วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๖-๙




Royal Thai Navy (RTN) and People's Liberation Army Navy (PLAN) have concluded exercise BLUE STRIKE 2023 at Thailand on 1-10 September 2023.
The exercise BLUE STRIKE 2023 involved PLAN's CNS Chang Cheng , the Type 039G Submarine for first time in Gulf of Thailand; LPD-986 CNS Siming Shan, the Type 071 Landing Platform Dock (LPD) embarked with ZTD-05 Tracked Amphibious Assault Vehicles, Z-18 Helicopters and People's Liberation Army Navy Marine Corps (PLANMC); FFG-599 CNS Anyang, the Type 054A guided-missile frigate and CNS Chaohu (890), the Type 903A replenishment ship with RTN LPD-792 HTMS Chang (III), Type 071ET LPD and LPD-791 HTMS Angthong Landing Platform Dock; FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and FFG-421 HTMS Naresuan guided-missile frigates. (Royal Thai Navy)  





พิธีปิดการฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 อย่างเป็นทางการ ได้จัดให้มีขึ้น ณ ร.ล.ช้าง ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมี พลเรือตรี อาภา ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 
และ พลเรือตรี เฉิน เว่ย ตง (Chen Weidong) รองผู้บัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน/ผู้อำนวยการฝึก พร้อมด้วยผู้ช่วยทูตทหารสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย 
ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 ระหว่างกองทัพเรือ และกองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน 
และในเช้าวันนี้ (10 กันยายน 2566) เรือเข้าร่วมฝึกของทางฝ่ายจีนเดินทางกลับ พร้อมได้มีพิธีส่งเช่นธรรมเนียมปฏิบัติสากลของทหารเรือ การฝึกของกองทัพเรือเพื่อสันติภาพ มนุษยธรรม และโอกาสในการเรียนรู้ ครั้งประวัติศาสตร์ได้จบสิ้นลง
ตลอดระยะเวลา ในการฝึก 10 วัน ที่ผ่านมา กองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน ความตั้งใจ และความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติงานร่วมกัน และเป็นโอกาสอันดี ที่ได้แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งในส่วนของการฝึกในทะเล 
การฝึกการฝึกการช่วยเหลือด้นมนุษย์ธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และการฝึกของหน่วยทหารนาวิกโยธิน สิ้นสุดลงสำหรับการฝึกครั้งประวัติศาสตร์ ไทย-จีน การฝึกผสม BLUE STRIKE 2023

โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจง กรณี ส.ส พรรคก้าวไกล กล่าวหา ในการจ้างกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย  เน้นย้ำความโปร่งใส เหตุที่ ยกเลิกเนื่องจากไม่มีรายใดที่ยื่นเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไข
วันที่ 13 กันยายน 2566 พลเรือเอก ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ  เปิดเผยว่าตามที่ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล  ได้อภิปรายการแถลงนโยบายของรัฐบาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหล่าทัพ  
โดยช่วงหนึ่งของการอภิปราย กล่าวถึงการกู้เรือหลวงสุโขทัย ว่า กองทัพเรือได้เปิดประมูลกู้ เรือหลวงสุโขทัย ภายหลังได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน  200 ล้านบาท โดยมีผู้ยื่นซองประมูลจำนวน  16 ราย ซึ่งได้มีการนัดยื่นซอง ประกวดราคาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566  
แต่ต่อมา ในวันที่ 8 กันยายน 2566 มีประกาศจากกองเรือยุทธการ ยกเลิกประมูล โดยไม่แจงเหตุผล ไม่ทำ TOR ไม่เปิดเชิญชวนใหม่ แต่ให้คนเคยยื่นซองยื่นไปใหม่ราคาเดิม  ทำให้ เกิดข้อสงสัย ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส 
โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า  การกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัยนั้น กองทัพเรือ ได้อนุมัติหลักการและงบประมาณในการจ้างกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย โดยให้  กองเรือยุทธการ  เป็นหน่วยถืองบประมาณ  
ในการนี้กองเรือยุทธการได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงานหรือ TOR  และกำหนดคุณลักษณะรวมถึงรายละเอียดการจ้างกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัยเพื่อดำเนินการจัดทำราคากลางและ TOR งานจ้างกู้และลำเลียง 
ซึ่งคณะกรรมการจ้างโดยวิธีคัดเลือกได้มีหนังสือเชิญชวนเสนอราคาถึงผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดจำนวน 14 ราย โดยได้กำหนดยื่นวิจารณ์ขอบเขตของงานภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 
รับฟังคำชี้แจงจากการวิจารณ์ขอบเขตของงานในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 และยื่นข้อเสนอในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 โดยเมื่อถึงกำหนดวันเวลายื่นซองข้อเสนอปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอจำนวน 6 ราย 
จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการยื่นข้อเสนอของทั้ง 6 รายพบว่าไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอรายใดยื่นเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงไม่มีการพิจารณาข้อเสนอทางด้านเทคนิคและข้อเสนอทางด้านราคา 
คณะกรรมการฯ จึงได้ยกเลิกการจ้างและลำเลียงเรือหลวงสุโขทัยในครั้งนี้  เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ 2560  และจะมีการประกาศเพื่อคัดเลือกใหม่ในโอกาสต่อไป 
โดยทางคณะกรรมการจัดจ้าง จะให้ทุกบริษัทที่สนใจ ยื่นซองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีการปิดกั้นบริษัทใดๆทั้งสิ้น
โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันว่าการกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัยรวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์ต่าง ๆ นั้น กองทัพเรือมีนโยบายในการจัดหาด้วยความโปร่งใส มีเอกสารหลักฐานการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย 
ซึ่งในส่วนของการ จ้าง กู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย หากมีความคืบหน้าจะได้มีการชี้แจงให้สื่อมวลชนได้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

การฝึกผสม BLUE STRIKE 2023 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนระหว่างวันที่ ๑-๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดยไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖ และพิธีปิดเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๖ ก็ได้เสร็จสิ้นแล้วหลังไม่ได้ทำการฝึกมาหลายปี
การฝึก BLUE STRIKE 2023 ปีนี้เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนนำเรือดำน้ำของตนคือเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039G Song เรือดำน้ำ Chang Cheng(อ่านว่า "ฉางเฉิง" แปลว่า 'มหากำแพง' เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบทุกลำของจีนถูกตั้งชื่อนี้) มาฝึกในอ่าวไทย
แม้ว่าการฝึก BLUE STRIKE จะเน้นไปที่ด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR) แต่การฝึกสร้างความคุ้นเคยเรือดำน้ำ(Submarine Familiarization) Type 039G ก็สอดคล้องกับที่กองทัพเรือไทยกำลังจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนซึ่งมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B Yuan ที่ทันสมัยกว่า

อย่างไรก็ตามปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ที่จีนเสนอทดแทนเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 ที่เยอรมนีปฏิเสธการส่งมอบให้จีนสำหรับติดตั้งในเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยและเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถานยังคงเป็นประเด็นปัญหาอยู่
แม้ว่ากองทัพเรือไทยจะพิจารณายอมรับเครื่องยนต์ CHD620 สำหรับ S26T ที่กำลังสร้าง ๑ลำของตน เช่นเดียวกับเรือชั้น Hangor ทั้ง ๘ลำที่ ๔ลำหลังสร้างในปากีสถาน ตามที่มีการรับรองมาตรฐานรุ่นสำหรับใช้ในเรือดำน้ำไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html) และปากีสถานน่าจะได้รับเรือดำน้ำชั้น Hangor ๔ลำแรกของตนที่สร้างใน Wuhan จีนเข้าประจำการเร็วกว่า S26T ของไทยที่จ่ายในไปในโครงการระยะ๑ ลำแรกเพียงราว ๗,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($195 million) จาก ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐($410 million) ที่การส่งมอบจะล่าช้าถึงปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
โดย สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีกลาโหมไทยท่านใหม่ที่รับตำแหน่งในรัฐบาลพลเรือนหลังการเลือกตั้งได้ให้สัมภาษณ์สื่อหลายครั้งตลอดช่วงเดือนกันยายน ๒๕๖๖ ถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยที่ประชาชนจะเป็นที่พอใจในหลากหลายแนวทาง

