการยิงอาวุธ ฯลฯ....ผลงานยอดเยี่ยม อำนาจการยิงแม่นยำ …ไว้ใจได้…
เตรียมเข้าประจำการที่ ม.พัน 6 ขอนแก่น และ ม.พัน 21 ร้อยเอ็ด 
รถถัง VT4 ทบ.จัดหา ล็อตแรก 28 คัน ล็อต 2 10 คัน และล็อต 3 10 คัน รวม 48 คัน โดยจะประจำการที่ ม.6 พัน 6 จำนวน 23 คัน รถกู้ซ่อม 1 คัน และม.6 พัน 21 จำนวน 23 คัน รถกู้ซ่อม 1 คัน สพ.ทบ. 1 คัน และ ศม. 1 คัน ...ในอนาคตคงจะจัดหาเพิ่มเติมอีก
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1149257868510656
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1152152848221158

การสาธิตสมรรถนะของรถถังหลัก VT4 กองทัพบกไทยต่อสื่อมวลชน ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคมที่ผ่านมานั้น ก็เป็นการเปิดตัวรถถังหลัก VT4 ชุดแรก ๒๘คันที่จัดหาจาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างต่อเนื่องภายในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
หลังจากที่มีการเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ ณ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ รวมถึงก่อนหน้านั้นในวันทหารม้าที่ค่ายอดิศรเมื่อ ๔ มกราคม
และพิธีสวนสนามวันกองทัพไทย ส่วนกองทัพบกไทย ณ กรมทหารราบที่๑๑ รักษาพระองค์ เมื่อ ๑๘ มกราคม จะเห็นได้ว่าในวันสาธิตสมรรถนะแก่สื่อนั้น ถ.หลัก VT4 ได้มีการขึ้นทะเบียนเลขรถในตรากงจักรแล้ว

Royal Thai Army Stingray Light Tank 6th Cavalry Battalion, Children's Day 2018 at Khon Kaen

Royal Thai Army M48A5 21st Cavalry Battalion, 6th Infantry Division

รถถังหลัก VT4 ชุดแรกทั้ง ๒๘คันนี้จะเข้าประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น และกองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ กองพันละ ๑๓คัน อีก ๑คันที่ศูนย์การทหารม้า และ ๑คันที่กรมสรรพาวุธทหารบกเพื่อใช้ในการฝึกศึกษา รวมถึงรถกู้ซ่อมอีก ๑คัน
โดยรถถังเบา ถ.เบา.๓๒ Stingray ที่ ม.พัน.๖ ประจำการอยู่เดิมจะถูกโอนไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ แทนรถถังเบา M41A3 ซึ่งจะปลดประจำการลง เช่นเดียวกับรถถังหลัก M48A5 ม.พัน.๒๑ ที่จะโอนไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน ถ.เบา M41A3
โดอัตราจัดกำลังใหม่ที่ ๑หมวดรถถังมีรถถังหลัก ๔คัน +๑รถถัง ผู้บังคับการกองร้อย รวม ๑กองร้อยถังมี ถ.หลัก ๑๓คัน ทำให้ ม.พัน.๖ และ ม.พัน.๒๑ จะได้รับรถถังหลัก VT4 คู่ขนานกันกองพันละ ๑กองร้อยรถถัง

ตามที่กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท($147 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) โดยได้รับมอบเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๐(2017)
ต่อมาสั่งจัดหาระยะที่๒ ๑๑คันวงเงินราว ๒,๐๐๐ล้านบาท($60 million)ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) รวม ๓๙คัน และคาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้จะมีการดำเนินการสั่งจัดหาในระยะที่๓ อีกราว ๑๐คัน รวมทั้งหมด ๔๙คัน
เพื่อให้ ม.พัน.๖ และ ม.พัน.๒๑ มีรถครบกองพัน(ตรงนี้ไม่ทราบว่าอัตราจัดใหม่จะอยู่ที่เท่าใดแน่ระหว่างเดิมกองพันละ ๔๘-๔๙คัน หรือลดเป็น ๓๙คัน) ทำให้เป็นไปได้มากกว่าน่าจะมีการสั่งจัดหารถถังหลัก VT4 เพิ่มเติมมากขึ้นกว่านี้ในอนาคตครับ





29th Infantry Regiment, 9th Infantry Division, Royal Thai Army was delivered Israel Weapon Industries(IWI) Galil ACE-N 23 Assault Rifle 5.56x45mm with MEPRO M5 red dot weapon sight

