วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กองทัพเรือไทยทำพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลางใหม่ เรือหลวงตาชัย
















Royal Thai Navy (RTN) held delivering ceremony for YTM-859 HTMS Ta Chai, new thrid Panyi-class Tugboat built by Asian Marine Service PCL (ASIMAR) shipyard at Laem Thian Pier, Sattahip Port, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand on 21 August 2023. (Royal Thai Navy) 





ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงตาชัย
วันที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 14.29 น. พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงตาชัย โดยมี ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ กองเรือยุทธการ นายสุรเดช  ตัณฑ์ไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และแขกผู้มีเกียรติร่วมให้การต้อนรับ 

ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 - 2567 โครงสร้างกำลังรบ ได้กำหนดให้มีเรือลากจูงสำหรับใช้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8 ลำ ซึ่งในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือลากจูงปฏิบัติราชการแล้ว จำนวน 6 ลำ และมีแผนปลดระวางประจำการ 1 ลำ ทำให้เหลือเรือลากจูงใช้ในราชการ เพียง 5 ลำ
กองทัพเรือจึงมีความจำเป็นในการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพื่อมาทดแทน ซึ่งการต่อเรือหลวงตาชัย เรือลากจูงขนาดกลางลำนี้ จะทำให้มีเรือลากจูงที่เพียงพอต่อการสนับสนุนเรือขนาดใหญ่ และเรือดำน้ำที่กองทัพเรือจะได้รับมอบมาใช้ปฏิบัติราชการในปี 2567 
ทั้งนี้ เรือหลวงตาชัยจะเข้าประจำการ ที่กองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ กองเรือยุทธการ นอกจากนี้การต่อเรือหลวงตาชัย กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกจากบริษัท อู่ต่อเรือภายในประเทศ 
คือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือภายในประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์ความรู้ และช่วยลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

คุณลักษณะที่สำคัญของเรือหลวงตาชัย คือ สามารถเข้าดึงและดันเรือขนาดใหญ่ของกองทัพเรือ และรวมไปถึงเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ได้อย่างคล่องตัวปลอดภัย และสามารถเคลื่อนที่ไปทางข้างได้ โดยมีขีดความสามารถทางการลากจูง และเรือมีกำลังดึง ไม่น้อยกว่า 55 เมตริกตัน 
โดยเรือหลวงตาชัยเป็นไปตามแบบเรือ Ramparts 3200 SD มีความยาวตลอดลำ 31.50 เมตร ความกว้าง 12.60 เมตร กินน้ำลึกสูงสุด 4.50 เมตร สามารถออกปฏิบัติการในระยะปฏิบัติการได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็ว 8 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
และสามารถทำความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ไม่น้อยกว่า 12.1 น็อต มีการจัดแบ่งห้องพักอาศัยของกำลังพล จำนวน 20 นาย มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอต่อการปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง 
สามารถปฏิบัติงานในท่าเรือ และชายฝั่งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มีความคงทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3 (Sea State 3) สามารถสนับสนุนภารกิจอื่นๆ ด้วยความสามารถที่มีอยู่ได้ หากมีความจำเป็น 
เช่น การลากเป้าในการฝึกยิงอาวุธ ขจัดคราบน้ำมันในทะเลบริเวณท่าเรือได้ และดับเพลิงไหม้ในเรือ ทั้งในเขตฐานทัพ ท่าเรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ตลอดชายฝั่งได้ 
รวมทั้งสามารถบังคับเรือให้ไปทางข้างได้ ทั้งซ้ายและขวา ใช้ส่วนหัวเรือ ทั้งดึงและดันได้โดยไม่ต้องกลับลำเรือ และเน้นการใช้งานสำหรับการดันเรือเป็นหลัก

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ทำพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สาม เรือหลวงตาชัย เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้มีขึ้นให้หลังเป็นเวลาราวเจ็ดเดือน
หลังจากได้มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ณ อู่เรือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)(ASIMAR: Asian Marine Service PCL) ไทย ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/htmstachai.html)

เรือลากจูงขนาดกลาง ร.ล.ตาชัย ยังคงใช้แบบเรือลากจูง Ramparts 3200 SD ของ บริษัท Robert Allan Ltd.แคนาดา เรือลากจูงขนาดกลางชุด ร.ล.ปันหยี ๒ลำก่อนหน้าที่ถูกสร้างโดย บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด(Italthai Marine Limited) ไทย
คือ เรือหลวงปันหยี(857) ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) และเรือหลวงหลีเป๊ะ(858) ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/blog-post_24.html

เรือลากจูงขนาดกลางเรือหลวงตาชัยจะเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ในความต้องการทดแทนเรือลากจูงที่มีความต้องการรวมทั้งหมด ๘ลำ
โดยปัจจุบันมี ๖ลำคือเรือลากจูงชุดเรือหลวงริ้น ๑ลำคือ ร.ล.ริ้น(853)  เรือลากจูงชุดเรือหลวงแสมสาร ๒ลำคือ ร.ล.แสมสาร(855) และเรือหลวงแรด(856) และเรือลากจูงชุดเรือหลวงปันหยี ๒ลำ และเป็นที่เข้าใจว่า ร.ล.ริ้น จะปลดประจำการลงเร็วๆนี้ ทำให้เหลือ ๕ลำไม่รวม ร.ล.ตาชัย ลำใหม่ครับ