แต่ทว่าในกรณีที่กระทรวงกลาโหมและรัฐบาลไทยมองจะมีการเจรจาใหม่กับเยอรมนีเกี่ยวกับเครื่องยนต์ MTU 396 สำหรับเรือดำน้ำ S26T นั้นเป็นไปได้ยากเพราะสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยชี้แจงเป็นที่ชัดเจนพอแล้วว่า "จีนไม่เคยมีการคุยเรื่องนี้กับเรา และเราจะไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้อีกแล้ว"
เช่นเดียวกับที่บริษัท MTU เยอรมนีให้ข้อมูลล่าสุดในปี 2023 นี้ว่าได้ปิดสายการผลิต MTU 396 ตังแต่ปี 2020 แล้วและแต่ตอนนี้ทำตลาดเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 4000 รุ่นใหม่เท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเจรจาเพื่อจัดหา MTU 396 โดยเฉพาะรุ่นที่ใช้กับเรือดำน้ำได้
และถึงจะหาเครื่องยนต์ MTU 396 ที่อาจจะเป็นแบบมือสองหรือขอเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ MTU 4000 รุ่นใหม่ได้เยอรมนีก็จะไม่ส่งเครื่องยนต์ของตนไปให้จีนติดตั้งกับ S26T ของไทยอยู่ดี และการที่จะยกเรือดำน้ำที่กำลังสร้างจากจีนมาติดตั้งเครื่องยนต์เองในไทยนั้นก็ยุ่งยากและต้องลงทุนสูงมาก

แนวทางต่อมาคือการที่รัฐมนตรีกลาโหมไทยเปิดเผยแนวคิดว่าถ้าถ้าไม่สามารถจัดหาเครื่องยนต์เยอรมันที่กองทัพเรือไทยเชื่อมั่นมากกว่าเครื่องยนต์จีนและประชาชนยอมรับ ก็จะมองแนวทางที่จะเปลี่ยนการจัดหาจากเรือดำน้ำเป็นเรือผิวน้ำแทน และถ้ามีเงินเหลือก็จะขอจีนให้แลกเปลี่ยนเป็นปุ๋ยแทน
อย่างไรก็ตามเมื่อนายกรัฐมนตรีไทย เศรษฐา ทวีสิน และคณะเดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ UNGA78 ที่ New York สหรัฐฯ โดยเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ นายกรัฐมนตรีได้ตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับการหารือกับผู้นำเยอรมนีนอกรอบว่า "ความชัดเจนคือยังไม่มีความชัดเจน" 
จะเห็นได้ว่าตามที่รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งนี้ได้ดำเนินนโยบายเพื่อให้มีความเชื่อมั่นและพอใจว่าภาษีของประชาชนถูกใช้อย่างคุ้มค่า การแก้ไขสัญญาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลระหว่างไทยและจีนในโครงการเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณากันใหม่

ในการตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทยชุดใหม่โดยพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาตลอดเดือนกันยายน ๒๕๖๖ ยังมีการโจมตีกองทัพเรือในสองประเด็น รวมถึงการกู้เรือคอร์เวตเรือหลวงสุโขทัยวงเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($5,590,492) ซึ่งได้รับการอนุมัติงบประมาณคัดเลือกผู้รับสัญญาให้ดำเนินการได้ในราวสิ้นปีนี้
โดยตั้งประเด็นที่กล่าวหาว่าการประมูลการกู้ ร.ล.สุโขทัยที่ถูกยกเลิกไปในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๖ ว่าไม่โปร่งใสนั้น โฆษกกองทัพเรือไทยได้ชี้แจงว่าไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอรายใดยื่นเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงพิจารณายกเลิกการประมูลและจะมีการประกาศเพื่อคัดเลือกใหม่ภายหลัง
ส่วนกรณีเรือดำน้ำ S26T จีนที่ฝ่ายค้านตั้งกระทู้ถามสดต่อรัฐมนตรีกลาโหมในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ นั้นก็เป็นเรื่องเดิมที่เคยมีการชี้แจงไปแล้วหลายครั้ง กองทัพเรือไทยยังคงมองที่จะจัดหาเรือฟริเกตใหม่ต่อจากเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ครับ 



