ADEX 2023: KAI updates MUM-T concept for KF-21
KAI's two-tiered combat MUM-T concept involves a formation of four unmanned
fighters paired with a single KAI KF-21 fighter aircraft with an additional
three to four smaller air-launched effects (designated by KAI as Adaptable Aerial Platforms) providing additional
support. (Janes)
ADEX 2023: KAI optimistic of Indonesia's ability to fulfil KF-21 cost-share
agreement
Indonesia's delays in payments towards the joint development of the KAI KF-21
4.5-generation fighter programme has been of concern to the South Korean
government. (DAPA/KAI)
หลังเปิดตัวโครงการเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับ(หรือ 'คู่บินภักดี' loyal wingman)
ในการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่ KF-21 ในเดือนพฤษภาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21-006.html)
เจ้าหน้าที่บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI)
สาธารณรัฐเกาหลีสองรายกล่าวกับ Janes
ว่าบริษัทยังกำลังวางแนวคิดอากาศยานไร้คนขับปล่อยทางอากาศ Air-Launched
Effect(ALE) ที่จะเชื่อมโยงกับเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับ
ภายใต้การพัฒนาสองขั้นของระบบทีมมีคนบังคับ-ไร้คนขับ(MUM-T: Manned-Unmanned
Teaming) ระบบ ALE ซึ่งเรียกว่า 'ระบบทางอากาศแบบปรับเปลี่ยนได้' Adaptable
Aerial Platform(AAP) จะขึ้นตรงต่อเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับที่ขนาดใหญ่กว่า
แนวคิดนี้ได้ถูกเปิดเผยระหว่างงานแสดงการบินและกลาโหมนานาชาติ International
Aerospace & Defense Exhibition 2023 (ADEX 2023) ในนครหลวง Seoul
ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-22 ตุลาคม 2023
บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับ Janes ในเดือนพฤษภาคม 2023
ว่าการพัฒนาของคู่บินภักดี loyal wingman ได้เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2023 นั้น
แต่ "แผนนั้นยังคงมีการประเมินการพัฒนาอยู่"
แนวคิดที่ได้รับการปรับปรุงแล้วขณะนี้ประกอบด้วยการจับคู่ อากาศยานไร้คนขับ loyal
wingman จำนวน 4เครื่องกับเครื่องบินขับไล่ KF-21 จำนวน 1เครื่อง
โดยระบบอากาศยานไร้คนขับ AAP จำนวน
3-4เครื่องจับคู่กับเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับแต่ละเครื่อง
นี่จะเป็นการลดความเสี่ยงต่อเครื่องบินขับไล่แบบมีคนขับและเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับ(loyal
wingmen) ภายในรูปขบวนหมู่บินฝ่ายเดียวกัน
"ตามที่เครื่องบินขับไล่ไร้คนขับจะยังเป็นระบบที่มีราคาแพง
เรามองที่ลดความเสี่ยงให้ต่ำที่สุดต่อระบบโดยการเพิ่ม AAP
เพื่อจะดำเนินการปฏิบัติการเหนือพื้นที่การรบที่อันตรายโดยเฉพาะ"
สองเจ้าหน้าที่บริษัท KAI ซึ่งเป็นสมาชิกของทีมโครงการ KF-21 กล่าว
"รูปขบวนของอากาศยานไร้คนขับ AAP จำนวน
3-4เครื่องต่อเครื่องบินขับไล่จะถูกใช้สำหรับภารกิจต่างๆอย่างเช่น
การก่อกวนสัญญาณ(jamming), การเป็นเป้าลวง(decoying), การรวบรวมข่าวกรอง
และการโจมตี
ระบบอากาศยานไร้คนขับ AAP
จะถูกวางตำแหน่งนำหน้าเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับเมื่อรูปขบวนหมู่บินกำลังปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง"
สองเจ้าหน้าที่ KAI กล่าวเสริม
ท่ามกลางความกังลเกี่ยวกับความล่าช้าของอินโดนีเซียในการตรงต่อภาระผูกพันการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของตนสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคที่
4.5 KAI KF-21 Boromae(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/dapa-kf-21.html)
เจ้าหน้าที่บริษัท KAI กล่าวในงานแสดงการบินและกลาโหมนานาชาติ ADEX 2023
ว่าการประชุมล่าสุดระหว่าเจ้าหน้าที่กลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีและอินโดนีเซียได้ออกจากห้องในทางที่ดีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21.html)
ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่บริษัท KAI รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto
ได้ให้การรับประกันแก่ Eom Dong-hwan รัฐมนตรีสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA:
Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีว่า
รัฐบาลอินโดนีเซียใน Jakarta จะเคารพข้อตกลงทางการเงินต่อโครงการ Janes
ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า การประชุมระหว่าง Eom และ Subianto ได้มีขึ้นเมื่อวันที่
5 ตุลาคม 2023
อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียไม่ได้ให้รายละเอียดเฉพาะในสิ่งที่ตามมาของการประชุมนั้น
เจ้าหน้าที่ที่เป็นสมาชิกทีมพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KAI KF-21 กล่าวกับ Janes
ระหว่างานแสดง ADEX 2023 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2023 ว่า
อินโดนีเซียยังคงเป็นหนี้วงเงิน 1 trillion Korean Won($739 million)
ต่อโครงการในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของตน
สาธารณรัฐเกาหลีมีไม่กี่ทางเลือกถ้าอินโดนีเซียไม่สามารถชำระการแบ่งปันค่าใช้จ่ายร้อยละ20
สำหรับการพัฒนาร่วมของเครื่องบินขับไล่ KF-21 ได้(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/kf-21.html,
https://aagth1.blogspot.com/2023/01/kf-21.html)
ในรูปแบบทางการเงินเดิมของข้อตกลงการแบ่งปันค่าใช้จ่าย
รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีครอบคลุมร้อยละ60 ของค่าใช้จ่ายการพัฒนา
ภาระผูกผันทางการเงินของบริษัท KAI ต่อการพัฒนาร่วมอยู่ที่ร้อยละ20
และค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมดอยู่ที่ 8.8 trillion Korean Won($6.73 billion)
เจ้าหน้าที่ KAI
กล่าวว่าการประเมินข้อตกลงการแบ่งปันค่าใช้จ่ายใหม่ขณะนี้มีความเป็นไปได้จากความล่าช้าในการชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของรัฐบาลอินโดนีเซียใน
Jakarta
ภายใต้ข้อตกลงปัจจุบัน
การมีส่วนร่วมการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของอินโดนีเซียทำให้อินโดนีเซียเข้าถึงการพัฒนาร่วมกันสี่ด้านของวิศวกรรม,
การผลิต และขั้นระยะการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต(EMD: Engineering and
Manufacturing Development) ของโครงการ KF-21
แหล่งข่าวจาก PT Dirgantara Indonesia(PTDI)
รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอากาศยานของอินโดนีเซียกล่าวกับ Janes ว่า
"อินโดนีเซียยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าการพัฒนาร่วมของ...โครงการ"
และได้ชำระค่าใช้จ่ายไปร้อยละ21
ของส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของตนจนถึงเดือนมิถุนายน 2023 แล้วครับ