เมื่อ 221600 ม.ค.61 พ.อ.สราวุธ ไชยสิทธิ์ ผบ.ร.29 พร้อมด้วย ผบ.นขต.ร.29 ได้ทำการฝึกการใช้อาวุธ ปลย. ขนาด 5.56 มม. (Galil Ace N-23) ณ สนามยิงปืน บวรยุทธ์ ร.29 พัน.3 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับอาวุธประจำกายแบบใหม่ที่ได้รับจาก ทบ. 
โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมการใช้อาวุธฯ เป็นผู้ให้คำแนะนำและฝึกการใช้อาวุธเบื้องต้น โดย ผบ.ร.29 ได้สั่งการให้ นขต.ร.29 ดำเนินการเปิด Unit School เพื่อให้กำลังพลได้รู้ถึงคุณลักษณะและมีความรู้เบื้องต้น ก่อนทำการฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริงต่อไป

ปืนเล็กยาวจู่โจม IWI Galil ACE N-23 ก็เป็นอาวุธประจำกายแบบล่าสุดที่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย โดยเริ่มถูกแจกจ่ายในหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารราบที่๙ เช่น กรมทหารราบที่๒๙ พล.ร.๙
โดยตามข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับ ปลย. ACE N-23 ได้ติดตั้งมาพร้องกล้องช่วยเล็งจุดแดงแบบ MEPRO M5 โดยจะถูกนำมาทดแทนปืนเล็กยาวที่ใช้กระสุน M193 .223 Remington รุ่นเก่ามีอายุการใช้งานนานเช่น ปลย.M16A1 และ ปลย.๑๑ HK33
(ปลย.M16A2, M16A4, ปลย.๕๐ Tavor TAR-21 ปืนเล็กสั้น M4, ปลส.Tavor CTAR, ปลส.IWI X95 และปืนเล็กยาว FN SCAR-L เป็นต้นนั้นใช้กระสุน M855 5.56mm NATO ที่ใหม่และประสิทธิภาพดีกว่า)
ซึ่งทางบริษัท Israel Weapon Industries(IWI) อิสราเอลผู้ผลิตปืนก็ประสบความสำเร็จในการส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนแก่กองทัพบกไทย และยังหวังที่จะขยายการขายผลิตภัณฑ์ของตนให้ไทยให้มากขึ้นครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/iwi-masada-tavor-7.html)

Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, January 2018
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/photos/p.1580105442027344/1580105442027344/

ความคืบหน้าในการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ก็มีมากขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) โดยการเชื่อมส่วน Block เรือในอู่แห้งนั้นเริ่มเป็นรูปร่างตัวเรือขนาดใหญ่มากขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้จากชุดภาพว่าคนงานที่ทำงานในอู่มหิดลเป็นช่างฝีมือชาวไทย(https://www.facebook.com/groups/sattahiptown/permalink/1715073008515961/)
การก่อสร้าง ร.ล.ตรัง มีความรวดเร็วมากขึ้นจากประสบการณ์ในการสร้าง ร.ล.กระบี่ ก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะมีการปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี ๒๕๖๑(2018) นี้ครับ






Airbus Helicopters H145M 202nd Squadron, Wing 2, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy was test firing FN MAG 58F side door machineguns, 17 January 2018

17 ม.ค. 61 ฝูงบิน 202 ทำการทดสอบการยิงอาวุธปืนกลอากาศยาน MAG58
https://www.facebook.com/squadron202/posts/2052461324982974

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M(EC645 T2 ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย ๕เครื่องที่ได้มีการจัดหาเข้าประจำการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/h145m.html)
ล่าสุดเมื่อ ๑๗ มกราคมที่ผ่านมา ฮ.ลล.๖ H145M กองทัพเรือไทยได้ทำการทดสอบการยิงปืนกลอากาศ FN MAG 58F ขนาด 7.62x51mm ที่ติดตั้งบนแท่นยิงอาวุธข้างประตูห้องโดยสารทั้งสองข้างของเครื่อง
ซึ่งเป็นระบบอาวุธหนึ่งที่จะนำมาใช้สนับสนุนกำลังรบภาคพื้นดินของกองทัพเรือ ทั้งนาวิกโยธิน(Royal Thai Marine Corps) หรือ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ(Royal Thai Navy SEAL) ได้
โดย H145M เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่นใช้งานทางทหารที่มีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรก และรองรับระบบอาวุธ HForce ของ Airbus สำหรับ กระเปาะปืนกลหนัก FN HMP400 .50cal(12.7mm) และกระเปาะจรวด FZ 70mm(2.75") ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/airbus-h145m-hforce.html)