Royal Thai Navy ships OPV-511 HTMS Pattani (511), PC-522 HTMS Klongyai (522) and U.S. Coast Guard Cutter WMSL-755 Munro steam in formation during an at-sea engagement Sept. 1, 2023, in the South China Sea. 

Sailors assigned to U.S. Coast Guard Cutter Munro pose for a group photo with sailors from the Thailand Maritime Enforcement Command Center during an at-sea engagement Sept. 1, 2023, in the South China Sea. 
Munro is deployed to the Indo-Pacific to advance relationships with ally and partner nations to build a more stable, free, open and resilient region with unrestricted, lawful access to the maritime commons. (U.S. Navy photo by Chief Petty Officer Brett Cote)




Welcome to Chonburi Province, Thailand, Canadian frigate HMCS Ottawa - FFH 341 - NCSM Ottawa. 
His Majesty’s Canadian Ship HMCS OTTAWA is docked in Chuk Samet Port until October 2. The visit, part of Canada’s ongoing defence engagements in the Indo-Pacific Region, demonstrates the collaboration and friendship between Canada and Thailand. 
Canada recognizes the growing importance of safeguarding regional peace and security to ensure prosperity for our peoples. 



ยินดีต้อนรับเรือฟริเกตแคนาดาเรือหลวงออตตาวา HMCS Ottawa - FFH 341 - NCSM Ottawa สู่จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
เรือหลวงของแคนาดา HMCS OTTAWA จะจอดเทียบท่าที่ท่าเรือจุกเสม็ดจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม การมาเยือนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางทหารในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่มีอย่างต่อเนื่อง และแสดงถึงความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างแคนาดาและไทย
แคนาดาตระหนักถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการปกป้องสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเพื่อรับประกันความมั่งคั่งสำหรับประชาชนของเรา 

กองทัพเรือไทยยังคงมีส่วนในการฝึกทางทะเลกับมิตรประเทศอย่างต่อเนื่องโดยในส่วนของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล. กองทัพเรือไทยได้ส่งเรือตรวจการไกลฝั่งเรือหลวงปัตตานี และเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ เรือหลวงคลองใหญ่
ทำการฝึกเป็นขบวนเรือลาดตระเวนร่วมกับเรือตัดน้ำแข็ง(cutter) WMSL-755 USCGC Munro หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯในทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ ซึ่งเรือ cutter หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯได้วางกำลังขณะที่กำลังเกิดความตึงเครียดด้านระหว่างจีนและชาติใน ASEAN ในข้อพิพาทน่านน้ำ
และการตรวจค้นเรือ(VBSS: Visit Broad Search and Seizure) ระหว่าง ศรชล.ไทย และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ เห็นได้ว่าชุดปฏิบัติการของไทยน่าจะจัดกำลังมาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command, RTN SEAL) แสดงถึงระดับความพร้อมที่สูง

ในระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน-๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ กองทัพเรือแคนาดา(RCN: Royal Canadian Navy) ได้ส่งเรือฟริเกตชั้น Halifax เรือฟริเกต FFH341 HMCS Ottawa เดินทางเยือนฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ตามที่แคนาดากำลังวางกำลังทางเรือของตนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
โดยนอกจากเรือฟริเกต HMCS Ottawa ยังรวมถึงเรือฟริเกต FFH331 HMCS Vancouver และเรือส่งกำลังบำรุง MV Asterix ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๕๖๖ ได้ร่วมการฝึกกับหลายประเทศเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และฟิลิปปินส์ เป็นต้นก่อนจะเดินทางมายังอ่าวไทยเพื่อเยือนไทย
การเยือนไทยล่าสุดของเรือฟริเกต HMCS Ottawa กองทัพเรือแคนาดามีขึ้นราวหนึ่งปีหลังจากที่เรือฟริเกต FFH338 HMCS Winnipeg เยือนฐานทัพสัตหีบในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/ffh338-hmcs-winnipeg-ffh151-hmas-arunta.html)




