Malaysia considers ‘fighter exchange’ offer from Russia
Royal Malaysian Air Force (RMAF) has also recently retired what is believed to be 10 MiG-29s (pictured), which were operated from the mid-1990s.
The RMAF has currently operates about 18 Su-30MKM fighters (pictured), which were delivered from 2007.
Russia has offered Malaysia an exchange deal featuring old fighter aircraft for new aircraft, with the latter reported to feature the Su-35 and MiG-35 (pictured). Source: UAC
https://www.janes.com/article/92893/malaysia-considers-fighter-exchange-offer-from-russia
มาเลเซียได้รับข้อเสนอจากรัสเซียเปลี่ยนแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งของฝูงเครื่องบินเครื่องพหุภารกิจของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ได้ยืนยันต่อรัฐสภามาเลเซียโดยกล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังพิจารณาข้อเสนอจากรัฐบาลรัสเซีย
แต่บ่งชี้ว่าลำดับความสำคัญของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) คือการจัดหาขีดความสามารถเช่นการตรวจการณ์และโจมตีเบา(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ยังได้บ่งชี้ว่ามาเลเซียจะไม่มีการพิจารณาการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจจริงๆจนกว่าจะหลังปี 2030(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/su-30mkm.html)
กองทัพอากาศมาเลเซียปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM รัสเซียราว 18เครื่องซึ่งได้รับมอบตั้งแต่ปี 2007 ล่าสุดน่าเชื่อว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ MiG-29N รัสเซียจำนวน 10เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่กลางปี 1990s
ในรัฐสภามาเลเซีย รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ได้ถูกถามว่าถ้ามาเลเซีย "ยินดีที่จะยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลรัสเซียที่จะส่งคืนเครื่องบินขับไล่ 28เครื่อง" และ "ทดแทนพวกมันด้วยเครื่องบินใหม่ที่สร้างโดยรัสเซีย"
ข้อตกลงได้รับการรายงานว่าจะรวมถึงการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 และเครื่องบินขับไล่ Su-35 รุ่นใหม่ยังน่าจะประกอบด้วยการค้าต่างตอบแทนกับน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_24.html)
Sabu ตอบกลับว่า แม้ว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ "ไม่ได้อยู่ในแผนของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย" แต่ยังคงพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอจากรัสเซียอยู่ เขาเสริมว่าในเส้นทางโครงการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพอากาศมาเลเซียระยะยาว
จะเดินหน้าเพื่อให้ลำดับความสำคัญการบำรุงรักษาฝูงเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Hornet จำนวน 8เครื่องที่จัดหาในปลายปี 1990s การให้ลำดับสำคัญการดำรงสภาพความพร้อมจะเดินหน้าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030
Sabu เสริมว่าลำดับความสำคัญการจัดหาระยะใกล้สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียรวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft), อากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle)
และเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) เพื่อ "เสริมความสามารถและเตรียมความพร้อมของกองทัพอากาศมาเลเซีย" ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)