Royal Thai Air Force's T-50TH Welcome Ceremony and Congratulations to 1st Batch of T-50TH Pilots, 25 Januray 2018

นักบินเกาหลีใต้ทั้ง 4 นายคือ นักบินลองเครื่อง ซุง ฮวัน บิน F-5,F-16,T-50,TA-50,FA-50 กว่า 2,700 ชม.บิน...ครูการบิน T-50 ถัง เซิล บินกับอากาศยานแบบต่างๆกว่า 40 แบบ กว่า 4,000 ชม.บิน...
นักบินลองเครื่อง อี ดงกิว บินกับอากาศยานแบบต่างๆ มากกว่า 4,800 ชม.บิน(เฉพาะ T-50 2,000 ชม.บิน)....นักบินลองเครื่อง เม ฮัน เจ บิน F-4,F-5, F-16,TA-50,FA-50 กว่า 2,900 ชม.บิน...
ส่วนของทอ.ไทยมีนักบิน F-16 4 นายคือ น.ท.ธีระยุทธ เกื้อสกุล ฝูง 403....น.ท.สานิตย์ ประวิตรวงค์ ฝูง 103..น.ท.จาริต มังคละศิริ ฝูง 103...และน.ท.ธีรนาถ ณ บางช้าง ฝูง 403 ซึ่งทุกนายบินกับ F-16 มากว่า 1,000 ชม.บิน 
อีก 2 นายเป็นนักบิน L-39 ฝูง 401 คือ น.ต. ณัฐพล ม่วงเรือง และ น.ต. ณัฐพงษ์ ศรีหานาม มีชม.บินกับ L-39 กว่า 1,000 ชม.บิน

วันที่ ๒๕ มกราคมที่ผ่านมาในที่สุดเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH Golden Eagle ชุดแรก ๒เครื่อง หมายเลข 40101 และ 40102 ของกองทัพอากาศไทยก็ได้บินเดินทางส่งมอบมาถึง ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี นครสวรรค์ ประเทศไทยแล้ว
T-50TH ชุดแรก ๒เครื่องนี้อยู่ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องวงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) ที่กองทัพอากาศไทยลงนามสัญญาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ต่อมากองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาT-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงิน ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) รวมสั่งหาแล้ว ๑๒เครื่อง
โดย T-50TH ๒เครื่องหลังในโครงการจัดหาระยะที่๑ (หมายเลข 40103 และ 40104) มีกำหนดส่งมอบเดือนมีนาคม ๒๕๖๑(2018) และระยะที่๒ อีก ๘เครื่องมีกำหนดส่งมอบในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒(2019)(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_25.html)

ตามที่ได้รายงานไปว่าทางบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตเครื่องหวังที่จะให้กองทัพอากาศไทยลงนามสัญญาจัดหา T-50TH ระยะที่๓ เพิ่มอีก ๔เครื่องในเร็วๆนี้่(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/kai-t-50th-2018-2019.html)
ซึ่งทาง KAI เกาหลีใต้ยังมุ่งหวังที่จะให้กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ของตนมากขึ้นไปอีกเป็น ๖เครื่องรวมทั้งหมด ๑๘เครื่องเต็มอัตรามาตรฐานหนึ่งฝูงบิน(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_10.html)
แต่อย่างไรก็ตามจากเหตุขัดข้องในด้านความล่าช้าในการส่งมอบที่แสดงถึงการให้บริการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของทาง KAI เกาหลีใต้นั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อแผนการพิจารณาจัดหา T-50TH เพิ่มเติมในอนาคตของกองทัพอากาศไทย(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_21.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_24.html)
รวมถึงอาจจะเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับเครื่องบินฝึกตระกูล T-50 Golden Eagle ในการแข่งขันโครงการจัดหาของประเทศอื่นทั่วโลก เช่น โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯที่ KAI กับ Lockheed Martin ส่ง T-50A เข้าแข่งขันครับ



น.อ.ณัฐวุฒิ ดวงสูงเนิน " NEON" รองผบ.กองบิน 7 นักบิน Gripen สวมหมวกบินแบบใหม่ล่าสุด