Royal Thai Navy held formal delivering ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (PGM-997 T.997 and PGM-998 T.998) from Marsun Public Company Limited at Laem Thian Pier, Sattahip Port, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand on 20 September 2023. (Royal Thai Navy) 



พิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ๒ลำคือ เรือ ต.997 และเรือ ต.998 เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ถือเป็นการเสร็จสิ้นโครงการตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือไทย พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๗(2015-2024)
ที่กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งรวม ๑๖ลำ โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 มีความล่าช้าในการส่งมอบจากปัญหาการจัดหาระบบอาวุธปืนกล AK-360 30mm และระบบควบคุมการยิงจากรัสเซียจากสถานการณ์ Covid-19 และสงครามยูเครน
การติดตั้งปืนกล Oerlikon GAM-CO1 20mm ซึ่งน่าจะนำมาจากเรือที่ปลดประจำการแล้วเพื่อประหยัดงบประมาณจากความล่าช้าของโครงการ บริษัท Marsun ไทยอู่เรือผู้สร้างชุดเรือ ต.997 ยังหวังที่จะได้รับสัญญาสร้างเรือตรวจการณ์ปืนใหม่ ๒ลำต่อจากเรือหลวงแหลมสิงห์ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/2023.html)




Service members from the Washington and Oregon Air National Guard stand at attention alongside Royal Thai Air Force members on Korat Air Base, Royal Kingdom of Thailand during the closing ceremony for the Enduring Partners engagement 2023, Sept. 21, 2023. The two week engagement strengthened the relationship between the United States and Thailand, while gaining valuable mission readiness training. 
The two-week engagement served as an opportunity to gain valuable training through combined dissimilar air combat training, air-to-air refueling and ground-controlled interception for the Washington and Oregon Air National Guard and the Royal Thai Air Force. (U.S. Air National Guard photo by Senior Airman Yuki Klein)
As part of State Partnership Program sponsored with US National Guard, exercise Enduring Partners Engagement 2023 involved 230 US service members and over 20 fighter and air-to-air refueling aircraft include
five F-15C Eagles of 123d Fighter Squadron, 142nd Wing, the Oregon Air National Guard; two KC-135R of 141st Air Refueling Wing, Washington Air National Guard;
RTAF's F-16A/B Block 15 ADF of 103rd Squadron, Wing 1; F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli; Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani; and Northrop F-5E/F TH Super Tigris of 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani. 

กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสหรัฐฯได้เสร็จสิ้นการฝึกทางอากาศผสม Enduring Partners Engagement 2023 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กองบิน๑ โคราช ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรัฐหุ้นส่วน State Partnership Program ของสหรัฐฯกับชาติหุ้นส่วน
กองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศสหรัฐฯ(ANG: Air National Guard) ได้นำเครื่องบินขับไล่ F-15C ๕เครื่องจากกองกําลังรักษาดินแดนทางอากาศ Oregon ANG และและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135R ๒เครื่องจาก กองกําลังรักษาดินแดนทางอากาศ Washington ANG
ฝึกรวมกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑, บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑

การฝึกผสม Enduring Partners 2023 ผ่านการบินการรบทางอากาศกับเครื่องบินต่างแบบผสม(combined dissimilar air combat), การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และการควบคุมการสกัดกั้นภาคพื้นดิน(GCI: Ground-Controlled Interception) ได้สร้างความชำนาญการทำงานร่วมกันแก่ทั้งสองชาติ
อย่างไรก็ตามขณะที่การฝึกไม่ได้เป็นที่สนใจในสื่อหลัก ฝ่ายค้านในรัฐสภาไทยได้โจมตีกองทัพอากาศไทยในประเด็นการใช้งบประมาณจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่สหรัฐฯไม่ขายให้มาเป็นการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D เพิ่มเติม ๓เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องที่สูญเสียไปให้ครบฝูง ๑๔เครื่อง
กองทัพอากาศไทยยืนยันว่าวงเงินที่ได้รับการอนุมัติเพื่อจัดหา F-35 จะส่งคืนสำนักงบประมาณในสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๖ นี้ โดยจะตั้งเรื่องขอยกเลิกโครงการจัดหา F-35 ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้อนุมัติในปี พ.ศ.๒๕๖๕ เพื่อจะได้ไม่เกินกรอบวงเงินในรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีของตน 

โดยในงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) กองทัพอากาศไทยไม่ได้ร้องของบประมาณสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 หรือเครื่องบินขับไล่แบบอื่นเช่น Gripen แต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าจะยังไม่มีการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗
รวมถึงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D เพิ่มเติม ๓เครื่อง นอกจากที่กองทัพอากาศไทยจะส่งงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดซื้อ F-35 คืนแผ่นดินแล้ว ยังต้องขออนุมัติตั้งโครงการใหม่สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาไทยชุดใหม่ภายหลังด้วย
SAAB สวีเดนเคยกล่าวว่าสามารถจะเปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ใหม่ได้ถ้าได้รับการสั่งจัดหาจากลูกค้าซึ่งต้องเป็นในจำนวนที่มากพอโดยมองที่ได้รับสัญญาจากฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม Gripen C/D ที่สวีเดนใช้เองส่วนหนึ่งอาจจะถูกมอบให้ยูเครนเพื่อทำสงครามต่อต้านรัสเซีย

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D แอฟริกาใต้ ๒๖เครื่องที่เคยมีรายงานว่าถูกงดบินเนื่องจากขาดงบประมาณนั้นปัจจุบันไม่มีแนวคิดที่จะขายต่อให้ประเทศอื่น ส่วน Gripen C/D สาธารณรัฐเช็กและฮังการีชาติละ  ๑๔เครื่องที่เช่าจากสวีเดนกว่าจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินขับไล่ใหม่อย่าง F-35 ช่วงราวหลังปี 2029(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/f-35a-24.html)
ดังนั้นเมื่อประกอบกับที่สวีเดนจะต้องคงกำลังเครื่องบินขับไล่ JAS-39C/D Gripen ที่ตนมีเพื่อใช้เองระหว่างกำลังรับมอบเครื่องบินขับไล่ JAS-39E/F Gripen E/F รุ่นใหม่และส่ง Gripen C/D ส่วนหนึ่งให้ยูเครนแล้ว ถ้าไม่มีคำสั่งซื้อใหม่เช่นจากฟิลิปปินส์ ก็ยากที่ไทยจะจัดหาเพิ่มแค่เพียง ๓เครื่องได้
ด้วยเหตุนี้หลังการรับมอบเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine ๘เครื่องและเครื่องบินขับไล่และฝึก ๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๔ ๒เครื่องสุดท้ายในปี ๒๕๖๗ กองทัพอากาศไทยไม่น่าที่จะได้รับการอนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินรบหลักใดๆจากรัฐบาลได้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ครับ




Signal Department, Royal Thai Army (RTA) announced on 11 September 2023 that chinese firm Norinco is winner for new vertical take-off and landing unmanned aerial vehicle (VTOL UAV) requirements to replaced its IAI Searcher II on fiscal years 2023-2025 
for 188,654,710 baht ($5,284,075).
Norinco VTOL UAV platfrom like SKY SAKER FX80 is beated competitors includes Israeli Aeronautics Group and Thailand company RV CONNEX offer PATHUM 4 based-on Orbiter 4 small tactical unmanned aerial system (UAS) and Aero Technology Industry Company Limited (ATIL), joint venture between Thailand's Defence Technology Institute (DTI), PYN INTERNATIONAL and chinese Beihang UAS Technology offer DP6. (My own photo/Norinco) 