Gripen C 70105, 701st Squadron, Wing7, Royal Thai Air Force has demonstrated Performance in Children's Day 2018 Air Show at Wing6, 
It is first time thai Gripen's Pilot Callsign 'Neon' was showcased SAAB Cobra Helmet-Mounted Display(HMD), 13 January 2018

งานแสดงการบินในวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ของกองทัพอากาศไทย ณ กองบิน๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ที่ผ่านมา เป็นอีกปีที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ได้ทำการบินแสดงสมรรถนะให้เด็กและเยาวชนชมนั้น
มีภาพปรากฎที่น่าสนใจมากคือนักบินของเครื่องบินขับไล่ Gripen C หมายเลข 70105 คือ นาวาอากาศเอก ณัฐวุฒิ ดวงสูงเนิน "Neon" ได้ทำการบินกับเครื่องพร้อมหมวกนักบินติดจอแสดงผลแบบ SAAB Cobra HMD 
หมวกนักบิน Cobra HMD นั้นถูกนำมาใช้กับ Gripen C/D กองทัพอากาศสวีเดน(Swedish Air Force) ในปี 2007 และถูกจัดไปใช้กับ Gripen C/D กองทัพอากาศแอฟริกาใต้(South African Air Force) ตั้งแต่ปี 2011

เป็นการเปิดเผยถึงอุปกรณ์ทันสมัยของกองทัพอากาศไทยอีกแบบรวมกับ หมวกนักบินติดจอแสดงผล DASH สำหรับ F-5E/F Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี และ JHMCS(Joint Helmet-Mounted Cueing System) สำหรับ F-16AM/BM EMLU ฝูง๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี 
ทั้งนี้มีรายงานบางส่วนออกมาว่า กองทัพอากาศกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาการกำหนดกรอบการจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ระยะที่๓ เพิ่มเติมในอนาคต
ซึ่งก็ตามที่ทราบครับว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ที่มีประจำการอยู่ ๑๑เครื่องในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมีการจัดหาเพิ่มเติมอีกราว ๕-๗เครื่อง เพื่อให้ครบอัตราฝูงบินขับไล่มาตรฐานของกองทัอากาศไทยที่ ๑๖-๑๘เครื่องต่อหนึ่งฝูงบิน

แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านงบประมาณกลาโหมที่กองทัพอากาศไทยได้รับที่มีจำกัด รวมถึงโครงการจัดห่าอากาศยานทดแทนแบบอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก มีผลโดยตรงต่อการอาจจะยังไม่มีการอนุมัติโครงการจัดหา Gripen เพิ่มเติมซึ่งต้องใช้งบประมาณสูงมาก
ประกอบกับที่ SAAB สวีเดนมุ่งเน้นการเปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F รุ่นใหม่ของตน ทำให้ถ้าไม่มีลูกค้าประเทศต่างๆที่โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่สั่งจัดหา Gripen C/D ในจำนวนมากพอ SAAB ก็อาจจะไม่เปิดสายผลิตให้ไทยที่สั่งเพียง ๕-๗เครื่อง 
รวมถึงแนวทางจัดหา Gripen C/D ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนมาก่อนแล้วปรับปรุงคืนสภาพใหม่เสนอให้ไทย ซึ่งจะถูกวิจารณ์เรื่องความเหมาะสมว่ากองทัพอากาศซื้อเครื่องบินมือสองที่มักจะถูกโจมตีว่าสิ้นเปลืองและอายุการใช้งานสั้นไม่คุ้มค่าด้วยครับ

สรุปผลการสอบสวนกรณีเครื่องบิน Gripen ประสบอุบัติเหตุ

จากกรณีเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39C) ของกองทัพอากาศ ประสบอุบัติเหตุขณะแสดงการบินเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๐ บริเวณสนามบินกองบิน ๕๖ จังหวัดสงขลา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๐ นั้น

กองทัพอากาศ ได้ดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว โดยได้รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์หลักฐานอย่างละเอียดทุกขั้นตอนตามมาตรฐานสากล 
ทั้งด้านการทำงานของเครื่องบิน เครื่องยนต์ การตรวจสอบประวัติสุขภาพรวมทั้งความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของนักบิน การตรวจสอบวัตถุพยาน พยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ 
รวมทั้งหลักฐานจากเทปบันทึกการบิน และภาพบันทึกเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่นิรภัยการบินของกองทัพอากาศ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน 
รวมถึงสำนักงานยุทโธปกรณ์ทางทหารของสวีเดน (FMV) และบริษัท SAAB เข้ามาร่วมในการตรวจสอบ ตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกัน

ผลการสอบสวนพบว่า เครื่องบินไม่มีปัญหา เป็นเครื่องที่ดีและพร้อมใช้งาน และนักบินเป็นนักบินที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มเป็นไปได้มากว่าเกิดจากการหลงสภาพการบินชั่วขณะ (Spatial Disorientation) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย
โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผลการศึกษาทางด้านเวชศาสตร์การบินพบว่า การหลงสภาพการบินชั่วขณะ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับนักบินทุกคน ถึงแม้ว่านักบินเหล่านั้นจะได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม 
ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการหลงสภาพการบิน อาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น สภาพอากาศ ความเร็ว อัตราเร่ง การเปลี่ยนท่าทางการบินโดยฉับพลัน ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่ออวัยวะการรับรู้ของมนุษย์ 
ทั้งนี้การหลงสภาพการบิน เป็นสภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการบินมากที่สุด เนื่องจากเหตุผลทางด้านสรีรวิทยาการบิน อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศจะได้นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาตามหลักการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ด้านการบินต่อไป

พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย 
โฆษกกองทัพอากาศ
https://www.facebook.com/RTAFpage/photos/a.721517274544532.1073741854.213878568641741/1902502059779375/
https://www.facebook.com/RTAFpage/

RTAF Gripen C 70108 at Wing 56 RTAFB Hat Yai Childern's Day 2016 Air Show

ทั้งนี้ก็เป็นเวลาเกือบหนึ่งปีนับตั้งแต่เหตุเครื่องบินขับไล่ Gripen C หมายเลข 70108 ประสบอุบัติเหตุตกขณะแสดงการบินในวันเด็กแห่งชาติปี ๒๕๖๐ ที่กองบิน๕๖ หาดใหญ่ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๐(2017)
โดยกองทัพอากาศไทยได้มีการชี้แจงต่อสื่อและสาธารณชนอย่างเป็นทางการถึงผลการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑(2018)
แต่อย่างไรก็ตามการชี้แจงกรณีอุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่ Gripen ไม่สามารถที่จะหยุดการกระทำของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง ที่ต้องการจะใส่ร้ายนักบินที่เสียชีวิตและโจมตีกองทัพอากาศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานได้
ซึ่งจุดประสงค์หนึ่งที่ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติเหล่านี้ต้องการ คือการสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนไม่ให้มีการสนับสนุนให้กองทัพอากาศมีการจัดหาอากาศยานรบใหม่เข้าประจำการได้ในอนาคต เพื่อเป็นการบั่นทอนความพร้อมกำลังรบทางอากาศของชาติไทยเราครับ

เพราะถ้าดูจากทั้งกรณีที่กองทัพอากาศไทยชี้เแจงผลการสอบสวนอุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่ Gripen ตกโดยนักบินประจำเครื่องเสียชีวิต ที่กลับมีการโจมตีใส่ร้ายตัวนักบินที่เสียชีวิตแบบไร้ความรับผิดชอบ รวมถึงการสร้างเรื่องโกหกทำลายความน่าเชื่อถือโครงการจัดหา Gripen
และกรณีเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH มีความล่าช้าในการส่งมอบระหว่างการบินเดินทางมาไทยในข้างต้น ซึ่งทาง KAI เกาหลีใต้มีการดูแลสนับสนุนการซ่อมเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งมอบให้กับลูกค้าคือกองทัพอากาศไทยอย่างเต็มที่นั้น
กลับมีทั้งนักวิชาการระดับอาจารย์ ดอกเตอร์ และศาสตราจารย์ ทั้งที่มีวุฒิการศึกษาจริงและที่อุปโลกน์ตั้งตนเองออกมาให้สัมภาษณ์สื่อที่ไร้จรรยาบรรณโจมตีให้ร้ายกองทัพอากาศอย่างไร้ข้อมูลที่เป็นความจริง ถึงขนาดหลอกลวงออกสื่อว่า T-50TH เป็นเศษเหล็กเครื่องบินจีนมือสองเลยทีเดียว
ดังนั้นจะเห็นได้ครับว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองเหล่านี้มีการทำงานด้านโฆษณาชวนเชื่ออย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อทำทุกวิธีทางที่จะให้กองทัพอากาศไทยมีความอ่อนแอและไม่น่าเชื่อถือในสายตาประชาชนให้มากที่สุด ซึ่งเราควรจะต้องรู้เท่าทันเรื่องที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ครับ