เอกสารที่เผยแพร่ใน website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(Thai Government Procurement) กรมบัญชีกลาง(CGD: Comptroller General's Department) กระทรวงการคลังไทย ถึงประกาศเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ โดย กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบกไทย ว่า
บริษัท Norinco สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ชนะโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) สำหรับหน่วยทหารปืนใหญ่(Artillery) จำนวน ๑ระบบ วงเงิน ๑๘๘,๖๕๔,๗๑๐บาท($5,284,075) งบประมาณผูกพันข้ามปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025)
เข้าใจว่าเป็นการจัดหาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง VTOL UAV สำหรับกองร้อยค้นหาเป้าหมาย ร้อย.คปม. กองพลทหารปืนใหญ่ ทดแทน Searcher II UAV โดยระบบของ Norinco อย่าง SKY SAKER FX80 เอาชนะ Aeronautics-CONNEX PATHUM 4(Orbiter 4) และ ATIL DP6 ที่เสนอการผลิตในไทยครับ




12 of LG1 MK3 105mm howitzer artillery with Land Rover Defender 4x4 towed vehicles for 11th Artillery Battalion, 1st Artillery Regiment, 1st Division, Royal Guard, Royal Thai Army (RTA) from French firm NEXTER  have test firing at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand in late August 2023. (UNITED DEFENSE TECHNOLOGY)




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Artillery Center, Royal Thai Army (RTA) have test firing two prototypes of 105mm light howitzer CS/AH2 at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, DTI announced on its social media on 22 September 2023. (Defence Technology Institute)

Thailand tests CS/AH2 howitzer prototype
The 105 mm CS/AH2 howitzer (pictured above) is similar in all aspects to the BAE Systems L118/L119 (105 mm) light howitzer. The gun is produced by Poly Technologies, with likely involvement from Norinco. (Poly Technologies Inc)




Defence Technology Institute was On the Job Training (OJT) for its prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher, based on Israeli Elbit Systems' PULS system to personnels of 
711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regiment, Artillery Division, Royal Thai Army at Queen Sirikit Camp, Lopburi Province, Thailand on 18-21 September 2023. (Defence Technology Institute)

ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ ยังมีความคืบหน้าที่สำคัญในสามโครงการของเหล่าทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย คือการทดสอบการยิงปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง LG1 Mk III 105mm ๑๒กระบอกของกองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์
และต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 ขนาด 105mm ๒กระบอก ซึ่งเป็นโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาระหว่างระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI และศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป. ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจาก Poly Technologies จีนเพื่อการประกอบสร้างในประเทศไทย
ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง LG1 Mk III และ CS/AH2 105mm นั้นต่างได้รับการติดตั้งจอแสดงผลและระบบควบคุมการยิง Digital ที่ตัวปืน รวมถึงการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่น่าจะใช้งานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง VTOL UAV ที่จะจัดหามาได้ด้วย นับว่าเป็นระบบที่มีความทันสมัยมาก

และการอบรมฝึกการใช้งาน(OJT: On the Job Training) สำหรับต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี แก่กำลังพลของกองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ พล.ป.
ที่จะปูทางไปสู่การส่งมอบระบบต้นแบบแก่กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ ซึ่งเป็นหน่วยใช้งานจรวดหลายลำกล้องของกองทัพบกไทย เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง M758 ATMG 155 mm/52cal ที่สร้างในไทยเข้าประจำการในกองทัพบกไทยและนาวิกโยธินไทยแล้วจำนวนมาก
การรับการถ่ายทอดวิทยาการจากผู้ผลิตชั้นนำจากต่างประเทศเหล่านั้นล้วนเป็นการพัฒนาสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบปืนใหญ่และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องสมัยใหม่ที่มีความทันสมัยของไทย ซึ่งไม่ใช่อย่างที่ผู้ไม่หวังดีต่อชาติถากถางว่าเป็นการสร้างต้นแบบระบบที่ล้าสมัยไร้ประโยชน์ครับ